ถ้าเมืองมีสุนทรียะมูลค่าเพิ่มก็จะตามมาเอง

“ผมเริ่มเล่นดนตรีกลางคืนระหว่างที่เรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนเรียนจบออกมาก็ไม่ได้ทำงานตรงสายที่เรียน เป็นนักดนตรีกลางคืนอย่างเดียว เล่นตั้งแต่ที่มังกี้คลับยังเปิดอยู่ ที่วอร์มอัพ และอื่นๆ ต่อเนื่องมา 12 ปี จนแม่ตามตัวให้ผมกลับไปช่วยธุรกิจที่บ้านที่ลำปางเมื่อราว 5 ปีที่แล้ว ก็เลยตัดสินใจเลิกเพื่อกลับมาอยู่บ้าน

ผมเรียนมัธยมที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จากนั้นก็ไปอยู่เชียงใหม่มา 16 ปี ระหว่างนั้นมีโอกาสกลับบ้านบ้าง แต่การกลับมาอยู่ลำปางแบบเต็มเวลา รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบงานโดยสิ้นเชิงเลยก็ทำให้ผมใช้เวลานานเหมือนกันกว่าจะปรับตัวได้

เพราะถึงลำปางจะไม่ใช่เมืองเล็กแล้ว แต่พูดถึงความหลากหลายทางด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ก็ถือว่ายังห่างไกลจากเชียงใหม่มาก อย่างพวกร้านเหล้าก็จะเปิดเพลงคล้ายกันไปหมด ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก ตอนกลับมาใหม่ๆ หลักๆ ผมจะไปนั่งที่ Mao Deep Café จนผ่านไปปีหนึ่ง มีรุ่นน้องที่โรงเรียนไปได้อาคารตรงเชิงสะพานรัษฎา แล้วเขาก็เปิดร้านกันตรงนั้น ผมก็เลยย้ายไปนั่งประจำที่นั่น นั่งบ่อยๆ เข้าเขาก็ชวนมาร่วมหุ้น ซึ่งเขาก็ให้อิสระผมในการเลือกเพลงหรือเลือกวงดนตรีมาเปิด ผมก็เลยลองนำเสนอเพลงอินดี้ที่ต่างออกไปจากร้านส่วนใหญ่ในลำปางดูบ้าง คือเลือกให้ตอบโจทย์เราก่อน ซึ่งทุกคนก็โอเค ร้าน The Gravity Club จึงกลายมาเป็นธุรกิจที่เติมเต็มชีวิตผม  

ร้านนี้เปิดมาได้ 5 ปีแล้วครับ ตอนกลางวันผมจะช่วยธุรกิจที่ครอบครัว พอตกเย็นก็มาเปิดร้าน ผมทำทั้งดูแลจัดการภายในร้าน เลือกเพลงที่จะเปิด และทำอาหาร พอโควิด-19 เริ่มซา แล้วรัฐบาลอนุญาตให้กลับมามีการแสดงดนตรีสดได้ ด้วยความที่ทางร้านกระทบหนักเอาการ เราก็เลยประหยัดเงินลงด้วยการเลือกจ้างวงดนตรีแค่ช่วงสุดสัปดาห์ ส่วนวันธรรมดา ผมก็จะเล่นดนตรีโฟล์คในร้านบ้าง ลูกค้าของร้านส่วนหนึ่งเป็นคนทำงานที่ชอบฟังเพลง ส่วนอีกกลุ่มใหญ่ๆ คือนักศึกษาธรรมศาสตร์ครับ คือรุ่นพี่เขามากันก่อน แล้วก็ชวนรุ่นน้องตามๆ กันมา กลายเป็นร้านประจำของพวกเขา

เรื่องทำเลของร้านนี้ก็เป็นส่วนสำคัญครับ เราได้ตรงเชิงสะพานรัษฎา ติดริมน้ำวัง คนมากินข้าวหรือมาดื่มก็ได้เห็นวิวทั้งสะพานและแม่น้ำ เป็นทิวทัศน์แลนด์มาร์คของเมืองเลย ส่วนเสาร์-อาทิตย์ คนมาเดินกาดกองต้า เขาก็แค่ข้ามสะพานมานั่งได้ง่ายๆ และก็เพราะผมได้เห็นทิวทัศน์แบบนี้ทุกวัน เลยทำให้ผมคิดว่าเอาเข้าจริงถ้าหน่วยงานราชการเขาทำงานกับนักออกแบบ เมืองเราสวยกว่านี้ได้อีกเยอะนะครับ

อย่างช่วงเทศกาล เขาจะประดับไฟสะพาน ตบแต่งทัศนียภาพในเมือง สวยเลย แต่พอพ้นเทศกาล เขาก็เอาออก ปล่อยให้มันมืดๆ ทึมๆ แบบเดิม คือผมมองบางเรื่องก็ไม่ได้ใช้งบประมาณอะไรเยอะ ถ้าเขาทำต่อเนื่อง รวมถึงทำที่อื่นๆ มีการจัดการเรื่องไลท์ติ้งดีๆ ไม่ต้องแฟนซีหวือหวา แค่เรียบๆ แต่ให้สถาปัตยกรรมมันโดดเด่นขึ้นมา คือพื้นฐานของเมืองเก่าลำปางนี่สวยอยู่แล้วนะครับ ทั้งสะพาน ทั้งทิวอาคาร หรือวัดวาอาราม อาจจะเติมแค่วิธีการที่จะทำยังไงให้มันโดดเด่นหรือเสริมเสน่ห์ขึ้นมา ถ้าเมืองมีสุนทรียะ มูลค่าเพิ่มก็จะตามมาเองครับ”

สุเมธ เชาว์เสาวภา
หุ้นส่วนร้าน
The Gravity Club

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago