ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีก่อตั้งขึ้นเมื่อ 22 ปีก่อน ปัจจุบันมีคนเข้ามาดูงาน มาจัดกิจกรรมมากมาย และขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ในชุมชนร่วมกับคนรุ่นเก่า

“ยี่สิบกว่าปีก่อนหลังจากแม่กลับจากช่วยหลานทำสวนทุเรียนที่จันทบุรี ความที่แม่ไม่ได้อยู่เชียงใหม่มานาน เลยไปเที่ยวงานแถวประตูท่าแพ จำไม่ได้แล้วว่าเป็นงานอะไร แต่ในงานมีรำวงด้วย แม่ก็ดื่มและขึ้นไปรำวงกับเขา แล้วก็ได้ยินเสียงโฆษกประกาศเชิญสาวรำวงจากชุมชนนั้น ชุมชนนี้ขึ้นมาเต้น ตอนนั้นแหละที่แม่เพิ่งรู้ว่าในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ก็มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในฐานะชุมชนด้วย เลยย้อนกลับมาคิดถึงบ้านเรา

แม่เกิดและเติบโตในชุมชนหลังวัดหม้อคำตวง ทุกคนก็รู้จักกันหมด แต่นอกจากไปวัด ก็ไม่ได้มีการร่วมกันจัดกิจกรรมอะไรจริงจัง แม่เลยคิดว่าเราน่าจะตั้งชุมชนกัน ก็ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่แขวง เขาก็บอกว่าต้องรวบรวมลูกบ้านให้ได้ 50-60 ครัวเรือนเพื่อขอจัดตั้ง แม่ก็เลยไปคุยกับชาวบ้านว่าถ้าเราตั้งขึ้นมานะ เราก็สามารถขอสวัสดิการจากรัฐได้ หรือได้งบสนับสนุนจากเทศบาลมาจัดงาน และได้ช่วยเหลือกันยามลำบากด้วย ทุกคนก็ตกลง

จากนั้นแม่ก็ไปบอกเจ้าอาวาสวัดหม้อคำตวงสมัยนั้นว่าจะขอตั้งสำนักงานชุมชนในวัด แต่เจ้าอาวาสแกไม่เข้าใจ ไม่ให้พื้นที่ทำ สุดท้ายแม่เลยเดินไปวัดใกล้ๆ คือวัดควรค่าม้า ซึ่งท่านเจ้าอาวาสตอบตกลง ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 ชาวบ้านเห็นเราเป็นตัวตั้งตัวตีเลยให้เราเป็นประธานชุมชน แม่เป็นประธานมา 22 ปีแล้ว

ความที่เป็นเรื่องใหม่ในชุมชนมากๆ ปีที่ก่อตั้ง เราจำเป็นต้องมีคณะกรรมการชุมชน 15 คน แม่ก็ไปชวนคนนั้นคนนี้มาลง ปรากฏว่าไม่มีผู้ชายคนไหนกล้ามาลงเลย เขาอาจไม่เข้าใจว่าต้องทำยังไงบ้าง สุดท้ายแม่ก็เลยเลือกเอาเพื่อนๆ กันนี่แหละ สรุปคือชุมชนเรามีประธานและคณะกรรมการเป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นชุมชนพลังหญิงจริงๆ (หัวเราะ)

หลังจากเราก่อตั้งชุมชนได้ไม่นาน ก็พอดีกับที่คุณทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็มีนโยบายกองทุนหมู่บ้าน แม่ก็เลยประกาศให้ประชาคมมาปรึกษากันว่าจะของบเขามาทำอะไรดี ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่ายังมีซอยในหมู่บ้านที่ยังเป็นลูกรัง เคยขอเทศบาลไปเขาก็ไม่มาทำให้สักที เลยขอกองทุนหมู่บ้านมาทำตรงนี้ คือได้เงินมาจ้างช่างทำกันเองจนสำเร็จ น่าจะเป็นตรงนี้มั้งที่ชาวบ้านเริ่มเห็นความสำคัญของการจัดตั้งชุมชน ก็เลยมาร่วมกันมากขึ้น

