ที่คนแก่ส่งสติ๊กเกอร์ไลน์หากันก็เพราะคิดถึงเพื่อน คิดถึงลูกหลาน บางครั้งหลายคนอาจลืมไปว่าคนชราก็ต้องการเพื่อน ต้องการเข้าสังคมเหมือนคนวัยอื่นๆ

“ที่คนแก่ชอบส่งสติ๊กเกอร์ไลน์หากัน ก็เพราะคิดถึงเพื่อน คิดถึงลูกหลาน บางครั้งหลายคนอาจลืมไปว่าคนชราก็ต้องการเพื่อน ต้องการเข้าสังคมเหมือนคนวัยอื่นๆ

ถ้าไปดูสัดส่วนของสถิติประชากรในเขตเทศบาลเมืองพะเยา เรามีคนสูงวัยเกินกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด แต่ในขณะที่คนวัยอื่นๆ มีพื้นที่ให้ได้พบปะ หรือมีกิจกรรมให้ได้ทำร่วมกัน ในขณะที่พื้นที่ของผู้สูงอายุ พะเยากลับมีน้อย และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็ได้แต่อยู่บ้าน ซึ่งก็ส่งผลให้พวกเขาเกิดอาการซึมเศร้า หรือพอไม่มีพื้นที่ได้ผ่อนคลาย ก็อาจทำให้ง่ายต่อการเจ็บป่วย ไม่นับรวมบางคนที่ต้องป่วยติดเตียงอยู่บ้านอีกไม่น้อย

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ เป็นพื้นที่ที่เทศบาลเมืองพะเยาตั้งขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมของผู้สูงอายุในเมือง โดยก่อนโควิด-19 เรามีสมาชิกที่อาศัยอยู่ใน 15 ชุมชนของเขตเทศบาลมากถึง 200 กว่าคน ก็ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาร่วมกิจกรรม ทั้งการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค รำวงมาตรฐานและรำวงประยุกต์ เล่นอังกะลุง ไปจนถึงรำไทเก็ก หรือการฝึกทักษะทางหัตถกรรม อย่างไรก็ตาม พอโควิด-19 มา พื้นที่นี้ก็ต้องหยุดทำการไปพักใหญ่ และเทศบาลก็จำต้องนำงบประมาณไปแก้วิกฤตเร่งด่วนของเมือง การดำเนินการของพื้นที่จึงชะงักไปพอสมควร


ดีที่ปี 2563 ที่ทางมหาวิทยาลัยพะเยาเริ่มดำเนินโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และทางโครงการมองเห็นว่า การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้เข้าสังคมและคลายความเครียด ก็เลยมาสนับสนุนงบประมาณและเปิดคอร์สพัฒนาทักษะอาชีพ จากนั้นป้าก็ใช้กลุ่มไลน์ที่คุยกับเพื่อนผู้สูงอายุที่เคยมาร่วมกิจกรรมในพื้นที่นี้อยู่แล้ว ให้ทุกคนโหวตกันว่าอยากเรียนอะไร แล้วทางมหาวิทยาลัยพะเยาจะหาผู้เชี่ยวชาญมาสอนเราให้


จึงมีกิจกรรมหลากหลายเกิดขึ้น อาทิ เรียนทำตะกร้าเดคูพาจ หมอนพิงปักผ้าด้นมือ พวงกุญแจด้นมือ และสบู่สมุนไพร ที่เป็นแบบนี้เพราะส่วนใหญ่เราทำกันเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักร มาทำพร้อมกันที่นี่ หรือพอเรียนรู้จนเป็นแล้ว ก็สามารถนำกลับไปทำที่บ้านของตัวเองได้

จริงอยู่ที่โควิดทำให้เพื่อนสมาชิกหลายคนไม่กล้ามาร่วมงาน แต่กิจกรรมก็ช่วยฟื้นฟูชีวิตชีวาพื้นที่ของเราได้ไม่น้อย โดยเราจะจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ 15-20 คน มาเจอกันที่นี่ทุกวันอังคาร เรียนรู้จนเป็น และใครอยากเรียนอย่างอื่น ก็รวมตัวกันมาใหม่

ส่วนผลงานที่เราทำ ทางเทศบาลก็รับไปช่วยจำหน่ายในตลาดสินค้า OTOP ตรงริมกว๊านพะเยา ในนามของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ‘สานใจฮัก’ ขายได้เขาก็แบ่งเปอร์เซ็นต์ให้ คนแก่ก็มีรายได้เสริม แต่ส่วนใหญ่พวกเราไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้หรอกค่ะ บางคนทำไว้ใช้เอง หรือแจกลูกหลาน คือคิดกันว่าขอแค่ได้มีอะไรให้ทำร่วมกัน มีพื้นที่ให้ได้คุยกัน เพราะทุกคนไม่อยากอยู่บ้านเหงาๆ หรือคิดว่าตัวเองเป็นภาระของลูกหลานหรอก

การได้มารวมกลุ่มกันตรงนี้ ก็เป็นเหมือนเป็นที่ที่ทำให้หลายคนพบว่าตัวเองยังมีคุณค่าต่อคนอื่นๆ อยู่ หลังจากได้เรียนกับโครงการแล้ว ก็นำทักษะที่เรียนหรือทักษะอื่นๆ มาสอนเพื่อนคนแก่ด้วยกันเพิ่มเติมอีก 

อย่างไรก็ตาม พวกตะกร้าเดคูพาจ หรือกระเป๋าผ้านี่ขายดีนะคะ คือทางเทศบาลกับทางโครงการเขาก็ช่วยหาตลาดให้ กลายเป็นว่าทุกวันนี้ทำตามออร์เดอร์กันไม่ทันแล้ว” (หัวเราะ) 

พิมพ์วิไล วงศ์เรือง
ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองพะเยา

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago