“จริง ๆ การทำงานขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ขอนแก่น เข้ามาเติมเต็มให้กับขอนแก่นโมเดลในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นให้กับผู้คน คือต้องเรียนตามตรงว่า ตัวขอนแก่นโมเดลที่ผ่านมาขับเคลื่อนในลักษณะองค์กร ภาคเอกชน วิชาการ ภาครัฐต่าง ๆ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามก็อาจจะงง ๆ อยู่ว่ามันคืออะไร แต่พอมีโครงการ Learning City ขึ้นมา โครงการทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม และเติมเรื่องการมีส่วนร่วมการรับรู้ของคนเพิ่มเข้าไป ผนวกกับ Learning City มีเป้าหมายอีกด้านหนึ่งคือเรื่องของการช่วยเหลือปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่ด้วย การเข้าถึงการเรียนรู้ของคนซึ่งหมายรวมไปถึงคนพิการ คนด้อยโอกาส คนจน และในงาน Learning City Phase 2 เราจึง Focus ในเรื่อง Public space ซึ่งตัวมันเองช่วยลด Boundary ของรวยคนจนอยู่แล้ว เราจะทำยังไงให้ไปสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้มากขึ้น
ย้อนกลับไปงาน Phase แรกผมไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ แต่ก็พอทราบว่ามีการดำเนินการเรื่องใดบ้าง เรื่องแรกที่ดำเนินการคือการสร้างการรับรู้กับองค์กรในเรื่องแนวทางของ UNESCO มีการทำ MOU ระหว่างหน่วยงาน มีการจัดเวทีเพื่อเสวนาทั้งหารือกรอบแนวคิด Learning City และสรุปการทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองของคนขอนแก่นให้ออกมาเป็นเรื่องราวที่ส่งต่อเรียนรู้ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายก็เป็นคนในเมืองขอนแก่นเอง โดยเฉพาะคนในพื้นที่เทศบาลโดยรอบ ต้องไม่ลืมว่าขอนแก่นเองก็มีโครงการมากมาย และการเชื่อมร้อยทำความเข้าใจร่วมกันก็เป็นสิ่งสำคัญ Learning City เข้ามาเติมเต็มกลไกตรงนี้ เพราะธรรมชาติของงาน Learning City สามารถที่จะไป join กับทุกโครงการได้หมด และมองว่าเมื่อ Goal ของทุกคนคืองานพัฒนาเมืองขอนแก่นเช่นเดียวกัน ขอยกตัวอย่างโครงการ Low-carbon City คณะทำงานที่ดูแลโครงการ และเชื่อมความร่วมมือกัน ก็ได้ประสานและร่วมมือกับ Learning City เพราะเห็นว่าการเรียนรู้คือหัวใจสำคัญ คนต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง Low-carbon เรื่องการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานสะอาด แม้กระทั่งเรื่องของ Wellness เรื่องสุขภาพ ก็ต้องยืนอยู่บนฐานการส่งเสริมให้คนเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเด็ก วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ
ในเฟส 2 ของ Learning City ขอนแก่นเราโฟกัสโครงการย่อยอยู่ 2 ตัว หนึ่งคือ KGO เป็นการสร้างเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยี และอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพิพิธภัณฑ์มีชีวิต หรือว่า Life museum ถ้าพูดถึงMuseum ก็จะนึกถึงอาคารที่มีของจัดแสดงอยู่ข้างใน แต่คำว่าLife museum คือใครก็ได้ที่มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ Learning City เรามองไปถึงปราชญ์ชาวบ้าน หมอยา หมอดิน ตอนนี้ที่เรากำลังทำเรื่องการนวดแผนโบราณเรียกว่าการนวดขิดแบบอีสาน ปราชญ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ถือว่าเป็นที่มาและโอกาสการสร้างรายได้ได้ด้วย ทั้งผ่านการให้บริการ และถ่ายทอดต่อให้กับคนที่อยากเรียนรู้ แล้วอีกส่วนที่Life museum กำลังจะทำคือเกี่ยวกับเรื่องการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ในขอนแก่นเราคนที่ชอบวิ่ง ชอบปั่นจักรยาน ชอบเต้นเอโรบิก ชอบพาสัตว์ไปสวนสาธารณะ เรากำลังพยายามเชื่อมต่อกับคนเหล่านี้เพื่อที่จะสร้าง Community กับกลุ่มคนอยากสอน โดยเข้าไปหนุนเสริมให้เกิดความต่อเนื่อง ทำให้เป็นการให้องค์ความรู้ที่เป็นระบบ และเป็น Community ที่ดูแลกันไปด้วย เพียงเท่านี้ก็จะเกิดกระบวนการใช้พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ของเมืองที่มีหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น บึงแก่นนคร บึงทุ่งสร้าง และบึงสีฐาน จริง ๆ มีบึงหนองโคตร เป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับคนในเมืองที่มาใช้พื้นที่สาธารณะ ปลายทางเราหวังว่า Community แห่งการเรียนรู้นี้จะเป็นข้อมูลความคิดเห็นทางตรง ที่สามารถรวบรวมไปเป็นข้อเสนอแนะ ส่งให้กับผู้บริหารท้องถิ่นไปใช้จัดทำแบบนโยบายต่อไป”
ดร. ณรงค์เดช มหาศิริกุล
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและการตลาด วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นักวิจัยโครงการ Khon Kaen Learning City
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…