พอปีต่อมา ก็ได้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมาอีก จำได้ว่าได้มาสามแสน สรุปกันว่าเราซื้อรถปิคอัพของชุมชน จะได้พาคนเฒ่าคนแก่ไปหาหมอ พาสมาชิกในชุมชนไปอบรมที่ต่างๆ หรือถ้าคนทำงานหรือนักศึกษาที่ไหนอยากย้ายบ้าน ย้ายหอ ก็ให้เขาจ้างคนในชุมชนเราเป็นคนขับรถคันนี้ย้ายให้ เงินที่ได้หลังแบ่งให้คนขับก็มาเข้ากองกลาง มีเหรัญญิกสามคนคอยคุมบัญชี และเปิดเผยให้ชาวบ้านเห็นอย่างโปร่งใสว่าเอาไปทำอะไรบ้าง ชาวบ้านก็เชื่อใจ

ยังไม่พอ แม่เห็นว่าในชุมชนเรามีแม่บ้านหรือคนที่ตกงานเยอะ ขณะเดียวกันชุมชนเราก็ตั้งอยู่ในย่านที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือน เลยคิดว่าน่าจะทำธุรกิจนวดแผนโบราณ ก็ทำเรื่องของบจากรัฐเพื่อไปจ้างครูสอนนวดมาสอนคนในชุมชนที่สนใจจะหารายได้เสริม ไปขอพื้นที่วัดหม้อคำตวงและวัดควรค่าม้าเปิดร้าน ชุมชนเราเลยมีอีกธุรกิจหนึ่งเพิ่มเข้ามาคือนวดไทย ซึ่งรายได้ก็ให้หมอนวดที่เป็นคนในชุมชนทั้งหมดนั่นแหละ

พอนึกย้อนกลับไปแล้วตลกดี แม่คิดอยากก่อตั้งชุมชน เพียงเพราะดื่มเหล้าเมาแล้วได้ยินโฆษกในวงรำวงพูด ไม่คิดว่าเราจะมาได้ไกลและสนุกขนาดนี้ ความภูมิใจของแม่ไม่ใช่แค่การได้เห็นบ้านเกิดเรามีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม หรือได้ช่วยเหลือกันยามลำบากอย่างเช่นช่วงโควิด แต่การที่มีคนจากชุมชนอื่นๆ นักศึกษา หรือเจ้าหน้าที่รัฐมาขอดูงานที่เรา เคยมี สสส. มาจัดงาน Spark U ปิดถนน และชวนคนจากที่อื่นๆ มาเดินสำรวจชุมชน มีการออกร้าน เล่นดนตรี ทำสตรีทอาร์ท หรืออย่างปีล่าสุดก็มีเทศกาล กิ๋นหอม ตอมม่วน ที่ชวนคนเฒ่าคนแก่มาโชว์ฝีมือทำอาหารกัน ซึ่งน่าดีใจว่างานหลังนี้เกิดจากการขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ในชุมชนเราเอง ไม่ใช่งานจากคนแก่ๆ ฝ่ายเราฝ่ายเดียวอีกต่อไป

นั่นแหละ แม่ว่ามันไม่ใช่แค่การช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเพื่อนบ้าน การร่วมกันจัดงานประเพณี หรือต่อรองกับรัฐเพื่อทำให้คนในชุมชนเราเข้าถึงสวัสดิการที่ดี แต่สำหรับแม่ที่ยังทำงานในตำแหน่งนี้มาจนถึงอายุเจ็ดสิบกว่าอย่างตอนนี้ แม่คิดว่าการได้ร่วมกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกลับคืนสู่ชาวบ้านทุกคน คือเรื่องที่สนุก”

///

แม่แอ – รัตนา ชูเกษ

ประธานชุมชนควรค่าม้าสามัคคี

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago