ตอนรับราชการ เป็นผู้บริหารด้วย ต้องอยู่กับงาน อยู่กับคน มีแต่เรื่องเครียด พอเกษียณปุ๊บ มาอยู่กับต้นไม้ มันเถียงเราไม่ได้ฮะ

“ผมรับราชการเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ เมื่อเกษียณอายุราชการมาแล้วก็ใช้เวลายามว่าง จริงๆ ทำตั้งแต่ก่อนเริ่มเกษียณแล้ว คือปลูกต้นไม้ เพราะสิ่งที่เราได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กคือเรื่องการดูแลต้นไม้ ก็ทำให้เราติดเป็นนิสัย การปลูกต้นไม้ของผมเริ่มจากปลูกในบ้าน ทดลองปลูกไปเรื่อย ตั้งแต่ไม้ผล ไม้ทานได้ เห็ด ผักสวนครัว แรก ๆ ใช้ปุ๋ยเคมีเพราะเป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เคมีทำให้ต้นไม้โตเร็ว แต่ข้อเสียเยอะ เราเริ่มเห็นแล้วว่าสภาพดินมันแข็ง ต้องมาคลุมดินใหม่ สารฆ่าแมลงก็ต้องใช้เคมี พอเราใช้ เริ่มเห็นอันตราย มันคันที่มือ มีอาการแพ้ ผื่นขึ้น แล้วพอเรามีความรู้เพิ่มขึ้น รู้แล้วว่าทุกวันนี้ความปลอดภัยในการปลูกต้นไม้หรือปลูกผัก มันมีอันตรายเยอะ เพราะสารเคมีมันเข้ามาใช้ในสวน ใช้กับชาวบ้านเยอะ เห็นสารมะเร็งเกิดขึ้นในชุมชนเยอะมาก

เราก็เลยมาใช้สารอินทรีย์ในการดูแลต้นไม้ ศึกษาด้วยตนเองว่าอะไรที่ไม่ใช้เคมีกำจัดแล้วมันช่วยได้ ก็เริ่มจากการปรุงดิน ต้นไม้ต้องการ NPK (ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ซึ่งเกิดจากพวกมูลสัตว์ ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยใช้พวกแกลบดิน มะพร้าว มูลไส้เดือน เราเอามาปรุงดินก็เห็นความงอกงามเกิดขึ้น พอต้นไม้งอกงามแล้ว มาบำรุง พอดินเริ่มหมดสภาพ ไม้ไม่ค่อยโต เราก็มาศึกษาต่อ ว่าจะใช้อินทรีย์อะไรเข้าไปดูแล เช่น ทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยฮอร์โมนนมสด ปุ๋ยฮอร์โมนไข่ พอต้นไม้งามก็ใช้น้ำส้มควันไม้มากำจัดแมลง ทดลองทำสารกำจัดแมลงโดยใช้สะเดา พริก เหล้าขาว น้ำส้ม ก็ทำให้ต้นไม้งาม ปลอดจากแมลงรบกวน ผักที่ปลูกก็ปลอดภัย เราเอามากินได้โดยไม่ต้องกังวล ผักหวาน กรอบ อร่อย

ทีนี้หลายหน่วยงานเห็นเราทำเกษตรอินทรีย์ มีองค์ความรู้ ก็ให้ช่วยไปถ่ายทอด เราเป็นครูอยู่แล้วเราก็ยินดีไปถ่ายทอดเรื่องการใช้ EM การปรุงดิน ดูแลต้นไม้ การใช้ฮอร์โมน การทำน้ำหมักชีวภาพ ให้ชุมชน ให้โรงเรียน ชาวบ้านได้ปลูกผักไว้กินโดยไม่เกิดอันตราย ถ้าเหลือใช้เหลือกินก็แจกจ่าย ถ้ามากจริง ๆ ก็ขายกัน นักเรียนปลูกผักไปทำอาหารกิน ก็เกิดประโยชน์ เด็กได้กินอาหารปลอดภัย แล้วผมเป็นวิทยากรให้สสส. เรื่องอาหารปลอดภัยด้วย ก็มีความคิดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นบ้านสวนครูตู่ อยู่ตรงหลังหมู่บ้านการ์เด้นโฮม คลอง 12 เป็นบ้านสวนที่เราคิดไว้ว่าจะเอาไว้ปลูกต้นไม้ ก็ทำเป็นแปลงผักยกแคร่ ให้ชาวบ้านมาเรียนรู้ มีพวกน้ำหมัก ฮอร์โมนขี้นก ใครไปใครมาก็แจกให้เขาไปใช้ พอเขาใช้ก็อยากทำเอง เราก็สอนเขา อย่างเช่นที่แคบ ๆ ในหมู่บ้าน เขามีแต่ปูน ไม่มีที่จะปลูก เรามีองค์ความรู้เรื่องการใช้ยางรถยนต์มาผ่า มาตัด เราก็จะสอนการกรีดยางเก่าทำเป็นภาชนะในการปลูกต้นไม้ แล้วศูนย์เรียนรู้ชุมชนก็จะไปเชื่อมโยงกับพื้นที่เรียนรู้ของเมืองสนั่นรักษ์ให้คนมาเที่ยวด้วย

ตอนรับราชการ เป็นผู้บริหารด้วย ต้องอยู่กับงาน อยู่กับคน มีแต่เรื่องเครียด พอเกษียณปุ๊บ มาอยู่กับต้นไม้ มันเถียงเราไม่ได้ฮะ แล้วมันเห็นความเจริญเติบโตขึ้นมา ก็เป็นความสุข กับชุมชนเราถ่ายทอดองค์ความรู้ เขารู้จักปลูกผักปลอดสารพิษกินเองแทนที่จะต้องไปซื้อ ทำให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น สิ่งที่เราได้กลับมาคือความสุข ได้มีการแลกเปลี่ยนกัน ได้ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แล้วย่านสนั่นรักษ์มันสงบดี ที่ทำงานอยู่คลอง 13 ย่านนี้อยู่แล้ว เราเห็นความสงบในชุมชน ไม่ค่อยมีอะไรหวือหวา ไม่ค่อยเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร แต่ในแง่นึงที่เขาทำสวนทำไร่ ทำเกษตรเคมีมาตลอด การจะไปเปลี่ยนความคิดของเขาก็ยากเหมือนกัน ผมเป็นประธานชุมชนทสม. (อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) ด้วย มีหน้าที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมในชุมชน มันมีปัญหาเรื่องมลพิษจากการเผาหลังเกี่ยวผลผลิต เราจะไปให้ความรู้เขาเรื่องหมักฟางหญ้าเป็นปุ๋ย เขาบอก โอ้ย กว่าจะได้ใช้เป็นเดือน ไม่ทันหรอก เราก็พยายามแทรกซึม อย่างน้ำหมักชีวภาพ ทุกคนรู้จัก ทำใช้เอง เขาเห็นประโยชน์ ตอบโจทย์ได้ แต่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงนี่ยาก เขายังต้องใช้อยู่ ก็ต้องใช้เวลาให้เขาเรียนรู้ไป”

ประกาศิต ทองอินศรี

บ้านสวนครูตู่ ปลูกผักปลอดสาร

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago