“หัวหินเมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นดอนทราย ไม่มีคนอยู่ ยังไม่มีคำว่า “หัวหิน” เลย แล้วทางเพชรบุรีทำมาหากินไม่ค่อยดี ทางนี้ที่เยอะ เขาเลยพากันย้ายลงมาอยู่แถวนี้ สมัยนั้นเรียกกันว่า “บ้านสมอเรียง” มาจากคำว่าถมอเรียง ภาษาขอมแปลว่าหินหรือศิลาเรียงกัน พอน้ำทะเลลด มองไปชายทะเล จะเห็นหินเป็นก้อนๆ เรียงๆ ต่อกันเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล เลยเรียกกันว่า “แหลมหิน” จนเพี้ยนมาเป็น “หัวหิน” เขาก็มาทำทะเลมั่ง ทำไร่มั่ง ปู่ก็ทำประมง พ่อก็เกณฑ์ทหารแล้วไปเป็นตำรวจ ออกจากตำรวจแล้วก็มาทำเรือประมง ก่อนนี้ที่บ้านมีเรือโป๊ะ (เรือลำเลียง) โป๊ะนี่หมายความว่า เรือจะวิ่งออกไปไกลมาก เขาจะไปสร้างโป๊ะ เราเป็นเด็กโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน พวกชาวเรือเขาจะมาผ่าไม้ไผ่กระบอกใหญ่ๆ ในโรงเรียน ผ่าแล้วก็เอามาผูกทำโป๊ะ แล้วเขาออกไปจับปลา ใช้คนพายออกไปเหวี่ยงแหแล้วกลับเข้ามา ปลาเข้าไปในโป๊ะแล้วเรือก็เข้าไปเก็บออกมา
ที่แถบนี้ของปู่ทั้งหมด ปู่มีลูก 7 คน แบ่งให้ลูกๆ ได้ 6 คน 6 หลัง บ้านเดิมอยู่ข้างในโน่นให้ลูกคนสุดท้อง ครูก็เกิดที่บ้านหลังนี้ บ้านทรงไทยแต่เตี้ย พอน้ำท่วม เลยดีดบ้านขึ้นไป ถนนที่เราอยู่ชื่อถนนพูลสุข มาจากชื่อปู่พูล ย่าชื่อสุข ก็อยู่กันเป็นชุมชนพูลสุข แต่ก่อนเป็นเทศบาลเล็กๆ ชาวบ้านพวกผู้ชายออกเรือ ลูกสาวก็อยู่บ้าน ใครมีที่ข้างบนเนินก็ทำไร่แตงโม ไร่สับปะรด บ้านครูไม่ได้สืบอะไรเลย พ่อมีลูกสาว 5 คน เรียนกันหมด เลยเป็นอันว่าไม่มีใครช่วย พ่อเลยต้องขายเรือโป๊ะ พี่หัวปีเป็นครู ได้ทุนไปเรียนการช่างที่ประจวบฯ พี่ที่สองเป็นโรคหอบ เรียนไม่ได้ เขาก็อยู่บ้าน ทำกับข้าว คนที่สามเขาเรียนเก่ง ชอบทำขนมขาย คนที่สี่เป็นครู ตัวครูเป็นลูกคนสุดท้องก็เป็นครูตั้งแต่เริ่มทำงานสอนที่โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน เมื่อก่อนชั้นป.เตรียมต้องไปอยู่ในวัด ก็ไปสอนที่วัดหัวหิน พอขึ้นป.1 ก็มาเรียนที่อาคารโรงเรียนเทศบาลฯ สอนได้ 30 กว่าปีจนเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ ผู้ช่วยผอ. แล้วก็ไปเป็นอาจารย์ใหญ่อยู่โรงเรียนวัดหนองแก 3 ปี ก็เกษียณ ทุกวันนี้ครูอยู่บ้าน ใครมีงานอะไรเราก็ไปช่วยกันตลอด อย่างพรุ่งนี้จะไปทำพิธีแต่งงานให้พรรคพวก เราเป็นผู้ใหญ่ของชุมชน เขาเคารพนับถือ ชีวิตครอบครัวเราสงบสุข เขาก็อยากเชิญเราไปเป็นสิริมงคลกับคู่แต่งงาน
