“ผมทำไร่มาตลอด ย้ายมาทำไร่ธารเกษมที่ปากช่องเมื่อปี 2505 เป็นไร่ร้างที่เขาปลูกละหุ่งเอามาทำน้ำมัน ก็ถางพวกต้นละหุ่งออก หลังจากนั้นเราก็ปลูกข้าวโพด ปลูกถั่ว ปลูกงา ชาวบ้านปลูกอะไรก็ปลูกตามเขา อะไรขายได้ก็ปลูก มาถึงระยะหนึ่ง ผมมองเรื่องความอยู่รอด มีรายได้ที่มั่นคงหน่อย เพราะล้มมาเยอะ ปลูกได้เยอะ ราคาตก ปลูกได้น้อย ก็มีของน้อย จนมาเลี้ยงวัวนมนี่แหละที่สร้างรากฐานชีวิตได้
ตอนนั้นทางมวกเหล็กเริ่มทำฟาร์มโคนมแล้ว (ฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ค อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 ในปี 2514 จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชื่อ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)) วันหนึ่งผมโบกรถไปกรุงเทพฯ รถคันนั้นเป็นรถของชาวเดนมาร์ก เขาก็เล่าว่า ตอนในหลวง (รัชกาลที่ 9) ไปเยือนเดนมาร์กนั้น ท่านบอกคนเดนมาร์กเลี้ยงวัวเก่ง ท่านอยากให้ชาวเดนมาร์กช่วยสอนคนไทยเลี้ยงวัวด้วย เพราะคนไทยตามปกติไม่ดื่มนม นี่คำเล่าของชาวเดนมาร์กนะ ผมว่าเรื่องจริง นมเป็นอาหารที่คุณค่าสูง ในฐานะเป็นประเทศเกษตรกรรม คนไทยควรใช้ประโยชน์จากไร่จากสวน เลี้ยงวัวแล้วคนก็ดื่มนมไปด้วย เมื่อพวกเดนมาร์กมาช่วยเลี้ยงวัว นอกจากวางโครงสร้างบริหารจัดการแล้ว ตอนแรกเขาเปิดนิคมสร้างตนเองที่มวกเหล็ก อบรมเด็กหลายรุ่น จบแล้วก็ให้วัว ทำฟาร์มให้ ทำโรงเรือนให้ ส่วนมากก็ไม่ยึดถือเป็นอาชีพ ได้วัวไปก็ขายให้พรรคพวกเดียวกันนี้แหละ
ความประสงค์ของชาวเดนมาร์กก็อยากให้งานนี้ตกเป็นของฝ่ายประชาชนเป็นผู้รับผลประโยชน์ แต่เนื่องจากระบบราชการของไทย ราชการกับชาวบ้านอยู่ห่างกัน คนละสถานะ พวกที่ออกมาช่วยเหลือชาวบ้าน ก่อนที่คิดจะช่วยชาวบ้านก็ช่วยตัวเองก่อน แต่เขาอยากติดต่อกับชาวบ้านจริงๆ ผมอาสาว่า ผมนี้แหละชาวบ้าน หลังจากนั้นทางมวกเหล็กก็มาออกแบบทำโรงเรือนรีดนมวัวให้ ครั้งแรกที่ทำคิดว่าอากาศร้อน ควรจะตั้งบนที่สูง ที่ลมโกรกหน่อย เพื่อสุขลักษณะ เขาก็บอกอากาศที่นี่เย็นพอ เหมาะสมที่จะเลี้ยงวัวนมเป็นอย่างยิ่ง ฟาร์มโคนมผมเป็นฟาร์มต้นแบบหมายเลข 1 และร่วมกับนายด่าน สุวรรณศรีจัดตั้งสหกรณ์โคนมปากช่อง (ในปี พ.ศ. 2527) ผมเป็นสมาชิกหมายเลข 1
