“จริงอยู่ที่แก่งคอยจะเป็นอำเภอที่ได้ประโยชน์จากโรงงานอุตสาหกรรม หากพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองแก่งคอยกลับไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ นั่นทำให้เราเก็บภาษีได้น้อย ทั้งยังต้องจัดสรรงบประมาณมาแก้ปัญหาผลกระทบจากโรงงานที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่แต่ส่งผลมาถึงผู้คนในเขตของเราโดยตรงอีกด้วย ทั้งมลภาวะทางอากาศเอย การขาดแคลนน้ำเอย และอื่นๆ
ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองแก่งคอย ผมก็พยายามสื่อสารเรื่องนี้เพื่อให้มีการจัดสรรงบประมาณใหม่ รองรับกับผลกระทบจริงในพื้นที่ ไม่ใช่คำนวณจากจำนวนโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต
อย่างไรก็ตาม เรื่องการจัดสรรงบประมาณยังไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญที่แก่งคอยกำลังเผชิญ เพราะจากการที่ผมมีโอกาสมาดำรงตำแหน่งนี้หลายสมัยจึงเห็นว่าการที่เมืองของเรา… ซึ่งไม่ใช่แค่ในระดับเทศบาลเมือง แต่เป็นอำเภอทั้งอำเภอ รวมถึงจังหวัดทั้งจังหวัด ยังคงขาดแผนแม่บทในการพัฒนา เพราะต่อให้เราได้รับจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาเมืองมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดแผนแม่บท สระบุรีก็จะพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง และไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น
พอไม่มีแผนแม่บท มันก็เกิดภาพที่หลายคนชินตา หน่วยงานต่างหน่วยงานต่างทำงานของตัวเองไป หน่วยหนึ่งทำถนนเสร็จ อีกหน่วยเพิ่งได้งบมาทำเดินท่อประปา ก็รื้อถนนที่เพิ่งทำเสร็จใหม่เพื่อทำท่อ หรือหน่วยงานอื่นมาก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในเขตเมืองเรา ก็ไม่ได้มีการคุยกับท้องถิ่นก่อนเรื่องเส้นทางระบายน้ำ พอฝนมา น้ำก็ท่วม เราก็ต้องแก้ไขกันอีก เหมือนวิ่งตามปัญหาไม่จบสิ้น
นี่ยังไม่รวมระบบระเบียบราชการที่มีข้อกำหนดจุกจิกอีกหลากหลาย ซึ่งทำให้หน่วยงานต่างๆ ไม่กล้าที่จะทำอะไรเกินไปกว่ากรอบงานของตัวเอง เราจึงไม่สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที ทั้งๆ ที่ไอ้การไม่มีแผนแม่บทเนี่ยแหละที่ทำให้เมืองของเราต้องพบปัญหาเฉพาะหน้าทุกเมื่อเชื่อวัน
และก็เพราะเมืองไม่มีแผนมาตั้งแต่ต้น ที่ดินมันจึงไม่ได้ถูกจัดสรรอย่างเหมาะสม พื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะเราจึงไม่พอ ที่ผ่านมา ผมเล็งเห็นเรื่องนี้ ก็พยายามดึงงบประมาณจากนั่นนี่ ถ้าเจอตรงไหนที่ดินไม่แพง ก็จะให้เทศบาลซื้อไว้เผื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่ไม่วายได้รับคำครหาว่าจะซื้อไปทำไม ล่าสุด ผมจึงประสานไปทางกรมโยธาธิการฯ ให้เขาทำทางเดินริมตลิ่งเลียบแม่น้ำป่าสักให้เลย จะได้มีที่สาธารณะเพิ่มมา รวมถึงผู้คนยังได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำกลางเมืองด้วย ตอนนี้ทำไปได้พอสมควรแล้ว จากนี้ก็พยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ทางเดินมันร่มรื่น และทำเพิ่มไปยังวัดบ้านม่วง รวมถึงเชื่อมตรงตลาดท่าน้ำเข้ากับวัดแก่งคอย จะได้กลายเป็นที่ท่องเที่ยวไปในตัวพร้อมกัน
ซึ่งอย่างที่บอก ผมจึงเห็นด้วยกับ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ของคุณนพดล ธรรมวิวัฒน์ ที่เขาพยายามจะประสานความร่วมมือระหว่างเอกชนกับท้องถิ่นในการผลักดันให้จังหวัดเรามีมาสเตอร์แพลน หรือแผนแม่บทขึ้น ท้องถิ่นจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีพันธมิตรแบบนี้ ถึงแม้ระบบราชการบางอย่างในปัจจุบันอาจไม่เอื้อให้ท้องถิ่นทำงานร่วมกับเอกชนได้อย่างเต็มที่ก็ตาม แต่การได้พูดคุย หารือ และทำ MOU ร่วมกันในบางโครงการ มันก็มีส่วนให้โครงการดีๆ หลายอย่างเข้าไปอยู่ในนโยบายที่บังคับให้เจ้าหน้าที่ทำต่อในอนาคต
อย่างล่าสุดเทศบาลเมืองแก่งคอยเพิ่งเซ็น MOU ร่วมกับบริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ในการขับเคลื่อนแก่งคอยเป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) ซึ่งนั่นก็เป็นสัญญาณที่ทำให้ภาคประชาชนเห็นว่าเทศบาลพร้อมเปิดรับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิคคนในเมือง มาเสนอโครงการหรือแนวทางในการทำงานร่วมกันต่อไปได้
ในฐานะคนแก่งคอย จริงอยู่ เรามีปัญหาหลายประการที่ต้องแก้เฉพาะหน้า กระนั้น ในภาพรวมของเมือง แก่งคอยก็ยังมีความน่าอยู่และผู้คนก็เป็นมิตร ถ้าหน่วยงานระดับบริหารของเมืองและทั้งจังหวัดมาคุยกัน หรือมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากกว่านี้ ผมคิดว่าเราสามารถตั้งแผนแม่บทของอำเภอและจังหวัดได้ เมืองจะเติบโตด้วยความน่าอยู่กว่านี้ และปากท้องผู้คนจะอิ่มกว่านี้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ผมอยากให้เป็น”
สมชาย วรกิจเจริญผล
นายกเทศมนตรีเมืองแก่งคอย
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…