“ผมเกิดและโตที่แก่งคอย เตี่ยเปิดร้านขายของชำอยู่ในตลาดเทศบาล เปิดมาตั้งแต่สมัยสงครามโลก เมื่อก่อนตอนผมเป็นเด็ก ผมชอบเดินจากร้านไปวิ่งเล่นแถวตลาดท่าน้ำ ตรงนั้นจะเห็นเรือขนสินค้าจากที่ต่างๆ มาเทียบท่า บางส่วนเขาก็ขนสินค้าขึ้นฝั่งเพื่อขนถ่ายไปทางรถไฟต่อ แก่งคอยสมัยนั้นเศรษฐกิจดี ค้าขายคล่องตัว คนจากที่อื่นนำผลผลิตทางการเกษตรมาขาย คนในตลาดก็ตั้งตารอว่าแต่ละวันจะมีผลผลิตอะไรมาให้ซื้อบ้าง ซื้อขายกันเสร็จ ก่อนกลับพวกเขาก็จะซื้อข้าวของเครื่องใช้หรือเสื้อผ้าในตลาดกลับไป คนขายและคนซื้อรู้จักกันหมด มันมีบรรยากาศแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนทุกคนเป็นเพื่อนบ้านกัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า พอยุคสมัยเปลี่ยน สภาพสังคมหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยก็เปลี่ยนตาม เดี๋ยวนี้ทางเลือกของการจับจ่ายใช้สอยของคนแก่งคอยกลายเป็นซูเปอร์สโตร์ใหญ่ๆ ตลาดที่เคยคึกคักจึงซบเซา ขาดความสัมพันธ์แบบเมื่อก่อน ในฐานะที่ผมทำธุรกิจที่นี่ ก็อยากมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทำให้ตลาดและย่านกลับมามีชีวิตชีวา ไม่ได้คิดว่ามันต้องเหมือนเดิม แต่อย่างน้อยให้คนดั้งเดิมยังสามารถค้าขายได้ต่อ ให้ลูกหลานมีกำลังใจอยากกลับมาสานต่อกิจการ หรือทำสิ่งใหม่ๆ ในบ้านเกิด จึงร่วมกับเพื่อนผู้ประกอบการด้วยกันตั้งกลุ่มหอการค้าแก่งคอยขึ้นเมื่อราว 15 ปีที่แล้ว
หลักๆ กลุ่มนี้คือการร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแก่งคอยครับ ตั้งแต่การชวนพ่อค้าแม่ค้าในตลาดทำถนนคนเดินโดยจัดอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ไปจนถึงหาจุดเด่นใหม่ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว อย่างล่าสุด เรากำลังสำรวจเส้นทางล่องแพและพายซับบอร์ดบริเวณแม่น้ำป่าสัก โดยดึงประวัติศาสตร์ของเมืองแก่งคอยกับลำน้ำสายนี้มาเป็นจุดขาย มีการล่องเรือไปชมทิวทัศน์ถ้ำหมีเหนือ-เสือใต้ ซึ่งอีกไม่นานก็น่าจะได้โปรโมทกัน
ในหมวกอีกใบ สมาชิกกลุ่มหอการค้าแก่งคอย ยังทำกลุ่มแก่งคอยเมืองน่าอยู่ กลุ่มนี้ตั้งมาเพื่อจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้คนรักแก่งคอย และส่งเสริมให้แก่งคอยเป็นเมืองน่าอยู่ เราทำภายใต้โครงการแก่งคอยเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมกับ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ก็มีการชวนตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของเมืองทำกิจกรรม walk rally เดินสำรวจเมืองด้วยมุมมองใหม่ เพื่อมองหาปัญหาและวิธีการแก้ไข ไปจนถึงโอกาสใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองกัน ทั้งยังมีการร่วมหุ้นกันบูรณะอาคารเก่าในย่านตลาดท่าน้ำ ไว้สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรม และนิทรรศการบอกเล่าเรื่องเมือง โดยสอดรับไปกับกลุ่มหอการค้าแก่งคอย ที่พยายามทำถนนคนเดินตลาดท่าน้ำแก่งคอย กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง สร้างบรรยากาศของเมืองน่าอยู่ไปพร้อมกัน
อย่างล่าสุด ทางกลุ่มหอการค้าแก่งคอยก็ร่วมทำถนนคนเดินในงานแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลกด้วย เรารับผิดชอบตรงโซนงานตั้งแต่หลังสถานีรถไฟยาวลงมาถึงตลาดท่าน้ำฯ ซึ่งนอกจากออกร้านและมีการแสดงบนเวที ก็มีการเชิดสิงโต ไปจนถึงทำเวทีให้คนเฒ่าคนแก่มาเล่าประสบการณ์ในอดีต โดยเฉพาะบางคนที่ยังทันเห็นตอนแก่งคอยถูกระเบิดลงในสงครามโลก เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจความเป็นมาและเป็นไปของเมืองเราร่วมกัน
สำหรับผมแก่งคอยเป็นเมืองน่าอยู่อยู่แล้ว มีความเงียบสงบ ค่อนข้างสะอาด ผู้คนเป็นมิตร ปลอดภัย เรื่องฉกชิงวิ่งราวแทบไม่มี ที่สำคัญเรายังมีต้นทุนทางประวัติศาสตร์ที่สามารถนำมาสื่อสารหรือเพิ่มมูลค่ากับเมืองได้ ทั้งตลาดเก่า แม่น้ำป่าสัก ท่าน้ำแก่งคอย วัดแก่งคอย ไปจนถึงเรื่องสงครามโลก คือถ้าเราร่วมมือกัน และหน่วยงานท้องถิ่นมาร่วมงานกับเรามากกว่านี้ แก่งคอยจะไม่เพียงน่าอยู่สำหรับคนท้องที่ แต่น่าอยู่และน่ามาเที่ยวสำหรับคนที่อื่น เราจะเป็นได้มากกว่าเมืองผ่านบนถนนมิตรภาพอย่างแน่นอน
อยากให้เมืองเรามีการหนุนเสริมอะไร ผมมองว่าแก่งคอยเรายังขาดจุดเด่นด้านอาหาร คนมาที่นี่ยังไม่รู้ว่าจะกินอะไร ทั้งที่เอาเข้าจริง ของกินของคนไทยเชื้อสายจีนในตลาดนี่อร่อยเยอะ เพียงแต่เขาก็ไม่ทำขายกัน คุณเข้าใจคำว่ามรดกอาหารไหม หลายบ้านในนี้ทำขนมกุยช่ายอร่อยมาก บางคนทำบ๊ะจ่างรสชาติดีกว่าร้านดังๆ เสียอีก ไหนจะหมูกรอบ ขนมผักกาด ไปจนถึงน้ำเต้าหู้ ซึ่งที่ว่ามานี้ พวกเขาทำกินกันเอง และแจกจ่ายเพื่อนบ้านเป็นหลัก ผมก็พยายามคุยกับเขาว่าน่าจะทำขายบ้างนะ ไม่ต้องขายทุกวันก็ได้ อาจขายเป็นวาระ หรือช่วงสุดสัปดาห์ ทำให้คนที่มาเที่ยวแก่งคอยได้ลองชิม ผมยืนยันเลยว่า ถ้าได้มาชิมแล้ว รับรองว่าจะต้องกลับมาที่นี่อีก”
สานิตย์ แซ่จึง
หัวหน้าหอการค้าแก่งคอย และกลุ่มแก่งคอยเมืองน่าอยู่
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…