“พี่ย้ายมาอยู่ประแสปี พ.ศ. 2536 มาเป็นสะใภ้ที่นี่ ประแสในยุคนั้นเป็นชุมชนคนทำประมงพาณิชย์ที่ใหญ่มาก โดยครอบครัวสามีพี่เขาเปิดอู่ซ่อมเรือ เรือประมงเข้าออกแทบจะทั้งวันและทุกวัน เรือขึ้นมาที ลูกเรือก็จะแห่มาซื้อของ ที่นี่จึงเต็มไปด้วยร้านโชห่วย ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ไปจนถึงคาราโอเกะและสถานบันเทิง แม่สามีพี่ก็เปิดร้านบนถนนตลาดเก่าตรงนี้ ขับรถไปที่ซื้อของที่ตัวเมืองแกลง และเอามาขายที่นี่ เอาอะไรมาก็ขายได้หมด
สมัยก่อนชาวประมงเป็นคนอีสานเยอะ เวลาสาวอวนลงเรือ พวกเขาจะร้องเพลงกัน สนุกสนานเฮฮา ชุมชนเรามีเสน่ห์มากๆ พอมายุคหลังๆ ชาวประมงก็เปลี่ยนเป็นชาวต่างชาติ แต่การค้าขายก็เฟื่องฟูอยู่ จนกระทั่งมีกฎ IUU ที่ควบคุมการออกเรืออย่างเข้มงวด นั่นทำให้อุตสาหกรรมประมงค่อยๆ ซบเซา ท้ายที่สุดชาวประมงในปากน้ำประแสจึงไม่ได้ออกเรือหาปลากันอีกแล้ว เรือในหมู่บ้านทอดสมอทิ้งไว้ ส่วนมากจะปักอวนหาปลาบริเวณชายฝั่งแทน
หลังจากนั้น ผู้ประกอบการบางส่วนก็มาทำการท่องเที่ยวกัน เพราะในหมู่บ้านเรามีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ส่วนพี่ก็ขยับขยายจากการเปิดร้านขายของ เพิ่มมาทำร้านขายก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ในช่วงที่ตลาดเก่าของเรามีถนนคนเดินราวๆ ปี 2555
ที่หันมาเปิดร้านส่วนหนึ่งเพราะอยากให้ลูกๆ มาช่วยขายของด้วย เพราะอย่างที่บอก สมัยก่อนคนที่นี่ร่ำรวยมาก จึงส่งลูกไปเรียนกรุงเทพฯ หรือต่างประเทศกันหมด พอเด็กๆ ไปอยู่ที่นู่น ก็กลายเป็นคนที่อื่น น้อยคนคิดจะกลับมาทำอะไรที่บ้าน พี่ก็ส่งลูกไปเรียนกรุงเทพฯ เหมือนกัน แต่ก็จะขับรถไปรับเขากลับมาบ้านทุกสุดสัปดาห์ มาช่วยกันขายของ อยากให้พวกเขาผูกพันกับที่นี่ ให้มีสำนึกรักบ้านเกิด
พอหลังจากลูกโตจนเรียนจบทำงานกันหมด พี่ก็มีเวลามากขึ้น ประกอบกับที่ประแสเริ่มติดตลาดการท่องเที่ยว พี่ก็เปลี่ยนจากร้านก๋วยเตี๋ยวซึ่งคิดว่าหากินที่ไหนก็ได้ มาเปิดร้านอาหารที่นำวัตถุดิบที่ชาวบ้านในชุมชนหาได้ปรุงเสิร์ฟนักท่องเที่ยว อยากให้เมนูอาหารของเรามันสะท้อนความเป็นชุมชน และให้คนที่มาประแสต้องมากินที่เรา เพราะคิดว่าถ้าจะขายอะไรสักอย่าง ก็ควรขายสิ่งที่มาจากตัวตนของเราเอง
กลายเป็นว่า พอชาวประมงที่นี่ขึ้นอวนแล้วได้อะไรมา เราก็รับซื้อ ขณะเดียวกันก็ทำแบรนด์สินค้าชุมชนด้วยอย่างข้าวเกรียบเคย รวมถึงพวงกุญแจตุ๊กตาปลา ก็ให้ป้าๆ แม่บ้านในชุมชนช่วยกันผลิต เปิดเป็นวิสาหกิจชุมชนเล็กๆ
จากการทำร้านเพราะอยากให้ลูกๆ ผูกพันกับบ้านเกิด มาสู่การทำร้านอาหารที่นำเสนอความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน จนมาถึงการทำวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ก็เริ่มมีหน่วยงานต่างๆ มาทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนประแส ไม่ว่าจะเป็นสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาให้งบตบแต่งพื้นที่ กระทรวงวัฒนธรรมพาพวกเราไปดูงานการจัดการตลาดวัฒนธรรมในกรุงเทพฯ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาช่วยเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า รวมถึงสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นต้น
เพราะเหตุนี้จึงมีการรวมกลุ่ม ‘ชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส’ ขึ้น เพื่อให้เป็นตัวกลางเชื่อมกับองค์กรต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าเรารับทุกโครงการที่เข้ามา เพราะบางโครงการ ถ้าเราเห็นว่าไม่ตอบวัตถุประสงค์ มาทำเพราะแค่มีงบประมาณลงมา หรือถ้าบางโครงการสำเร็จรูปมาโดยไม่ได้มาจากความคิดของคนในชุมชนจริงๆ เราก็ปฏิเสธเขาไป
ทุกวันนี้สมาชิกกลุ่มพี่มีประมาณ 30 คน ซึ่งก็รวมผู้ประกอบการบนถนนสายนี้ทั้งหมด โดยเราจะคุยกันก่อนว่าแต่ละวาระเรามีแผนการอะไร แล้วไปคุยกับทางเทศบาลโดยตรง เพราะเรามีนายกเทศมนตรีประแสเป็นที่ปรึกษา
ทั้งนี้ เราก็คุยกับชาวบ้านทุกคนและเห็นตรงกันว่าเราอยากเป็นชุมชนท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นำทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นจุดขาย และพยายามสร้างการมีส่วนร่วมของชาวบ้านทุกคนมากที่สุด เพราะหมู่บ้านนี้เป็นของเราทุกคน ไม่ว่าจะมีโครงการพัฒนาอะไร ทุกคนก็ควรมีภาพและเป้าหมายเดียวกัน
ถามว่าดีใจไหมที่หมู่บ้านได้รางวัลชุมชนวัฒนธรรมดีเด่น หรือเป็นที่ศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่างๆ ก็ดีใจนะ แต่ที่ดีใจจริงๆ คือการได้เห็นทุกคนร่วมกันทำงาน ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนานี่แหละ หรืออย่างแค่ทำวิสาหกิจชุมชน ชวนป้าๆ ต่างๆ มาร่วมกันทำสินค้าจนมีเงินปันผลแบ่งทุกคน แม้มันจะไม่ได้มากมายอะไร แต่เห็นป้าๆ ดีใจที่มีรายได้ หรือการได้ไปออกร้าน ออกงานในจังหวัดต่างๆ รวมถึงการที่ลูกๆ เรากลับบ้านเกิดช่วยธุรกิจที่ร้าน แค่นี้พี่ก็คิดว่าสิ่งที่เราทำมาถูกทางแล้ว”
สุภาพร ยอดบริบูรณ์
เจ้าของร้าน ‘เจ๊หน่องแซ่บเวอร์’
และประธานชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส
https://www.facebook.com/tomyamnong/
https://www.facebook.com/VisitPrasae/
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…