ผมเริ่มจากวัวนม 10 ตัว ก็อยู่ได้ คุ้มทุน ขายให้ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค เราตั้งราคาได้เอง ผมรีดนมได้วันละ 20 ลิตร ขับรถไปส่งนมดิบที่มวกเหล็ก 20 ลิตรถือว่าไม่เยอะ ไม่คุ้มค่าน้ำมัน ตอนหลังมีรายได้มั่นคงขึ้น ก็เลี้ยงเยอะขึ้นให้ได้น้ำนมคุ้มกับค่าน้ำมัน เลี้ยงจนสุดท้ายประมาณ 60 ตัว ลูกเรียนจบ ดูแลตัวเองได้ ผมก็ปลดระวางตัวเองประมาณปี 2539-40 ความรู้สึกของตัวเองคืออาชีพเลี้ยงวัวนมมีความมั่นคงพอ ผมไม่เข้าใจเท่าไหร่ ทำไมคนไทยถึงไม่สามารถเป็นสมาชิกที่ดีของสหกรณ์ได้ ผมเองอยู่กับรูปแบบการบริหารที่เป็นสหกรณ์น่าจะเหมาะสมกับคนไทย แต่คนไทยก็ถือว่าเป็นอิสระชน ไม่อยากอยู่ภายใต้อาณัติการบริหารของคนอื่น
รายได้ชาวไร่ชาวสวนขึ้นอยู่กับพ่อค้าในตลาด ระบบอุปถัมภ์ ชาวนาก็พึ่งคนในตลาดมาก พ่อค้าเกื้อหนุน ก็ยากที่ชาวบ้านจะตั้งตัวเองได้ ผมอยู่กับเพื่อนที่ทำไร่ทำสวน สามารถพูดให้เข้าใจและชักชวนได้ การที่ผมมาทำโคนม เริ่มมีทรัพย์สินขึ้นมาทันที อย่างน้อยก็มีแม่วัว ครอบครัวละ 1 ตัว สามารถตั้งหลักตั้งฐานได้ มีรายได้ประจำ มีวัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัวได้ ชาวบ้านเขาก็ดูว่า คุณคำสิงห์แกเลี้ยงวัวได้มีสถานะ การที่จะทำให้คนเห็นความสำคัญ ก็อยู่ที่ว่า ถ้าเราพิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเรามีรายได้ประจำจากการขายนม คนก็ทำตาม จากฟาร์มแรก เดี๋ยวนี้มีนับเป็นพันๆ ไร่ก็เป็นเขตเลี้ยงวัวนมเป็นเรื่องเป็นราว
เกษตรกรทั้งหลายไม่มีอาชีพใดที่ไม่หนัก งานที่ใช้แรงก็ถือเป็นงานหนัก การรีดนมวัวคือรีดทุกวัน วันละสองรอบเช้าเย็น เราไม่สามารถไม่รีดนมวัวได้ วัวไม่อั้นนมไว้ ถ้าไม่รีดนม วัวจะป่วย นมคัด อาชีพเลี้ยงวัวนมนี้ความสะอาดเป็นตัวนำ ความสะอาดส่งผลถึงผู้บริโภค ถ้าเราได้รับคำติเตียนว่านมไม่สะอาด ก็สร้างตลาดยาก ตอนที่ทำใหม่ๆ พวกเดนมาร์กมีหมอประจำมาดูแล ผมก็บอกเขาตรงๆ ว่าผมจะทำตามคำแนะนำ สิ่งที่ผมต้องการคือคำแนะนำ เพราะมันเป็นอาชีพใหม่ เราก็ให้ความสำคัญกับความสะอาด มีชาวบ้านบางคนพอรีดนมได้แล้วก็แอบเติมน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณ ทำให้คุณภาพนมไม่ดี เขาไม่รู้ว่านั่นคือการทำลายอาชีพของเขาเอง”
คำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช 2535
สมาชิกสหกรณ์โคนมปากช่อง หมายเลข 1
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…