“ถามว่าเด็กยะลาขาดอะไร มองในภาพรวม ผมว่าคงจะตอบยาก เพราะเอาจริงๆ เด็กยะลามีต้นทุนที่ดีกว่าเด็กในเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองมากกว่า
ผมไม่ได้เกิดที่ยะลา แต่เริ่มต้นชีวิตราชการครั้งแรกที่นี่ โดยระหว่างนั้นก็มีโอกาสย้ายไปทำงานและใช้ชีวิตที่อื่นอยู่พักใหญ่ ก่อนกลับมาประจำที่เมืองแห่งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวิถีชีวิตและสาธารณูปโภคของเมืองอื่นๆ ที่ผมไปเจอมา ผมกล้าพูดว่าถ้ามองเรื่องต้นทุน เด็กยะลากินขาด
ในเขตเทศบาลนครยะลาเรามีครบทั้งสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกระดับ มีสนามกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งในสวนและพื้นที่ริมแม่น้ำ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของเมืองทั้งกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และศาสนา ซึ่งถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือการสัญจรภายในเมืองเป็นไปอย่างคล่องตัวจากผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ และตัวเมืองมีความสะอาด
พอเมืองมีพื้นที่สาธารณะที่ใช้ได้จริง เด็กๆ ก็จะออกมาใช้พื้นที่จนนำมาซึ่งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ผมเคยอยู่ในตัวเมืองบางเมืองที่ไม่มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทุกคน จะเห็นเลยว่าเด็กๆ หลายคนต้องนัดรวมกันตามพื้นที่รกร้าง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการมั่วสุมในเชิงลบ
อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี่คือภาพรวมของเมือง แต่ทุกวันนี้ก็ต้องยอมรับว่าในหลายภาคส่วน ยะลายังประสบกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกับพื้นที่ชุมชนที่โรงเรียนของผมตั้งอยู่
ผมเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านมลายูบางกอก ที่นี่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 พ่วงด้วยหลักสูตรอิสลามศึกษา โดยหมู่บ้านมลายูบางกอกเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนส่วนหนึ่งทำงานในโรงงานในพื้นที่ และมีหลายคนจำเป็นต้องเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่
นั่นทำให้เมื่อคุณเดินเข้ามาในโรงเรียน ลองชี้ไปที่เด็กนักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าในกลุ่มนั้นมีเด็กสัก 10 คน ผมบอกได้เลยว่าคุณจะหาเด็กที่อยู่ด้วยกันกับพ่อและแม่ครบยากมาก อาจมีอยู่ที่ราว 2-3 คน เท่านั้น เด็กๆ ที่นี่จึงค่อนข้างขาดความพร้อม และหลายคนในระดับมัธยมก็มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ
ด้วยเหตุนี้ นอกจากการพัฒนาหลักสูตรการสอน ภารกิจที่สำคัญของพวกเราคือการทำให้เด็กๆ ทุกคนได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทำเรื่องขอทุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทุกปี โดยทางคณาจารย์ก็ต่างทำงานหนักเพื่อทำเอกสารยื่นแก่เด็กๆ รวมถึงการประสานกับกองทุนซากาตของพี่น้องชาวมุสลิม ไปจนถึงการลงขันของคุณครูเองในทุกๆ ปี เพื่อนำไปสนับสนุนการศึกษาเด็กๆ
ผมเชื่อว่าปัญหาที่เล่ามานี้คือสิ่งที่อีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศกำลังประสบ โดยภาคส่วนต่างๆ ก็พยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหานี้แล้ว แต่ก็อยากให้หน่วยงานรัฐในระดับนโยบายมีเครื่องมือเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้มากกว่านี้
เพราะอย่างที่บอก ในภาพรวมเทศบาลนครยะลามีความพร้อมในการสนับสนุนบรรยากาศในการเรียนรู้ ถ้าเด็กยะลาทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยไม่ต้องหลุดจากระบบกลางคัน เมืองของเราจะส่งเสริมให้พวกเขาเข้าถึงศักยภาพและความสนใจที่แท้จริงของตัวเองอย่างมาก”
ธีรพัฒน์ ง๊ะสมัน
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านมลายูบางกอก
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…