ทั้งสมาร์ทซิตี้ กรีนซิตี้ และเลิร์นนิ่งซิตี้ ล้วนเป็นกลไกที่ใช้ขับเคลื่อนเมืองไปด้วยกัน เหมือนเช่นการทำงานเพื่อพัฒนาเมืองหาดใหญ่ที่รัฐต้องทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างขาดใครไปไม่ได้เช่นกัน

“เมื่อเดือนสิงหาคม (2565) ที่ผ่านมา ทางเทศบาลนครหาดใหญ่เพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียว IMT-GT ซึ่งเป็นแผนงานความร่วมมือของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยในการพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดกรีนซิตี้ (Green City) โดย พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียวของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วย

การประชุมครั้งนั้นเป็นรูปธรรมอันชัดเจนว่าเทศบาลนครหาดใหญ่เรากำลังเดินหน้าขับเคลื่อนเมืองด้วยยุทธศาสตร์เมืองสีเขียว ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเมืองในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ การจัดการขนส่ง การจัดการขยะ ความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และอื่นๆ

โดยนโยบายหลักของเราตอนนี้คือการเพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือสวนหย่อมในเขตเทศบาล เพราะแม้เราจะมีสวนสาธารณะของเทศบาลบริเวณเขาคอหงส์ ซึ่งผมกล้าพูดว่าดีที่สุดในภาคใต้ แต่ในเขตใจกลางย่านธุรกิจ เราก็จำเป็นต้องมีสวนขนาดเล็กเพื่อให้ผู้คนได้พักผ่อนและใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน

 
นอกจากด้านสิ่งแวดล้อม หาดใหญ่ก็มีแผนพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดสมาร์ทซิตี้ (Smart City) ทั้งการติดตั้งกล้องวงจรปิด การติดตั้งเครือข่ายสัญญาณ Wifi ให้ประชาชนเข้าถึงฟรี และที่สำคัญคือความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) จัดทำชุดข้อมูลใหม่เข้าสู่แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform: CDP) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลดิจิทัล ที่รองรับการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อการทำธุรกรรมในเมืองอย่างโปร่งใสและปลอดภัย

ซึ่งทั้งแนวคิดกรีนซิตี้ และสมาร์ทซิตี้ จะไม่มีพลวัตต่อเมืองเลย หากขาดบรรยากาศของการเรียนรู้ เราจึงพยายามส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านศูนย์การเรียนรู้ทุกแห่งของเทศบาล เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้ประกอบการ การเรียนรู้ที่จะตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศในปัจจุบัน ไปจนถึงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์รากเหง้าของเมืองหาดใหญ่ อันนำมาสู่การสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของเมืองร่วมกันของภาคประชาชน

ผมจึงเห็นด้วยกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ซึ่งทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ขับเคลื่อนมาก่อนหน้า และร่วมกับทางทีมงานของอาจารย์สิทธิศักดิ์ทำคลองเตยลิงก์ เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยพัฒนาเมืองของเราได้ดี โดยเฉพาะการใช้กระบวนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนาเมือง 

ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางเท้าเลียบคลองก็ดี การใช้รถตุ๊กตุ๊กที่เมืองมีอยู่แล้วมาทำรถประจำทางเส้นทางใหม่ พร้อมแนวคิดในการเปลี่ยนให้รถตุ๊กตุ๊กขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า รวมถึงการใช้ต้นทุนพหุวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนผูกโยงเข้ากับการท่องเที่ยวด้วย

ทั้งหมดที่ว่ามา ทางเทศบาลได้สนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การเข้าร่วมกิจกรรม ไปจนถึงการรับแนวคิดและแบบปรับปรุงภูมิทัศน์คลองเตยของโครงการ เพื่อส่งมอบให้ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดสรรงบประมาณจัดสร้างต่อไป รวมถึงการช่วยตบแต่งเมืองเพื่อเน้นย้ำถึงจุดแข็งทางอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งเราได้ทำอยู่แล้ว เช่น การโปรโมทความเป็นย่านไชน่าทาวน์ของเมือง การจัดสร้างหอประวัติเมืองหาดใหญ่ที่นำเสนอนิทรรศการเมือง การจัดอีเวนท์ทางวัฒนธรรมเพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว และอื่นๆ

ผมจึงเห็นว่าทั้งสมาร์ทซิตี้ กรีนซิตี้ และเลิร์นนิ่งซิตี้ ล้วนเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนเมืองไปด้วยกันอย่างขาดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปไม่ได้ เหมือนเช่นการทำงานเพื่อพัฒนาเมืองหาดใหญ่ของเรา ที่ภาครัฐต้องทำงานร่วมกับภาคการศึกษา เอกชน และภาคประชาชนไปพร้อมกันอย่างขาดใครไปไม่ได้เช่นกัน”  

ศาสตราจารย์ ดร. วิชัย กาญจนสุวรรณ
รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

3 weeks ago