ธุรกิจดิลิเวอรีในโซนปทุมธานีการแข่งขันสูงมากเป็นอันดับต้นๆ คนบอกช่วงโควิดแย่ๆ แต่ร้านเราบางทีตี 2 ตี 3 ร้านปิดแล้วยังมีออเดอร์มาขอให้ทำให้หน่อย เราก็ทำ

“ผมชอบทำอาหารกินเองมาตั้งแต่เด็ก มีเวลาว่างก็ศึกษาทางยูทูบ ดูรายการแข่งทำอาหารในเน็ตฟลิกซ์ เมนูที่ชอบทำก็กะเพราไข่ดาว อร่อยสุดแล้ว ง่าย ๆ นี่แหละ เคล็ดลับผมคือกินที่ไหนอร่อยจะจำรสชาตินั้นมาทำ กะเพรามันทำได้หลายรสชาตินะครับ พอเราไปกินบางทีมันขึ้นมาในหัวเลย รู้ว่าตรงนี้เขาใส่อะไรเยอะอะไรน้อย จำรสชาติมาแล้วก็ปรับ นึกอยากกินรสนั้นเราก็ทำ แต่ก่อนเราทำด้วยความสนุก แต่พอมาทำขายเราต้องทำรสชาติให้เสถียร

ตอนแรกเปิดร้านคาเฟ่อยู่ในโรงเรียนบ้านวังทอง ความรู้เรื่องทำร้านเป็นศูนย์แต่เราก็ลองดู ขายเครื่องดื่มอย่างเดียว เพราะเขามีร้านอาหารอยู่แล้ว ตอนหลังเพิ่มขายอาหารนิดหน่อยก็เห็นว่าเราพอทำได้ ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นช่างเขียนแบบด้วย ภรรยาลาออกจากงานมาเลี้ยงลูก พอลูกเริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล เลยคิดทำธุรกิจเป็นของตัวเอง ภรรยาไปเรียนชงกาแฟ มาลองทำก็ชอบ พอคาเฟ่หมดสัญญาเลยหาที่ใหม่ มาได้บ้านเช่าในหมู่บ้านวังทองธานี เราอยากต่อยอดธุรกิจร้าน ขายเครื่องดื่มแล้ว อยากมีอาหารด้วย อยากมีเบเกอรีด้วย ก็ฟอร์มทีมกันขึ้นมา ผมลาออกจากงานมาเป็นพ่อครัวเต็มตัว ภรรยาทำเครื่องดื่มอยู่หน้าร้าน น้องสาวภรรยาทำเบเกอรี ช่วยผมทำออเดอร์ในครัวหรือหน้าร้าน เหมือนเป็นผู้เล่นซัพพอร์ต ก็ทำกันเองในครอบครัว พูดคุยกันง่าย ถ้าเราจ้างคนทำงานก็มีค่าใช้จ่าย ไหนจะคนทำงานอยู่ไม่ทน เดี๋ยวลาออก ตัวผมก็ไปหาความรู้เพิ่มเติม ไปเรียนทำพิซซ่ากับเพื่อน แล้วก็เอามาปรับเป็นสูตรเรา เมนูในร้านก็มีตั้งแต่สเต็ก สปาเกตตี เบอร์เกอร์ มีพวกอาหารตามสั่งด้วยเพราะมีลูกค้าในหมู่บ้านและพื้นที่รอบ ๆ สั่งทุกวัน บางคนสั่งซ้ำติดกันหลายมื้อ เราก็ดีใจว่ารสชาติคงใช้ได้ล่ะ เบเกอรีก็เช่นบราวนี ชีสเค้ก บานอฟฟี พานาคอตตา รสชาติดี ไม่หวานเกินไป ราคาก็ไม่แตกต่างชิ้นละ 35-40 บาทแต่ปริมาณอาจจะเล็กกว่าเขาหน่อยเพราะเราเลือกใช้วัตถุดิบดี

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนทำงาน ทำเลร้านอยู่ในถนนที่ทะลุไปได้หลายทาง ตัวร้านอยู่สุดซอยในหมู่บ้าน มีที่พอจอดรถได้ อยู่ติดกับสวนของหมู่บ้าน ตอนเย็นมีคนมาออกกำลังก็ได้ลูกค้าบ้าง และที่หลัก ๆ คือสั่งออนไลน์ ส่วนใหญ่อยู่คอนโดโซนเมืองเอก พหลโยธิน ดอนเมือง ธุรกิจดิลิเวอรีในโซนปทุมธานีการแข่งขันสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ คนบอกช่วงโควิดแย่ ๆ แต่ร้านเราออเดอร์ดีมาก บางทีตี 2 ตี 3 ร้านปิดแล้วยังมีออเดอร์มาขอให้ทำให้หน่อย เราก็ทำ ขายได้ก็ขายตักตวงไว้ก่อน บางวันข้าวเช้าได้กินตอนเย็น นี่ก็เริ่มคิดละว่าต้องมีวันหยุดแล้วนะ แต่ก็เพราะด้วยสถานการณ์ ด้วยเทรนด์ของการใช้ชีวิตคนที่พึ่งพาความสะดวกของดิลิเวอรี ทำให้ร้านเราอยู่รอด ถ้าไม่มีออเดอร์ออนไลน์คืออยู่ไม่ได้

จริง ๆ บ้านผมก็อยู่ใกล้ ๆ แต่มาเช่าบ้านทำร้านนี้เพราะอยากได้พื้นที่กว้างไว้ปลูกต้นไม้ด้วย คือเราอยากใช้วัตถุดิบที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงมาเสิร์ฟลูกค้า และตามแนวคิด Zero Waste ใช้ทุกอย่างให้คุ้มค่า พยายามไม่ซื้อแต่นำของเหลือกลับมาใช้ให้ได้มากที่สุด เช่น เอากากกาแฟที่ใช้ในร้านมาผสมเป็นปุ๋ยสูตรฉีดไล่แมลง แมลงก็หายไปแต่สักพักมาใหม่เราก็ปรับสูตรใหม่ เศษอาหารเหลือก็เอามาผสมให้ไส้เดือนทำเป็นปุ๋ยหมักได้ ตอนนี้ก็ขยายผักสวนครัว พวกกะเพรา ใบมะกรูด กะว่าเลี้ยงให้พอขาย นี่เพิ่งเริ่มทำก็ยังไม่ถึงกับพอใช้ขายได้ทั้งหมด แต่พืชสวนครัวนี่แค่ตัดกิ่งก็รองอกใหม่มาใช้ได้ ผมปลูกผักสลัดไว้ล็อตนึง แต่พอเราตัดมาแล้วมันไม่แตกยอดใหม่ ต้องเริ่มลงเมล็ดปลูกรอบใหม่ทั้งหมด แล้วต้องใช้สารอาหารเยอะ ต้องปรุงดินใหม่ ต้องกาวันเปลี่ยนกระถาง พอล็อตนี้เริ่มขึ้น ต้องพักกล้าล็อตต่อไป ยิ่งถ้าไม่ใช้ยาฆ่าแมลงก็ต้องดูแลเยอะ เช้าตื่นมาดูหนอน กลางคืนก็ต้องมาไล่ดู ซึ่งผมยังมีเวลาไม่พอ ก็คิดว่าถ้ายอดสั่งดิลิเวอรีลดลง ก็อาจมาทำสวนได้มากขึ้น

ร้าน Black bunnies house เปิดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 ผมลาออกจากงานเดือนตุลาคม ปี 2564 ก็ถือว่าอยู่ในช่วงลองของ แต่ที่ทำมาก็รู้สึกว่าไปต่อได้ ขณะเดียวกันก็ต้องรู้ตัวตลอด ถ้าไม่ไหวจะปรับตัวยังไง ? พยายามคิดล่วงหน้า สิ่งที่คิดว่าจะไปต่อ ก็อย่างทำสวนครัว อยากขายต้นไม้ด้วย เพราะชอบปลูก ชอบเพาะขยายพันธุ์ต้นไม้ ต้นทุนไม่มาก แต่ลงทุนเวลาเยอะ การขยายพันธุ์คือดอกเบี้ยที่ได้ ไม่ขาดทุน การทำธุรกิจส่วนตัวต้องคิดเยอะกว่าทำงานบริษัทที่รอครบเดือนแล้วได้ตังค์ อยู่ที่ความพยายามของเรา ถ้าขยันน้อยก็ได้น้อย ทำเยอะได้เยอะ ผมมาทำไม่ถึงปี เหนื่อย แต่สนุก เพราะได้ทำสิ่งที่เราชอบ”

พงศกร เสนาวุฒิ

ผู้ประกอบการร้าน Black bunnies house

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago