Categories: Citizenยะลา

ถึงเวลาที่ทั้งคนยะลาและคนจากที่อื่นควรเรียนรู้ถึงความแตกต่างหลากหลาย ใช้สิ่งนี้เป็นต้นทุนเพื่อต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ๆ ผมว่ายะลาโตได้มากกว่านี้อีกเยอะครับ

“พ่อแม่ผมเป็นคนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ผมเกิดที่นั่น ก่อนที่พ่อและแม่ตัดสินใจย้ายกลับมาเปิดร้านอาหารที่เมืองยะลาตอนผมอายุ 2 ขวบ

ร้านอาหารที่ยะลาของครอบครัวตั้งอยู่บนถนนสายหลักที่เชื่อมไปยังจังหวัดปัตตานีและหาดใหญ่ พอผมจำความได้ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ก็เริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งถนนหน้าบ้านผมนี่มีการวางระเบิดกันบ่อย เพราะมันเป็นเหมือนเส้นเลือดหลัก บ่อยขนาดที่ว่าคนแถวนั้นได้ยินเสียงระเบิดจนชิน เป็นความเคยชินที่ชวนหดหู่นะครับ

ช่วงที่ผมโตมานี่ยอมรับว่ายะลาไม่น่าอยู่เลย แต่ละวันดำเนินไปด้วยความหวาดระแวง ขณะเดียวกันบรรยากาศในเมืองมันก็เหมือนถูกประโคมด้วยความแตกแยกทางวัฒนธรรม การที่คุณเป็นคนมุสลิมเข้าไปในบางชุมชนก็จะได้ความรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจในชุมชนนั้น เช่นเดียวกับที่คุณเป็นคนพุทธ และเข้ามาในชุมชนมุสลิมก็จะเจอความรู้สึกคล้ายๆ กัน

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ว่านี้มันกลับไม่เกิดในโรงเรียนที่ผมเรียนอยู่ ทุกคนไม่ว่าคุณจะนับถืออะไรก็ล้วนเป็นเพื่อนกัน ส่วนหนึ่งเพราะเราโตมาด้วยกัน จนทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างไร ตรงนี้แหละที่ผมมาคุยกับเพื่อนๆ ว่า หรือจริงๆ แล้วมันอาจมีสื่อหรือกลไกบางอย่างคอยประโคมให้เมืองเราเกิดบรรยากาศของความไม่ไว้วางใจ และความเกลียดชัง เพราะกระทั่งเหตุการณ์ความไม่สงบซาลง จนแทบไม่ค่อยเกิดขึ้นในตัวเมืองมาหลายปีแล้ว แต่บรรยากาศแบบนี้ก็ยังอยู่

ผมเลยเห็นว่าการเรียนรู้เรื่องทักษะทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญมาก การทำความเข้าใจวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง และหาวิธีอยู่ร่วมกันได้ ไม่เพียงจะทำให้อคติทางเชื้อชาติและศาสนาหายไป และทำให้เมืองมีบรรยากาศที่น่าอยู่ แต่ยังเป็นต้นทุนที่ดีในการพัฒนาเมือง ผมมีโอกาสไปเยือนเมืองต่างๆ ในประเทศไทย ก็พบว่าหลายเมืองเขาเจริญได้ ก็เพราะเขาใช้ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนมาเป็นต้นทุน ทั้งเชิงวัฒนธรรม การค้า ไปจนถึงการท่องเที่ยว

ทุกวันนี้ในตัวเมืองยะลาแทบไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงแล้วครับ และเอาเข้าจริงคนยะลาส่วนใหญ่ก็ต่างมองว่าความรุนแรงที่มีเกิดขึ้นเพราะมีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสร้างสถานการณ์เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง หาใช่ความรุนแรงที่ฝังรากจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ก็คิดว่าถึงเวลาที่ทั้งคนยะลาและคนจากที่อื่นทุกคน ควรเรียนรู้ถึงความแตกต่างหลากหลาย ใช้สิ่งนี้เป็นต้นทุนเพื่อต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ๆ ผมว่ายะลาโตได้มากกว่านี้อีกเยอะครับ”  


เฟาซี สาและ
นักออกแบบ SoulSouth Studio

https://www.facebook.com/SoulSouthStudio

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago