“แม้จะอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางย่านธุรกิจของหาดใหญ่ แต่พื้นที่ที่ผมอยู่ก็เป็นชุมชนเมือง ทั้งยังเป็นชุมชนแรกๆ ตั้งแต่มีการตั้งเมืองหาดใหญ่ด้วย ชุมชนเรามีชื่อว่าพระเสน่หามนตรี ตั้งตามชื่อของนายอำเภอคนแรกของหาดใหญ่
ชุมชนพระเสน่หามนตรีเดิมเป็นพื้นที่เดียวกับชุมชนกิมหยงสันติสุข ก่อนจะแยกออกมา และเป็น 1 ใน 103 ชุมชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ในปัจจุบัน พื้นที่เราเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าใหญ่ๆ ของเมืองสามแห่ง ได้แก่ ศูนย์การค้าโอเดียน ลี การ์เด้นส์ และเซ็นทรัลพลาซา (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว – ผู้เรียบเรียง) รวมถึงโรงแรมชั้นนำของเมืองส่วนใหญ่ นอกจากนี้เรายังเป็นที่จัดงานสงกรานต์มิดไนท์ และเคานท์ดาวน์ขึ้นปีใหม่ ที่เป็นงานใหญ่ประจำปี ด้วยเหตุนี้ พื้นที่เราจึงคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
ความที่พื้นที่ชุมชนทับซ้อนกับแหล่งท่องเที่ยวและสถานบันเทิง แน่นอน แต่เดิมคนในชุมชนก็พบปัญหาเรื่องมลภาวะทางเสียงและการจัดการขยะ แต่อาจเพราะคนในพื้นที่ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ประกอบการด้วย ตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงมีความพยายามรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ เห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของสมาคมพ่อค้าจีนอย่าง สมาคมฮากกา สมาคมฮกเกี้ยน หรือสมาคมไหหลำ ซึ่งข้อดีของเครือข่ายที่ขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการในพื้นที่เหล่านี้คือการมีทุนทรัพย์ ในหลายโครงการเราจึงทำกันเองได้เลยโดยไม่ต้องรองบประมาณของภาครัฐ
ชุมชนเสน่หามนตรียังเป็น 1 ใน 10 ชุมชนนำร่องของโครงการคลองเตยลิ้งค์ หรือโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้หาดใหญ่ โครงการนี้ไม่เพียงมีแผนจะฟื้นฟูพื้นที่ริมคลองเตย รวมถึงสร้างเส้นทางขนส่งมวลชนที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับเมือง แต่ยังเป็นการสกัดองค์ความรู้ที่แต่ละชุมชนรอบคลองมี ทำให้คนในชุมชนได้ย้อนกลับมาสำรวจตัวเองและประวัติศาสตร์ในพื้นที่ ที่สำคัญยังได้สร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนด้วย
แน่นอน การฟื้นฟูพื้นที่ริมคลองเตยและการทำเส้นทางเดินรถเป็นงานใหญ่ และต้องอาศัยงบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานพอสมควรกว่าจะสำเร็จ แต่การที่โครงการเริ่มต้นโดยชวนคนในพื้นที่มาร่วมกิจกรรม และสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน ก็เป็นการจุดประกายให้คนในพื้นที่มองเห็นภาพเดียวกัน จนนำมาสู่การเริ่มต้นปรับปรุงภูมิทัศน์เล็กๆ ด้วยต้นทุนที่เรามี
อย่างที่เห็นได้ชัดคือการทำสตรีทอาร์ทบนถนนหน้าศาลเจ้าพ่อเสือ รวมถึงแผนการประดับโคมจีน และเสามังกร จนเกิดเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ของเมือง ซึ่งแม้จะเป็นจุดเล็กๆ แต่ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มชีวิตชีวาให้พื้นที่ได้มาก ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นว่าถ้าเกิดความร่วมมือ ไม่ต้องรอภาครัฐ เราก็ทำกันเองได้
โครงการหน้าศาลเจ้าพ่อเสือยังทำให้ชุมชนในเครือข่ายกลับไปสำรวจพื้นที่ที่แต่ละชุมชนมี และชักชวนศิลปินหรือกลุ่มนักสร้างสรรค์มาทำงานกับคนในพื้นที่ เช่น บริเวณสวนหย่อมข้างโรงเรียนแสงทองวิทยา ซึ่งไม่ค่อยมีคนใช้ คนในชุมชนก็คุยกันว่าน่าจะประสานกับทางโรงเรียน ให้โรงเรียนส่งนักเรียนมาจัดกิจกรรมในพื้นที่ เช่น การแสดงดนตรีของวงดุริยางค์ หรือการสร้างสรรค์งานศิลปะ ทำให้สวนมันกลับมามีชีวิต และดึงดูดให้ผู้คนกลับมาใช้งาน
หรืออย่างชุมชนของผมที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดวัน คนในชุมชนก็มาคิดกันว่าเราควรเติมความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่เข้ามาบ้าง จึงมีแผนจะจัดทำถนนสายดนตรีในช่วงสุดสัปดาห์ ชวนวงดนตรีในพื้นที่มาทำการแสดงริมถนน สร้างสีสันใหม่ๆ ให้กับย่าน
นอกจากนี้การสกัดองค์ความรู้และข้อมูลของชุมชน ยังทำให้เราใช้มันสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่อีกต่อหนึ่งด้วย เช่นที่เราพยายามอัพโหลดข้อมูลร้านอาหารอร่อยคู่ย่านเข้าไปในฐานข้อมูลบน Google Maps จากเดิมที่นักท่องเที่ยวเปิดแผนที่เพื่อค้นหาโรงแรม เขาจะได้รู้ว่าย่านที่โรงแรมตั้งอยู่มีร้านอร่อยร้านไหนที่คนในชุมชนกินกัน เป็นต้น
จริงอยู่ว่าการพัฒนาหลายๆ เรื่องถ้าภาคเอกชนรวมตัวกันเข้มแข็ง เราก็สามารถทำได้เองเลยอย่างคล่องตัว แต่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเราก็ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นสำคัญ ผมจึงมองว่าถ้าภาครัฐสามารถแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดอันหยุมหยิม การลดขั้นตอนทางเอกสารที่เคยยืดเยื้อ และอื่นๆ เพื่อลงมาร่วมทำงานกับภาคประชาชนอย่างคล่องตัว ถ้าตรงนี้เกิดขึ้นจริง ผมว่าคงเป็นเรื่องดีมากๆ
ตรงนี้…ผมขอชื่นชมเทศบาลนครหาดใหญ่ชุดปัจจุบันที่ไม่เพียงรับฟังเสียง แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชนต่างๆ มาร่วมกำหนดทิศทางนโยบายการบริหารเมือง และส่งเสริมกิจกรรมของชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ผมหวังให้ความร่วมมือเช่นนี้เกิดขึ้นต่อไป เพราะผมเห็นว่าถ้าคนในเมืองแอคทีฟ และเทศบาลแอคทีฟ ผมว่าหาดใหญ่จะน่าอยู่และเป็นเมืองที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้อย่างแน่นอน”
ก่อเกียรติ เลิศวิทยาวิวัฒน์
ประธานชุมชนพระเสน่หามนตรี
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…