คนมาเที่ยวหัวหินไม่ค่อยเข้ามาในชุมชน แต่ก็มีคนที่อยากรู้จักพื้นที่ เวลาเทศบาลฯ พาคนต่างถิ่นมาเที่ยวชุมชนพูลสุข ก็จะเข้ามาที่บ้านครู เพราะเป็นชุมชนดั้งเดิม บ้านไทยโบราณ แต่เดี๋ยวนี้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนพูลสุข อยู่ข้างวัดหัวหิน เป็นพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน เขาก็เจาะจงไปที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ไม่ค่อยเข้ามาที่บ้านแล้ว แต่ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของกรรมการชุมชน ที่ศูนย์ฯ ก็จะปิดบ้าง คนที่มาชุมชนเรา ก็อยากรู้ว่าต้นตระกูลมาจากที่ไหน มีอาชีพอะไร มายังไง ปู่ย่าตายายทำอะไร ในหมู่บ้านเราสมัยก่อนมีอาชีพทำพัด ปู่ย่าตายายมาจากเพชรบุรี มีอาชีพติดมือมา เอาใบตาลมาทำพัด ทีนี้หัวหินไม่มีต้นตาลก็ต้องสั่งซื้อใบตาลจากแม่ค้าที่ชะอำ สมัยก่อน ยอดนึง 70 สตางค์ เขามาขายทีเป็นร้อยๆ ยอด ก็แบ่งกันทุกบ้าน เดี๋ยวนี้มีอยู่เจ้าเดียวต้องไปซื้อจากปราณบุรี แถวชะอำไม่มีต้นตาลเท่าไหร่แล้ว แต่ก่อนก็นั่งทำกันเต็มใต้ถุนบ้านนี่แหละ พ่อเป็นคนเหลาไม้ แม่เป็นคนทำ พวกเราก็จับใบ แล้วจ้างเขาเย็บ ก็เป็นผลิตภัณฑ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่คนที่จะเรียนจะศึกษาไม่ค่อยมีแล้ว บ้านทำพัดยังเหลืออีกบ้านเดียวก็ไปอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพูลสุข นอกนั้นคนอื่นไม่ค่อยมีละ ทำๆ แล้วทุนจม เหนื่อยเปล่า กำลังไม่พอ สมัยก่อนคนสั่งทำพัดใบตาลทีเป็นร้อยๆ อันนี้ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด มันมีสัญญาณมาก่อนแล้ว ไม่ใช่อะไร สมัยก่อนเรานั่ง มีพัดคนละเล่ม เดี๋ยวนี้ไม่ต้องใช้พัดเลย มีพัดลมมั่ง ห้องแอร์มั่ง พัดก็ขายยาก นอกจากซื้อไปฝาก เป็นของที่ระลึก เราก็อยู่กันไปนิ่งๆ ไม่ได้ทำอะไรแล้ว เมืองมันเติบโตไปเยอะ
จุดเด่นของชุมชนพูลสุขเป็นชุมชนเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามอะไรกับใคร ไม่เสียงดัง เป็นชุมชนสงบ แทบจะไม่มีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่นอกจากมาทำงาน เราอยู่มาตั้งแต่เกิดก็เห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เจริญดีมาก เพิ่งจะมาวุ่นวาย 4-5 ปีมานี้ ก่อนนี้บ้านคนทั้งนั้นเลย ค้าขายกัน แต่เดี๋ยวนี้พวกค้าขายก็แก่กันมั่ง เสียกันมั่ง บางคนก็ไปที่อื่น บ้านก็ว่างให้เช่า เป็นร้านนวด เดี๋ยวจะไปว่าเขา ถ้าเขานวดเงียบๆ ก็ไม่เป็นไร แต่บางที่เป็นบาร์เปิดเพลงกัน พอมืดเข้าก็เสียงดัง เราก็ทน ไม่ได้อะไร คนข้างเคียงเขาโดนมากกว่าเรา เราก็เฉยไว้ นี่กำลังหนักใจ ที่ข้างหลังติดกำแพงบ้านเนี่ยว่างอยู่ เห็นฝรั่งกำลังมาทำบาร์ ก็ยังไม่แน่ว่าจะสร้างแบบไหน ไม่ได้คุยกับเขาก่อนเลย ไม่รู้เขาจะมาอีท่าไหน เดี๋ยวเขาหาว่าเรารู้ดีเกิน ทีนี้มีบาร์แล้วก็ต้องมีเสียงดนตรี ยังนึกว่าถ้าไม่ไหวก็ต้องแจ้งความกันบ้างล่ะ กลางคืนนอนไม่หลับก็ยิ่งแย่ใหญ่ ก็เป็นปัญหาความคับข้องใจของชาวบ้านกับคนที่เข้ามาทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจบันเทิง มองในแง่นึง ชุมชนก็เปลี่ยนไป ถนนนี้ชื่อถนนพูลสุขตามชื่อปู่ย่า แต่ตอนนี้ไม่ค่อยพูนสุขละ มันพูนอะไรบอกไม่ถูก”
ชูจิต อรุณรัตน์
ชุมชนพูลสุข
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…