“เมื่อก่อนก็ซื้อแหนมกินจากที่อื่นค่ะ แต่ความที่เราไม่รู้เลยว่าคนอื่นเขาทำแหนมยังไง เขาใส่ดินประสิวมากเกินมาตรฐานไหม หรือกระบวนการที่เขาทำนี่ถูกสุขอนามัยมากแค่ไหน คุณยายพี่เขาก็เลยทำเอง เลือกใช้แต่วัตถุดิบที่สดใหม่ สะอาด และทราบถึงที่มา และใช้ดินประสิวไม่เยอะ คือถ้าไม่ใช้เลยก็ไม่ได้ แต่ถ้าใช้เยอะก็เป็นอันตราย
นอกจากทำกินกันเองในครอบครัว คุณยายท่านก็เอาแหนมไปแบ่งเพื่อนๆ ก็มีการบอกต่อเรื่อยๆ จนมีคนมาขอซื้อ ก็ขายกันเล็กๆ โดยไม่ได้ทำแบรนด์อะไรเรื่อยมา จนภายหลังคุณยายทำต่อไม่ไหว จึงไม่ได้ขายมาหลายปีแล้ว
พอพี่เกษียณ จากที่เราเป็นพยาบาลมาทั้งชีวิต ให้อยู่บ้านเฉยๆ ก็คงจะเฉา เลยไปทำกิจกรรมที่ชมรมผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองพะเยา เราชอบเรียนรู้การทำนั่นทำนี่จากยูทูปอยู่แล้ว ก็เลยเอาสิ่งที่เรียนมาไปสอนเพื่อนๆ ในชมรม เช่น การทำสบู่ สานตะกร้าเดคูพาจ และอื่นๆ เท่าที่เราจะทำและสอนคนอื่นได้ และพอดีกับที่มหาวิทยาลัยพะเยาทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ทีมนักวิจัยเขาก็แนะนำว่าน่าจะทำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายนอกเหนือจากสิ่งที่เราเปิดการเรียนการสอนอยู่ ก็เลยคิดถึงแหนมอนามัยสูตรของคุณยายขึ้นมา
จากแหนมสูตรคุณยายที่ไม่เคยมีชื่อเรียก ทางทีมวิจัยก็ช่วยพี่ทำแบรนด์และออกแบบโลโก้ เป็นสินค้าจริงจังขึ้นมา ก็เริ่มเอาไปขายในกลุ่มไลน์ของโรงพยาบาลที่เคยทำก่อน พี่ตั้งชื่อแบรนด์ว่า ‘ทัพพีเงิน’ เพราะเราขายอาหารก็เลยคิดถึงทัพพี แต่แทนที่จะตักข้าว เราเอามาใช้ตักเงินตักทองจากสินค้าของเราเอง (ยิ้ม)
ถึงจะพูดแบบนั้น พี่ก็ไม่ได้คิดจะทำเป็นอุตสาหกรรมหรือธุรกิจจริงจังอะไร เพราะเราทำกับผู้ช่วยอีกหนึ่งคนแค่นั้น และจริงๆ เราทำเพราะความสนุกที่ได้มีอะไรทำ และหวังให้ลูกค้าได้กินแหนมที่มีคุณภาพและปลอดภัยมากกว่า เดือนหนึ่งจะทำขายแค่สองรอบผ่านทางไลน์กลุ่ม กลายเป็นว่าลูกค้าหลักของเราคือหมอ พยาบาล และบุคลากรในโรงพยาบาลเสียเกือบทั้งหมด เว้นแต่จะมีออกร้านเล็กๆ ตามงานบ้าง
ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ก็มีแผนให้พี่เปิดคอร์สสอนทำแหนมเหมือนกัน พี่ก็ยินดีเพราะอยากแบ่งปันความรู้ และเผื่อใครเอาไปต่อยอดเป็นธุรกิจก็ดีเข้าไปใหญ่ แต่พี่ก็ย้ำเสมอเรื่องวัตถุดิบและกระบวนการผลิตต้องสะอาดและได้มาตรฐาน ให้เขาเอาสูตรเราไปทำแบรนด์ขายของตัวเองได้เลย ซึ่งนอกจากแหนมสูตรคุณยายพี่แล้ว ทัพพีเงินก็ยังมีผลไม้แช่อิ่มตามฤดูกาล ซึ่งอันนี้พี่เรียนมาจากยูทูป และเอาผลไม้ที่ปลูกในบ้านมาทำ ฤดูกาลนี้เป็นตะลิงปลิง ต่อไปก็อาจเป็นมะม่วงหาวมะนาวโห่ ก็แล้วแต่ช่วงว่าต้นไหนจะออกผลเมื่อไหร่
การทำให้คนอื่นมีอาชีพก็เรื่องหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญอีกเรื่องก็คือพี่อยากให้พะเยาเรามีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นอาหารปลอดภัยมากกว่านี้ เมืองของเราเป็นเมืองเกษตร ก็น่าจะสนับสนุนให้เกิดเกษตรปลอดภัยที่ไม่เพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรค แต่เกษตรปลอดภัยช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า และเป็นที่ต้องการของตลาดระดับสากล
ในขณะเดียวกัน อย่างที่ทราบกันว่าพอพะเยาไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรม คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็เลยต้องออกจากบ้าน ย้ายไปทำงานที่เมืองใหญ่ๆ ถ้าเรานำเกษตรปลอดภัยมาเป็นจุดแข็ง ใช้เทคโนโลยี หรือรูปแบบการตลาดใหม่ๆ มาต่อยอดต้นทุนตรงนี้ให้กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัด สิ่งนี้จะดึงดูดให้คนรุ่นใหม่กลับบ้านมาช่วยกันพัฒนาธุรกิจ ผู้สูงอายุในเมืองก็ไม่เดียวดายเพราะลูกหลานกลับมา พะเยาก็จะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป”
ดรุณวรรณ คำเจริญ
ข้าราชการเกษียณ และผู้ก่อตั้งแบรนด์ ‘ทัพพีเงิน’
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…