“ผมเกิดและโตบนในย่านยมจินดา เปิดร้านก๋วยเตี๋ยวตรงนี้มา 20 ปี เช่าเขาตั้งแต่ราคาหลักร้อยจนขึ้นมาเป็นหลักพัน ขณะที่ตึกแถวอื่นๆ มีค่าเช่าขึ้นไปถึงหลักหมื่น อยู่ตั้งแต่ถนนยมจินดายังคึกคัก ก่อนจะเงียบเหงาไปพักใหญ่ แล้วก็เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาจากที่คนรุ่นใหม่เริ่มเห็นคุณค่าของการพัฒนาธุรกิจในย่านเมืองเก่า
ราว 10 กว่าปีก่อน มีทีมเทศบาลชุดหนึ่งจัดกิจกรรมให้ชาวบ้านในย่านเมืองเก่าเลือกรูปเก่าที่บ้านตัวเองมาคนละหนึ่งรูป นัดหมายกันที่ศาลเจ้าแม่ทับทิม และให้แต่ละคนเล่าถึงเบื้องหลังรูปถ่ายนั้นๆ จากที่ผมโตมาโดยไม่ค่อยสนใจคุณค่าของย่านตัวเองเท่าไหร่ กิจกรรมนั้นทำให้ผมอินกับชุมชนบ้านเกิดตัวเองไปเลย เพราะได้รู้ว่าเออ เมื่อก่อนท่าเรือประดู่เรามีเรือสำเภามาเทียบท่า มีคนลงไปดำกุ้งตรงนี้ เคยมีโรงหนังตั้งอยู่ หรือตึกเก่าในซอยนี้ ถ้าไม่โดนไฟไหม้ไปก่อน ตลาดเก้าห้องที่สุพรรณบุรีอาจไม่ได้เกิด เพราะตึกเขาสวยสู้ของเราไม่ได้เลย
นับแต่นั้นผมก็เลยเข้าร่วมกิจกรรมของ ‘ชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าระยอง ถนนยมจินดา’ มาตลอด ก็เริ่มตั้งแต่ร่วมกับผู้ประกอบการจัดถนนคนเดินในย่าน มาพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวบนถนนสายนี้เชื่อมกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นในตัวเมืองร่วมกับ สสส. หรือล่าสุดที่ร่วมกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้จัดงาน ‘ยมจินเดย์’ จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในย่าน มีการฉายหนัง ทำเวิร์คช็อปศิลปะ มินิคอนเสิร์ต การนำชมบ้านเก่า และอื่นๆ ดึงดูดให้ทุกคนเห็นว่าถนนสายนี้ไม่ใช่แค่ย่านอนุรักษ์ แต่ยังเป็นพื้นที่ที่รองรับความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ได้ทุกคนด้วย
จริงอยู่ที่กระแสที่คนรุ่นใหม่หันกลับมาสนใจย่านเก่าและการทำธุรกิจในย่านเก่าช่วยให้ย่านยมจินดากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ผมก็ฝันอยากเห็นการเติบโตของย่านยั่งยืนกว่านี้ ปัจจุบันถนนสายนี้มีบ้าน 128 หลัง มีเปิดค้าขายเพียง 30 หลัง และมีร้านกาแฟประมาณ 15 หลัง นอกจากนั้นปิดไว้ เพราะเจ้าของย้ายไปอยู่ที่อื่นเสียส่วนใหญ่ จำนวนที่ปิดไว้มีมากกว่าครึ่ง บ้านเก่าสวยๆ ที่เป็นมรดกของย่านหลายหลังก็ปิดไว้ ซึ่งก็เข้าใจได้ว่ามันเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเขา แต่นั่นล่ะ ถ้ามีการเปิดบ้านกันมากกว่านี้ ยมจินดาจะเป็นย่านเมืองเก่าที่คึกคักขึ้นมากเลย
ความที่ผมทำงานชมรม จึงเห็นว่าตลอด 10 ปีมานี้ มีหน่วยงานต่างๆ นำงบประมาณมาจัดกิจกรรมในย่านยมจินดาราว 30 ล้านบาทได้ แต่เกือบทั้งหมดเป็นการลงไปกับการจัดอีเวนท์ ซึ่งไม่ใช่ไม่ดีนะ ดีเลย แต่ก็เหมือนมาจุดพลุแล้วหายไป ย่านเรายังคงไม่มีโครงสร้างพื้นฐานใดๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว ที่จอดรถยังไม่มี หรืออย่างน้อยรถรับส่งนักท่องเที่ยวขนาดเล็กเชื่อมจุดต่างๆ ก็ควรจะมีได้แล้ว
ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมที่ทางชมรมผมร่วมทำกับชาวชุมชนอยู่แล้ว จึงคิดว่าหน่วยงานต่างๆ น่าจะมาร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในย่านเราด้วย ผมเชื่อว่าถ้าทุกอย่างพร้อม ยมจินดาเป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่เชื่อมได้ทั้งเจดีย์กลางน้ำ ป่าโกงกาง วัดลุ่มมหาชัยชุมพล ศาลเจ้าพ่อตากสิน ศูนย์การเรียนรู้พระเจ้าตาก ทั้งหมดจะช่วยดึงเม็ดเงินทางการท่องเที่ยวให้ระยองได้มากกว่านี้อีกเยอะ”
เกียรติศักดิ์ แซ่ไล้
เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงบ้านสะพานไม้
ชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าระยอง ถนนยมจินดา
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…