ดอกไม้พันดวง เครื่องมือนำร่องของ แคมเปญ ‘เชียงใหม่เมืองเทศกาล เจ้าภาพคือทุกคน เริ่มต้นที่ยี่เป็ง’

“คนเมืองเรียกดอกไม้ปันดวง ถ้าเป็นภาษากลางก็คือดอกไม้พันดวง นี่เป็นชื่อของเครื่องสักการะตั้งธรรมหลวงของชาวไทลื้อ ชาวบ้านจะเด็ดดอกไม้ที่ปลูกไว้มาวางซ้อนกันบนแตะหรือไม้ไผ่สานคล้ายตระแกรง หรือรูปทรงอื่นๆ เพื่อไปแขวนประดับวิหารวัดก่อนวันขึ้น 15 ค่ำในประเพณียี่เป็ง คนเฒ่าคนแก่หลายคนยังพอจำได้ แต่คนรุ่นหลังนี้แทบไม่คุ้นเคย เพราะพิธีกรรมนี้หายไปจากในตัวเมืองนานแล้ว

เรื่องดอกไม้ปันดวงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ภายหลังที่เราชวนชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ต่างเห็นตรงกันว่า เราควรเรียนรู้จากต้นทุนที่เรามี รวมถึงมรดกที่กำลังเลือนหาย เพราะจริงๆ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ทว่าก็ทรงคุณค่าที่สุดใกล้ตัวเรา และเมื่อแม่ครูนุสรา เตียงเกตุ พาเราไปอำเภอแม่แจ่ม ไปพบกับหมู่บ้านที่ยังมีการทำดอกไม้พันดวงถวายวัดกันอยู่ ก็พบว่าสิ่งนี้แหละที่เป็นคำตอบของเมืองแห่งการเรียนรู้ในแบบฉบับเชียงใหม่

นั่นเป็นช่วงปลายปี 2564 ก่อนเทศกาลยี่เป็ง อย่างที่ทราบกันว่าโควิด-19 ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่ซบเซาหนัก และเราต่างมาทบทวนว่ารูปแบบการท่องเที่ยวแบบเดิมของเมืองอาจไม่ยั่งยืนอีกต่อไป นั่นทำให้ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาใคร่ครวญ ซึ่งนำมาสู่การตั้งธงที่จะขับเคลื่อนจุดแข็งดั้งเดิมของเมือง ในฐานะเชียงใหม่เมืองแห่งเทศกาล แต่หัวใจสำคัญของเราคือเทศกาลที่ว่ามันต้องริเริ่มและขับเคลื่อนจากพลังของเครือข่ายชุมชน ผู้เป็นเจ้าของเทศกาล ซึ่งอย่างที่บอกว่าเราคุยกันก่อนงานยี่เป็งพอดี จึงตั้งชื่อแคมเปญกันว่า ‘เชียงใหม่เมืองเทศกาล เจ้าภาพคือทุกคน เริ่มต้นที่ยี่เป็ง’ เพื่อให้เห็นว่าชาวบ้านและเครือข่ายชุมชนของเราเองนี่แหละที่จะเป็นหัวใจสำคัญของการจัดงานในทุกเทศกาล

และดังที่กล่าวไป ดอกไม้พันดวง คือเครื่องมือนำร่อง เพราะนอกจากความหมายที่ยึดโยงกับประเพณี ยังมีความสวยงาม ความหอมจากดอกไม้ และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบสร้างสรรค์

เราเริ่มจากชักชวนเครือข่ายชุมชนลงพื้นที่ไปเรียนรู้การทำดอกไม้พันดวงที่แม่แจ่ม จากนั้นก็จัดเวิร์คช็อปชักชวนนักออกแบบมาพัฒนารูปแบบดอกไม้พันดวง ร่วมกับผู้ประกอบการในเชียงใหม่ ทดลองปรับรูปแบบของการสานไม้ไผ่ให้เป็นรูปทรงร่วมสมัย เลือกสีสันของดอกไม้ให้มีความยูนีค ที่สำคัญคือ สนับสนุนให้มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งการตบแต่งโรงแรม สปา เป็นของชำร่วยต้อนรับแขก ไปจนถึงออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชักชวนนักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ และทดลองออกแบบดอกไม้พันดวงตามสไตล์ของเขาเอง เป็นต้น และแน่นอน เมื่องานยี่เป็งที่ผ่านมา เราก็นำดอกไม้พันดวงนี่แหละไปตบแต่งขบวนแห่ และพื้นที่ต่างๆ ทั่วเมือง

ดอกไม้พันดวง หรือตุง โคมล้านนา และประทีป เป็นเพียงองค์ประกอบเล็กๆ ที่ทำให้เราเห็นว่าเชียงใหม่รุ่มรวยไปด้วยวัตถุดิบทางวัฒนธรรมที่ยังพอมีคนสืบสานและรอคอยให้คนรุ่นต่อมาศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำไปต่อยอดเป็นงานออกแบบ หรือสินค้าเชิงสร้างสรรค์มากมาย เช่นเดียวกับภาพใหญ่ของเมือง ที่เต็มไปด้วยประเพณีและเทศกาลที่ยึดโยงอยู่กับวิถีชีวิตคนเมืองตลอดทั้งปี

เรามองว่าถ้าองค์กรทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน และมีวิสัยทัศน์เดียวกันโดยมีชาวบ้าน ผู้เป็นเจ้าของและผู้ขับเคลื่อนที่แท้จริงของเทศกาลนั้นๆ เป็นศูนย์กลาง เชียงใหม่จะเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวอันยั่งยืน ซึ่งเกิดจากตัวตนของเราจริงๆ และเพราะเสน่ห์ที่เกิดจากตัวตนเช่นนี้แหละ ที่จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเมืองแห่งนี้ และกลับมาเยือนอีกครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า”

///

ดร.รชพรรณ ฆารพันธ์

นักวิจัยโครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

#WeCitizensTh  #LearningCity  #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago