ทิศทางการท่องเที่ยว ก็อยากให้คนเข้ามาเยอะๆ มาสัมผัสวัฒนธรรมของพวกเรา เรื่องยาเสพติดก็ลดลงเพราะคนมีอาชีพ พวกที่เคยติดยาก็มาทำวินมอเตอร์ไซค์เยอะ ทุกคนมีงานทำ ไม่ตกงาน ไม่เครียด

“เป็นครูมา 28 ปี เกษียณอายุก่อน แล้วมาทำร้านที่บ้าน เมื่อก่อนขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ มีเครื่องดื่มพวกนมสด โกโก้ โอวัลติน ขนมปังปิ้งต่างๆ พิซซาเบคอน พอเปิดซักระยะก็มาขายเต็มตัว หยุดเฉพาะวันอังคาร นอกจากมีจอง 6-10 คนขึ้นไปถึงจะเปิดให้พิเศษ เพิ่มรายการอาหารมากขึ้น พวกขนมจีน สเต็ก พาสตาคาร์โบนารา เต็มที่เลย เดี๋ยวนี้คนงงว่าทำไมร้านชื่อเฮโลนมสด

เมนูซิกเนเจอร์คือขนมจีนแกงไก่คั่วเป็นสูตรของเราเอง มาจากเชื้อสายโปรตุเกส เราไม่ได้เป็นโปรตุเกส 100% เป็นลูกผสม โปรตุเกส ไทย จีน แม่ยายเป็นจีน พ่อเป็นโปรตุเกสแท้ๆ มาจากโปรตุเกส ก็เป็นอาหารสมัยก่อนที่นิยมทำกันในช่วงวันคริสต์มาส ปีใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานสำคัญต่างๆ มาปรับเปลี่ยนสูตรตามแต่ละบ้าน สมัยก่อนจริงๆ เป็นเส้นพาสตา มีซอสไวน์ขาว ไปทางฝรั่งเลย เรามาประยุกต์ให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน คือเป็นเส้นขนมจีน แกงกะทิไทยๆ ทำเครื่องปรุง พริก เป็นสูตรของเราเอง เอกลักษณ์ของแกงคือไม่เผ็ด เห็นพริกเยอะดูเหมือนเผ็ด แต่เด็กกินได้เลย พริกชี้ฟ้าเหลืองไทยๆ นี่แหละเอามาผสมผสานกันให้ลงตัว รสชาติกลมกล่อม เรียกว่าโอทอป หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ที่อื่นไม่มี

ร้านเราเปิดมานานก่อนการท่องเที่ยวจะเข้ามา เมื่อก่อนแม่ (เสริมศรี บุญเต็ม-ยายตี้) ตั้งโต๊ะขายขนมจีนข้างนอกก่อนมาเปิดร้านทีหลัง ขายเนื้อซัลโม สตูลิ้นวัว เดี๋ยวนี้ทำไม่ไหวแล้ว มันยุ่งยาก เราก็ไม่ไหว ก็ขายอันที่เราถนัด ตักง่ายที่สุด เร็วด้วย คนเริ่มติดกันแล้วไง ร้านตรงนี้ก็คือบ้านที่อยู่อาศัยเลย คุณลุงทิ้งมรดกไว้ให้ลูกหลานดูแลสืบทอดกันไป เมื่อก่อนเป็นบ้านไม้ ช่วงกบฏแมนฮัตตัน (ปฏิบัติการล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494) ที่บ้านก็มีกระสุนปืนรูเบ้อเริ่ม ก็ต้องรื้อหมด ของเราก็อยู่ที่นี่มานานตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณตาคุณยายอพยพกันมาจากเมืองจันท์ ตอนเสียกรุงศรีอยุธยา ได้ชาวโปรตุเกสไปกอบกู้ช่วยพระเจ้าตากรบ เพราะเขาเก่งด้านปืน ก็ได้ชัยชนะกลับมา ท่านก็พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้กับพวกที่อพยพมาจากกรุงศรีฯ ก็มาอยู่กันตรงนี้ เราอยู่ที่นี่ก็สบาย ชินแล้ว รู้จักกันหมดทั่วหมู่บ้าน อบอุ่นดี ไม่ต้องไปกลัวเปลี่ยว ไม่น่ากลัวด้วย ฝากบ้านกับคนข้างบ้านได้ เมื่อก่อนตรงนี้อยู่กันธรรมดา เฉพาะชาวบ้าน ตกเย็นออกมาคุยเห็นหน้าทักทายกัน ไม่มีใครเข้ามาเที่ยว ระยะหลังออกสื่อเยอะ นักท่องเที่ยวมากขึ้น ชาวต่างชาติมากขึ้น ก็ปากต่อปาก มีอะไรให้ดูมากมาย มีบ้าน พิพิธภัณฑ์เพิ่มขึ้น โลกภายนอกเข้ามาดู กลายเป็นสู่โลกกว้าง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เราเป็นร้านอาหารเครื่องดื่มก็ส่งผลดีกับเรา ร้านเราเป็นร้านแรกที่เปิดขายเป็นร้าน ร้านข้างในก็งอกขึ้นมาๆ เขาเห็นเราเริ่มมีลูกค้า เริ่มมีคนเข้ามาเที่ยว นักท่องเที่ยวเริ่มผ่านบ้านมากขึ้น เขาก็คิดละ ก็เปิดมาทีละร้านสองร้าน โควิดก็มีร้านปิดไปบ้าง ตอนนี้ก็มีร้านอื่นงอกขึ้นมา มีอาชีพเพิ่มขึ้นมา

ทิศทางการท่องเที่ยว ก็อยากให้คนเข้ามาเยอะๆ มาสัมผัสวัฒนธรรมของพวกเรา พิธีกรรมทางศาสนาด้วย อยากให้เข้ามาร่วมมาดูว่าแต่ละศาสนาเขาทำยังไง เข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของย่าน อาจารย์ก็พานักเรียนนักศึกษามาเรียนรู้ ขออนุญาตทางวัดซางตาครู้สเข้าไปดูโบสถ์ คุณพ่อก็ออกมาเทศน์ ก็ได้เรียนรู้ของศาสนาอื่นด้วย คนเข้ามาเยอะๆ ชุมชนไม่เปลี่ยนมาก ความสะอาดเหมือนเดิม ดูเจริญขึ้น ไม่เปลี่ยว เมื่อก่อนปัญหาเยอะ ยาเสพติด ขโมยขโจร เรื่องยาเสพติดก็ลดลงเพราะคนมีอาชีพ เดิมไม่มีวินมอเตอร์ไซค์ มีรถตุ๊กตุ๊ก พวกที่เคยติดยาก็มาทำวินมอเตอร์ไซค์เยอะ ทุกคนมีงานทำ ไม่ตกงาน ไม่เครียด และอยู่ในชุมชน เด็กรุ่นหลานก็อยู่ในความดูแลควบคุมของผู้ปกครอง การท่องเที่ยวทำให้คนมีรายได้มากขึ้น พวกติดยาก็ไม่ค่อยมีละเพราะเด็กได้รับการศึกษากันหมด ฐานะดีขึ้น ใครมีปัญหาก็ไปขอความช่วยเหลือจากวัด คุณพ่อก็ช่วย มีบ้านให้อยู่ มีของให้กิน คนยื่นมือไปช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”

นุศรา โกณานนท์
ร้านเฮโลนมสด ขนมจีนแกงไก่คั่ว

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago