“หลวงปู่ไต่ฮงกง ท่านเป็นพระ ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก เก็บศพไร้ญาติ สร้างถนนหนทางสะพาน จนสำเร็จเป็นพระที่ชาวจีนนับถือมาก องค์เดียวกับที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ศาลเจ้าไต่ฮงกงรังสิตอัญเชิญท่านมาประดิษฐาน รวมถึงเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์อย่างจี้กง เจ้าพ่อกวนอู เทพไท้ส่วยเอี๊ยที่มาแก้ปีชง หลวงพ่อโสธร คนก็มาไหว้เพราะศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าเมื่อก่อนเล็ก ๆ คนมีจิตศรัทธาบริจาคก็พัฒนาสร้างไปเรื่อย ๆ จนมาจดทะเบียนจากสมาคมเป็นมูลนิธิรวมใจรังสิตปทุมธานี (ไต่ฮงกงรังสิต) ช่วยเหลือคนในตำบล ไฟไหม้ น้ำท่วม มีอุทกภัย มีสิ่งของไปแจก คนมาบริจาคโลงศพ ข้าวสาร อาหารแห้ง เสาร์อาทิตย์มีโรงทาน ใครเข้ามาก็มาดื่มน้ำ กาแฟ กินก๋วยเตี๋ยว กินโจ๊ก คนในตลาดเอาผลไม้มาไหว้ก็วางไว้ให้แจก วนไปแบบนี้ ได้มาก็แจก วันเสาร์อาทิตย์ก็มีโรงเรียนสอนภาษาจีนกลางให้เด็กนักเรียน เด็กเห็นวัฒนธรรมจีนว่ามีอะไร ติดตัวเขาไปก็ดี ตอนนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาเยอะ มีคนสืบทอดต่อเนื่อง วัฒนธรรมก็ไม่หายไป แล้วปีนึงก็จัดหลายเทศกาล ปีใหม่ ตรุษจีน กินเจก็มีขบวนแห่ศาลเจ้าไปรอบตลาด งานทิ้งกระจาดก็ใหญ่ ไม่ต่ำกว่าห้าพันคนที่มา ให้คนเข้ามารับของแล้วก็วนออก ไม่มีแย่งกันรับ
ผมอยู่ในพื้นที่ ประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ชุมชน ผมไม่กลัวใคร ปากไวใจถึง แล้วได้ผู้ใหญ่ดีคนในเขตนับถือ เราตั้งใจทำเต็มที่ ก็เลยสนุกกับการทำงานสังคม เห็นปุ๊บก็ทำเลย ไฟดับริมทางก็ยกหูบอก ผ่านไปเห็นน้ำขึ้นที่ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ก็รีบโทรบอกเจ้าหน้าที่ เราไม่อยู่เฉย ในด้านเทศบาลนครรังสิต นายกตรีลุพธ์ก็เป็นคนรุ่นใหม่ ไฮเทค ดิจิทัล ผมว่าเขาโอเคนะ ให้โอกาสเขาพิสูจน์ตัวเอง ส่วนเฮียฮุย (ครรชิต อมรทิพย์รัตน์ ประธานมูลนิธิรวมใจรังสิตปทุมธานี) ก็หัวรุ่นใหม่พอสมควร ประธานทำ เราก็ลุย ทำแล้วมีความสุข สนุก มีเพื่อน มีทั้งเรื่องที่มองไม่เห็น แต่เราเจอบ่อย เช่น ได้ยินอากงมาพูด ท่านมาเตือน อย่างล่าสุดผมมาเปลี่ยนไฟ ก็ไปซื้อหลอดไฟโล่ง ๆ มาติด กะให้สว่าง ๆ แต่มันเหมือนสปอตไลต์ ไฟมันจ้า พอกลับบ้านไปนอน ได้ยินท่านบอก “อั๊วแสบตา” เราก็ไปเอาโคมมาครอบ ไฟก็ไม่จ้ามากละ
โรงทานที่ทำอยู่ตรงหน้าโรงเรียนสอนภาษาจีน เดิมทีก็ตั้งตู้ เอามาม่ามาใส่ เพิ่มกาแฟ ทำไปทำมาก็ดี กลางวันเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวดีกว่า เย็นเด็กไม่มีอะไรกิน โจ๊กดีกว่า ใครจะกินก็กิน เราเอาเงินจากที่คนมาทำบุญ ผู้ปกครองเห็น คนอื่นเห็น ก็มาขอเป็นเจ้าภาพ เรามีความสุขว่ารู้จักให้ก่อน อย่าไปคิดว่าได้อย่างเดียว คนที่เขารับไปบางทีเขามีศักยภาพ เขาอยากจะให้เหมือนเรานี่แหละ แต่เขาไม่รู้จะไปให้ที่ไหนที่มันให้แล้วรู้สึกมีความสุขด้วย อย่างนี้คนมา ดูสิ เด็กกิน ผู้ใหญ่กิน ยิ้มแย้ม อยากเป็นส่วนหนึ่งของการให้ ไม่ต้องเอาเงินมาอย่างเดียว มาร่วมตักร่วมแจกก็ได้ ช่วยกันคนละนิดคนละหน่อย พอรวมกันมันก็มาก อันดับแรกคือคุณกล้าให้ หรือคุณคิดว่า “น่าจะ” ให้ มันก็ไม่เกิด มองหน้ากัน อยากทำ ก็ทำ ไม่ไปคิดเล็กคิดน้อย อย่าไปคิดว่าคนนี้รวยแล้วมากิน ไม่มีเรื่องของรวยจน
ความทุกข์ของผมทุกวันนี้คือหิว ไม่มีกิน แต่พอกินอิ่มก็หายทุกข์ ความสุขที่ยั่งยืนคือสร้างใจให้ยอมรับทุกอย่าง ยิ้มได้แม้กระทั่งมีความทุกข์ อยู่อย่างพอดี ๆ มีเยอะก็ใช้ มีน้อยก็ประหยัด ซึ่งกว่าจะทำได้ก็ใช้เวลาหลายปีนะ ก่อนนี้มีตัวตนเยอะ ทิฐิเยอะ จมทุกข์กับคนที่มาด่าเรา จนวันหนึ่งรู้สึกเหนื่อยที่ไปเครียดกับเรื่องพวกนี้ แล้วมาเข้าใจเรื่องตัวกูของกู หลักธรรมอิทัปปัจจยตา บวชเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปัญญา วัดชลประทานฯ ได้ไปอยู่กับท่านพุทธทาส อยากทำอะไรต้องตั้งจิต ทุกอย่างอยู่ที่จิตที่แน่วแน่ เราถึงได้โล่ง แล้วมาถึงจุดที่ว่ามีความสุขกับการทำงานที่เป็นการกุศล การทำงานที่ไม่อิงกับผลประโยชน์ของใคร ได้เอาลมหายใจมาสร้างประโยชน์ แต่การเป็นจิตอาสาคือทำเสร็จแล้วสามารถดึงใจของคนเข้ามาอยู่กับเราได้ อยู่กับชุมชนได้ และพร้อมจะเดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ใช่จิตอาสาเพราะทำเพื่อเอาชนะ เพื่อยกตัวเองให้มีหน้าตา หากทำงานอาสาแต่ยึดตัวเองเป็นหลัก ไม่ฟังใคร กลายเป็นทำให้ชุมชนแตกแยก นี่คือข้อเสียของการเป็นจิตอาสาที่หลายคนลืม อันนี้อันตรายที่สุดเพราะผมเคยผ่านมาแล้ว บางเรื่องมันเลวร้ายลง แม้กระทั่งสถานที่ที่คนเคารพนับถือก็ทำให้มันจาง ถึงเราจะชนะแต่มันเกิดความพ่ายแพ้ทั้งชุมชน ทุกคนที่มาช่วยกันที่ศาลเจ้าก็เหนื่อยแต่มีความสุขนะ ไปอยู่ที่อื่นไม่มีคุณค่า มาอยู่ที่นี่ รู้สึกตัวเองมีคุณค่าโดยที่ไม่ต้องมีใครมาชม มันเป็นศรัทธาที่ต้องลงมือทำ”
สุนทร โชคธนอนันต์
ศิษย์อากง มูลนิธิรวมใจรังสิตปทุมธานี (ไต่ฮงกงรังสิต)
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…