ป้าเป็นคนตะเคียนเลื่อน (ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์) ปลูกผักพื้นบ้านและทำเกษตรตามวิถีธรรมชาติมาหลายสิบปีแล้ว ป้าทำเพราะเห็นว่าเราปลูกอะไร เราก็กินแบบนั้น ก็เลยไม่ใช้เคมี เพราะเราไม่อยากกินเคมีเข้าไป
ใช่แล้ว จะบอกว่าป้าทำมาก่อนที่จะเข้าใจเรื่องเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ก็ได้ ถึงแม้ตอนหลังป้าอยากทำสวนป้าเป็นออร์แกนิก 100% แต่ก็พบว่ามีเงื่อนไขหลายประการที่ยังทำไม่ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นไร เราทำเกษตรปลอดภัยที่เรามั่นใจกับผลผลิตเราได้ไปก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยๆ ขยับต่อไป
พอมารู้จักกฎบัตรนครสวรรค์ จะบอกว่าเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกันก็ได้ เพราะได้รู้จักเครือข่ายเกษตรกรที่ทำอาหารปลอดภัยเหมือนเรา และเขาก็ช่วยหาตลาดให้ พร้อมสร้างแนวร่วมส่งเสริมอาหารปลอดภัยให้คนในเมืองได้กิน
ที่สำคัญคือการได้ร่วมทำพื้นที่การเรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ‘ฟาร์มสุขสมใจ’ ในตัวเมือง เหมือนเราได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นหลังหรือผู้ที่สนใจ สนับสนุนให้เขาทำการเกษตรเองที่บ้าน หรือชักจูงให้เกษตรรายอื่นๆ หันมาทำเกษตรปลอดภัย หรือถ้าทางกฎบัตรได้องค์ความรู้อะไรใหม่ๆ เขาก็ชวนให้เราไปเรียนรู้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
ขณะเดียวกัน เราก็ช่วยเหลือผู้ที่เข้ามาเรียนรู้กับเราในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การหาต้นพันธุ์ กิ่งพันธุ์ ปุ๋ย รวมไปถึงหาตลาด และช่องทางการขายออนไลน์อีกด้วย เราก็พยายามขยายเครือข่าย ชี้ให้เห็นว่าทำแบบนี้มันดียังไง ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตก็ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่สำคัญคือเราได้บุญ เพราะเราไม่ได้ส่งอาหารที่เป็นพิษให้คนอื่นกิน
ป้ามาทำตรงนี้แล้วมีความสุข วัดค่าเป็นราคาไม่ได้ เพราะเราเห็นทุกคนเป็นเพื่อนที่มีความหวังดีต่อคนอื่นๆ เหมือนกัน แน่นอน ป้าทำฟาร์มป้าก็คิดถึงการทำธุรกิจเพื่อหาเงิน เราก็ทำให้เราอยู่ได้ แต่ในอีกมุม พอมาทำพื้นที่การเรียนรู้ เราคิดว่ามันคือการแบ่งปันประสบการณ์ แบ่งปันความรู้ และแบ่งปันเครือข่าย เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในขณะเดียวกันเมื่อพวกเราเกษตรกรมีเครือข่าย เราก็สามารถต่อรองกับตลาดและต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้ด้วยเช่นกัน
ถ้าถามว่าเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ควรเรียนรู้อะไรให้มากๆ ป้าคิดว่าคือเรื่องบุญนิยมนะ ไม่ใช่ทุนนิยม เพราะความคิดเรื่องการทำบุญ หรือการแบ่งปันผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนมันค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมสมัยใหม่แล้ว อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักว่าการให้มันมีความสุขไม่ใช่แค่ผู้รับ แต่ผู้ให้ก็มีความสุขที่ได้ให้ ได้แบ่งปันด้วยเช่นกัน”
คำปัน นพพันธ์
เจ้าของไร่บ้านคำปัน และสมาชิกกลุ่มเกษตรและอาหารปลอดภัย กฎบัตรนครสวรรค์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…