“ผมอยู่ชุมชนศุภสารรังสรรค์ คนหาดใหญ่จะจำชุมชนนี้ได้ในชื่อชุมชนเซี่ยงตึ๊ง เพราะอยู่ใกล้ศาลเจ้าท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่เป็นที่ตั้งของหนึ่งในกู้ภัยที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองหาดใหญ่ (มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี) โดยหลายคนก็เข้าใจว่าชุมชนนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของศาลเจ้า แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ พื้นที่ชุมชนเป็นของเทศบาลนครหาดใหญ่
ถนนศุภสารรังสรรค์ไม่เพียงเป็นถนนสายสำคัญที่ตัดผ่านกลางเมืองหาดใหญ่ แต่สวนหย่อมศุภสารรังสรรค์ที่เรานั่งอยู่นี้ ยังมีคลองเตยไหลผ่าน คลองแห่งนี้เป็นคลองระบายน้ำที่ตัดผ่านกลางเมืองหาดใหญ่ สมัยก่อนน้ำในคลองยังมีบางช่วงที่ใช้ได้ ชาวบ้านก็เอามาใช้รดน้ำต้นไม้ หรือที่ผมเคยทำแปลงเกษตร ก็ใช้เหมือนกัน แต่หลายปีหลังมานี้น้ำเน่าเสียจนใช้ไม่ได้แล้ว
ผมเป็นคนสิงหนคร ย้ายมาอยู่ชุมชนนี้ราวปี 2548 สมัย ดร.ไพร พัฒโน เป็นนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ มาอยู่สักพักก็ถูกชวนให้เป็นกรรมการชุมชน พอดีกับที่นายกไพร ให้งบประมาณมาปรับปรุงสวนหย่อมและพัฒนาพื้นที่ชุมชน พวกกรรมการก็หารือกันว่าน่าจะมีธุรกิจเล็กๆ ของชุมชนด้วย เลยทำร้านตัดผมตั้งอยู่ติดกับที่ทำการชุมชนในสวนหย่อม
จริงๆ ผมเป็นเกษตรกร ทุกวันนี้ก็ยังทำการเกษตรที่สิงหนครอยู่ ก่อนหน้านี้ผมมีโอกาสเรียนตัดผมมาจากวิทยาลัยสารพัดช่างก็เลยมีทักษะด้านนี้ เมื่อก่อนผมทำงานบริษัทเข้างาน 8 โมงเช้า เลิกงาน 4 โมงเย็น หลังเลิกงานผมก็รับจ็อบตัดผมหารายได้เสริม พอออกจากงานบริษัท ก็กลับมาทำการเกษตรที่สิงหนครเหมือนเดิม จนชุมชนเรามีร้านตัดผม ผมก็เลยได้กลับมาตัดผมอีก
คิดค่าตัดผมหัวละ 50 บาทครับ รายได้ก็เอาเข้าชุมชนนี่แหละ หรือคนในชุมชนหรือคนทั่วไปสนใจอยากให้ผมสอนตัดผมเพื่อประกอบอาชีพ ผมก็ยินดี ที่ผ่านมาก็มีคนมาขอให้สอนเรื่อยๆ นะ
นอกจากนี้ อย่างที่บอกว่าชุมชนเคยมีสวนผักคนเมืองอยู่หลังสวนหย่อมนี้ ผมปลูกเอง และแจกผักให้คนในชุมชนฟรีๆ ที่ให้ฟรีๆ เพราะตรงนี้เป็นที่ดินของชุมชน ผลผลิตที่ได้ก็ควรกลับให้คนในพื้นที่ แต่ทุกวันนี้หยุดชั่วคราว หลักๆ คือหาดินยากครับ อย่างที่เห็น หาดใหญ่มีแต่ตึก จะไปหาดินปลูกต้นไม้ได้ยังไง
ผมจึงอยากให้หาดใหญ่มีพื้นที่สีเขียวมากกว่านี้ครับ เรามีที่ว่างที่รกร้างไม่น้อย น่าจะทำสวนหย่อมให้คนในเมืองได้ใช้ และถ้ามีการพัฒนาคลองเตย ทำให้คลองบางช่วงกลับมามีน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ ก็น่าจะตอบโจทย์เรื่องการทำสวนในเมืองด้วย นอกจากนี้ ก็อยากให้ภาครัฐมาสนับสนุนเศรษฐกิจในเมืองหน่อยครับ จริงอยู่ช่วงนี้นักท่องเที่ยวมาเลเซียเข้ามาแล้ว แต่ผู้ประกอบการหลายรายก็แทบไม่มีรายได้ไปต่อยอดกิจการอะไร เพราะโดนโควิดเล่นงานอยู่หลายปี ถ้ารัฐเข้ามาช่วยตรงนี้ เศรษฐกิจหาดใหญ่ก็จะลืมตาอ้าปากได้มากขึ้น
ผมเป็นรองประธานชุมชนมาสองสมัย รู้สึกดีใจที่มีส่วนในการพัฒนาชุมชน ส่วนคำถามที่ว่าชอบอะไรในหาดใหญ่ คือนอกจากเป็นเมืองที่คึกคัก และรู้สึกเหมือนบ้าน ผมชอบอาหารที่นี่ มีให้เลือกไม่หวาดไหว ที่ชอบพิเศษสำหรับผมก็น่าจะก๋วยเตี๋ยวราดหน้าราโด้ ตรงถนนประชาธิปัตย์ อร่อยดีครับ ผัดไทยของเขาก็อร่อย”
จำนงค์ ยิ้มเจริญ
รองประธานชุมชนศุภสารรังสรรค์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…