ทั้งราก ใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก สามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปได้หมด นี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด

“พี่กับสามีเริ่มทำสวนนนดาปี 2548 เนื่องจากเราเป็นข้าราชการทั้งคู่ ก็เลยจะมีเวลาทำสวนแห่งนี้เฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ จึงเรียกกันเล่นๆ ว่าสวนวันหยุด ทำไปได้สักพัก สามีพี่ตัดสินใจลาออกจากราชการมาทำสวนเต็มตัว ส่วนพี่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2565 นี้เอง

เราทำเกษตรปลอดสารและสวนสมุนไพร เพราะเห็นว่าสองสิ่งนี้คือขุมสมบัติดีๆ นี่เอง ไม่ได้หมายถึงว่าสวนนี้เป็นแหล่งธุรกิจจริงจังอะไร แต่ทั้งราก ทั้งใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก เราสามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้หมด จึงมองว่านี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด

นอกจากผักและผลไม้ที่ได้โดยตรงจากสวน สามีพี่ (สุทัศน์ เรืองงาม) ปลูกม่อนเอาลูกม่อนไปขาย และไปหมักทำไวน์ ส่วนพี่สนใจเรื่องการทำสบู่ เพราะมีโอกาสได้เรียนรู้จากครูหลายคน (พี่สมบูรณ์เคยเป็นข้าราชการประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา – ผู้เรียบเรียง) รวมถึงเรียนจากในอินเทอร์เน็ต ก็เลยทดลองใช้สมุนไพรในสวนอย่างอบเชย ใบเตย ฟักข้าว หรือใบย่านางมาทำเป็นสบู่สมุนไพร หรือผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะนาวหรือมะม่วงหิมพานต์ ก็นำมาหมักทำน้ำยาล้างจานได้ และทั้งหมดทั้งมวล วัตถุดิบเหล่านี้เรายังไปประกอบอาหารเป็นกับข้าวรับแขกที่มาในสวนได้

ก็ทำขายคุณครู เพื่อนๆ หรือคนรู้จักก่อนค่ะ หลังๆ ก็มีคนมาซื้อถึงในสวน จนทางมหาวิทยาลัยพะเยาทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เขาก็มาชวนพี่เข้าร่วมโครงการ เปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองได้

พี่เป็นวิทยากรสอนทำสบู่สมุนไพรและน้ำยาล้างจานให้โครงการ เปิดสอนตั้งแต่ตอนยังไม่ออกจากราชการเลยนะ จึงสอนได้เฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ทางโครงการก็เปิดรับสมัครคนมาเรียน มีตั้งแต่ นักศึกษามหาวิทยาลัย คนวัยทำงาน ไปจนถึงวัยเกษียณ

รู้สึกว่าสิ่งนี้เติมเต็มชีวิตนะ เพราะแม้เราจะทำงานในสำนักงานด้านการศึกษา แต่ก็ไม่ได้สอนใครมาก่อน ที่สำคัญคือสอนในสิ่งที่ผู้เรียนสามารถเอาไปต่อดยอดเป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้อีก รวมถึงทำให้คนอื่นๆ ได้ทราบว่าผลหมากรากไม้ใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม มีประโยชน์มากกว่าที่เราคุ้นเคยอีกเยอะ อย่างที่บอกว่าถ้าเรามีที่ดิน ให้เวลากับมันฟูมฟัก ทำเกษตรปลอดสารเคมี และเรียนรู้ไปกับมัน ที่ดินที่เรามีก็จะกลายเป็นสมบัติให้เรามีกินได้ไม่รู้จักหมด”   

สมบูรณ์ เรืองงาม
สวนนนดา
https://www.facebook.com/suannonnada/



กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago