“ผมเริ่มทำโรงพยาบาลศรีสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายใต้โจทย์สำคัญคือ ต้องการสร้างโรงพยาบาลเอกชนที่มีมาตรฐานทัดเทียมกรุงเทพฯ เพราะแต่ก่อน หากคนในจังหวัด ต้องการจะเข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลเอกชน พวกเขามักจะเลือกเดินทางเข้าไปรับการรักษาที่กรุงเทพฯ ก็เลยตั้งใจให้โรงพยาบาลศรีสวรรค์เป็นโรงพยาบาลเอกชนทางเลือกแรกของคนนครสวรรค์
พอตั้งโจทย์แบบนี้ เราจึงทำให้พื้นที่ของเรามีบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมมากที่สุด โรงพยาบาลศรีสวรรค์เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงในหลายด้าน มีศัลยแพทย์ผ่าตัดสมอง การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง สวนหัวใจทำบายพาส โดยในอนาคต เราตั้งเป้าดูแลกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตที่มีอาการเส้นเลือดอุดตันด้วยการสอดสายรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด รวมถึงการสวนสมองและหัวใจ รวมถึงการร่วมงานกับสถาบันวิจัยและโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ในการรักษาผู้ป่วยด้วยยีนและสเต็มเซลล์ อีกด้วย
ทั้งนี้ ในภาพใหญ่ระดับภูมิภาค ด้วยตระหนักดีว่านครสวรรค์เป็น 1 ใน 9 จังหวัด ระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสและเขตนวัตกรรมทางการแพทย์ของประเทศ ซึ่งสอดรับกับการเข้ามาของโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รวมถึงการตัดเส้นทางรถไฟสายใหม่จากอำเภอแม่สอด โรงพยาบาลของเราจึงมุ่งมั่นยกระดับการบริการให้รองรับกับการขยายตัวเศรษฐกิจของเมือง ในฐานะหนึ่งในแกนนำด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยหวังให้นครสวรรค์เป็น wellness destination ของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
หนึ่งในแอคชั่นที่สำคัญของเราคือการจับมือกับคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์ ในการร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ของเมือง ผลักดันให้เราเข้าสู่ระเบียงเศรษฐกิจครบวงจรตั้งแต่สุขภาพ เศรษฐกิจ และนวัตกรรม รวมถึงการเป็นโรงพยาบาลต้นแบบ Wellness Hospital ทั้งการทำอาคารให้ผ่านมาตรฐานอาคาร WELL ยกระดับสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้อาคาร การสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อนำผลิตผลมาเสิร์ฟคนไข้ รวมถึงการสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อยกระดับนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ผมมองว่าเมืองนครสวรรค์ของเราหลังจากนี้ จะมีการพัฒนาทางโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ นี่เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ต่อการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของคนในเมือง อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าถึงแม้เราจะมีทางรถไฟรางคู่เส้นทางใหม่ตัดผ่านซึ่งสามารถเชื่อมไปยังประเทศเมียนมาร์ได้ แต่ถ้าเราไม่มีการวางแผนเพื่อรองรับโอกาสนี้ให้ดี นครสวรรค์ก็อาจเป็นเพียงเมืองผ่านที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกจะผ่านไปอีก และไม่แวะมาเยี่ยมเยือนก็เป็นได้”
นายแพทย์ชวลิต วิมลเฉลา
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสวรรค์
https://www.srisawan.com/
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…