“ถ้าสังเกตดีๆ คนค้าขายในตลาดส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่รุ่นผม ก็รุ่นแก่กว่าผมหมด คนรุ่นใหม่มาทำธุรกิจน้อยมาก จากแต่เดิมตลาดเป็นศูนย์กลาง ทุกวันนี้มีแต่คนออก ไม่ค่อยมีคนเข้า”

“ผมขายของที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ก่อนตลาดเก่านี่เป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัดราชบุรี ถนนอัมรินทร์หน้าร้านนี้เป็นน้องๆ เยาวราช ส่วนถนนวรเดชที่อยู่เลียบแม่น้ำด้านหลังนี้ก็คึกคักทั้งวัน เมื่อก่อนใครจะซื้อหาอะไรก็เข้ามาในตลาดนี้ ทั้งจากโพธาราม จอมบึง สวนผึ้ง ดำเนินสะดวก และอื่นๆ ต้องมาที่นี่หมด แต่มายุคหลัง พอมีห้างค้าปลีกมาเปิด และมีตลาดนัดจัดขึ้นตามชานเมืองและต่างอำเภอ ความเจริญกระจายตัว ย่านนี้ก็ค่อยๆ เงียบลง

เมื่อก่อนผมขายเสื้อผ้าอย่างเดียว ต่อให้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ก็ยังพอขายได้ แต่เดี๋ยวนี้ขายของอย่างเดียวอยู่ไม่ได้แล้ว ราว 5-6 ปีก่อน โชคดีที่ได้สูตรก๋วยจั๊บโบราณมา ก็เลยเปิดร้านก๋วยจั๊บตรงหน้าตลาดควบคู่ไปกับขายเสื้อผ้า ข้างๆ ร้านผมขายก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงสูตรจันทบุรี กับอีกร้านขายหมูสะเต๊ะซึ่งเป็นร้านเก่าแก่ ขายมาเป็นรุ่นที่ 4 ตรอกนี้เลยกลายเป็นย่านร้านประจำของชาวราชบุรี ทำให้ผมพออยู่ได้

ถ้าสังเกตดีๆ คนค้าขายในตลาดส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่รุ่นผม ก็อายุมากกว่าผมหมด คนรุ่นใหม่มาทำธุรกิจน้อยมาก แม้ร้านค้าส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แต่พอมายุคนี้ มีหลายร้านต้องปิดกิจการไปเพราะลูกหลานหันไปทำอย่างอื่น อย่างที่คุณเดินผ่านมาตรงหัวมุมเมื่อกี้ แต่ก่อนเป็นร้านไข่เค็มเจ้าดังมาก เขาส่งขายไปทั่วประเทศ แต่พออาเจ๊กเขาเสียชีวิต ก็ไม่มีใครทำต่อ ร้านส่วนมากในตลาดเป็นแบบนี้ ซึ่งมันก็ส่งผลตามมาอย่างที่บอก จากเมื่อก่อนทุกคนต้องเข้ามาที่ตลาดนี้ เดี๋ยวนี้มีแต่คนออก ไม่ค่อยมีคนเข้า

ผมจึงเห็นด้วยกับแทบทุกโครงการที่พยายามเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูตลาดเก่า เพราะจะช่วยดึงคนรุ่นใหม่ให้ได้เห็นว่าย่านเมืองเก่าเรายังมีของดีอยู่ เผื่อเขาจะเห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจในย่านเราบ้าง ซึ่งเมื่อก่อนผมแทบไม่คิดแบบนี้เลยนะ จนมีอยู่ครั้งเมื่อหลายปีก่อน ที่อดีตนายเทศมนตรีพิชัย (พิชัย นันทชัยพร) จะจัดงานตรุษจีนในย่านตลาดเก่านี่แหละ

ตอนทราบข่าวว่าจะมีการปิดถนนเพื่อออกร้านและจัดเทศกาลตรุษจีน คนในตลาดส่วนใหญ่ก็แอนตี้ เพราะจู่ๆ มาปิดถนนหลายวัน มันกระทบกับการค้าขายของพวกเรา จนงานมันเกิดขึ้นนั่นแหละ เราพบว่านอกจากเขาจัดงานอย่างดี มีขบวนแห่สิงโต มีการจำลองกำแพงเมืองจีน มีโชว์ต่างๆ ที่ช่วยดึงดูดคนให้มาเที่ยวเยอะ แต่ยังทำให้คนต่างถิ่นรู้จักย่านเราอีก นักท่องเที่ยวก็เลยกลับมาเที่ยวอีกครั้งในช่วงไม่มีงาน จากที่ไม่เห็นด้วย คนในตลาดก็ขอบคุณนายกพิชัยกันใหญ่ หลังจากนั้นนายกท่านก็ทำถนนคนเดินตลาดโคยกี๊ตรงถนนวรเดชด้วย กลายเป็นตลาดนัดช่วงเย็นวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ดึงดูดคนรุ่นใหม่มาเดินได้เยอะ

นอกจากค้าขาย ผมก็เป็นคณะกรรมการชุมชนตลาดเก่าด้วย อยากมีส่วนร่วมทำให้ตลาดกลับมาคึกคัก แต่ก็ต้องยอมรับว่าความที่ชุมชนเราเป็นชุมชนค้าขาย ต่างคนก็ต่างขายของ ผู้คนในชุมชนจึงให้ความร่วมมือน้อยกว่าชุมชนอื่นๆ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการและเครือข่ายที่เรามีอยู่ก็ช่วยกันดีมาก เวลามีหน่วยงานไหนเข้ามาขอจัดงาน หรือทำกิจกรรมเชิงพัฒนาเมือง เราก็ยินดีร่วมงานตลอด

ถ้าถามว่ามีอุปสรรคอะไร อาจไม่ใช่อุปสรรคหรอกครับ แต่เราอยากให้ภาครัฐมาสนับสนุนชุมชนเรามากกว่านี้ และอีกเรื่องคือ อยากให้มีคนรุ่นใหม่กลับมาช่วยกันขับเคลื่อนย่านบ้าง ไม่ถึงกับต้องลงแรงมาเป็นคณะกรรมการก็ได้ แค่มาเปิดร้าน มาทำกิจกรรม มาสร้างสีสันให้ย่าน แค่นี้ก็ช่วยให้ย่านเรามีชีวิตชีวาขึ้นมากแล้ว”  

ชะลอ ชัยพรรัตนพงษ์
เจ้าของร้านก๋วยจั๊บโบราณ ตลาดเก่าราชบุรี
คณะกรรมการตลาดเก่าราชบุรี

หมายเหตุ: ร้านก๋วยจั๊บเปิด 9.30 น. – 14.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันพุธ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

3 weeks ago