“สถานีรถไฟลำปางสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2458 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของเมืองในอดีต เพราะในยุคสมัยนั้นลำปางมีธนาคารแห่งชาติ มีสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ธุรกิจอะไรต่างๆ ก็มาเปิดกันที่นี่ โดยมีสถานีรถไฟแห่งนี้เหมือนเป็นประตูเชื่อม เพราะนอกจากการขนส่งผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ รถไฟยังใช้ขนสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ พืชผักผลไม้ ยาสูบ ไปจนถึงเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรจากกรุงเทพฯ ส่งมายังธนาคารแห่งชาติที่อยู่ใกล้ๆ ทหารก็ใช้รถไฟขนยุทโธปกรณ์ กระทั่งรถถังก็ยังเคยขึ้นรถไฟมาแล้ว
นอกจากในเชิงประวัติศาสตร์ ความที่สถานีรถไฟมันถูกสร้างพร้อมกับราง และรอดพ้นจากสงครามโลกมาได้ อาคารสถานีรถไฟแห่งนี้จึงกลายเป็นมรดกชิ้นสำคัญของเมือง คือถ้าดูสถานีรถไฟประจำจังหวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่เป็นแค่สถานีที่ให้ผู้โดยสารมาขึ้นรถเท่านั้น แต่กับที่ลำปาง ที่นี่รวมเข้ากับแลนด์มาร์คของเมือง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนจะแวะมาถ่ายรูปด้วยตัวของมันเองด้วย
ผมประจำการที่สถานีรถไฟลำปางมาได้ 10 ปีแล้ว ก็ดูแลภาพรวมของสถานี ทั้งรอบการเดินรถไฟ สิ่งอำนวยความสะดวก ความสวยงาม ความสะอาด และการจัดการเอกสาร หลายคนอาจไม่รู้ที่การรถไฟส่วนกลางเขาจะมีการประกวดสถานีรถไฟดีเด่น โดยจะมีกรรมการมาตรวจสอบสิ่งเหล่านี้เพื่อประเมินและแข่งขันกันในระดับต่างๆ อย่างสถานีลำปางจะเป็นสถานีชั้น 1 ร่วมกับสถานีลำพูน สถานีเด่นชัย หรือเชียงใหม่ ผมก็พยายามจะทำให้สถานีเราได้คะแนนอันดับต้นๆ ตลอด เพราะต้นทุนของเราสวยอยู่แล้ว
ในส่วนของภาพรวม นอกจากการรถไฟจะมีการเปลี่ยนรถไฟขบวนใหม่มาใช้ โดยพยายามเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดให้ได้ในระยะเวลาอันใกล้ ลำปางเราเองก็มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของสะพานดำ (สะพานรถไฟที่พาดเชื่อมจากสถานีลำปางไปยังสถานีบ่อแฮ้ว – ผู้เรียบเรียง) ซึ่งตอนนี้กำลังเข้าสู่เฟสที่ 2 สะพานดำแห่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คทางประวัติศาสตร์สำคัญของเมือง โดยสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และก็รอดพ้นจากสงครามมาได้พร้อมกับอาคารสถานี
นอกจากบทบาทด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว ด้วยทำเลที่เป็นหนึ่งในศูนย์กลางของเมือง สถานีรถไฟลำปางยังเชื่อมโยงกับเมืองในด้านสังคมด้วย อย่างลานด้านหน้าสถานียังใช้จัดกิจกรรมอีกหลากหลายทั้งงานรถไฟและรถม้าลำปางที่เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟโดยตรง งานแห่พระในช่วงสงกรานต์ ไปจนถึงงานกีฬาสีของโรงเรียน ก็จะใช้ที่นี่ตั้งขบวนพาเหรดเพื่อเดินไปยังหอนาฬิกา ในฐานะนายสถานี ผมก็เลยพยายามปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นหน้าเป็นตาของเมืองอยู่เสมอ
และเพราะเรารู้ว่าพื้นที่เรามีความสำคัญขนาดนี้ สิ่งที่ผมอยากฝาก คือให้คนลำปางเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองให้มากกว่านี้ครับ คุณลองไปถามนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาลำปาง นี่เขารู้หมดเลยนะว่าอาคารสถานีรถไฟสำคัญยังไง รถม้าเริ่มมาตอนไหน กำแพงเมืองประตูม้า หออะม็อก หรือวัดต่างๆ เขาศึกษามาก่อนเลยอยากมาดูของจริง แต่ถ้าถามคนท้องถิ่น เด็กรุ่นใหม่กลับรู้เรื่องพวกนี้น้อยมากเลย ทั้งที่เห็นอยู่ทุกวัน จึงคิดว่าน่าเสียดาย ถ้าพวกเขาไม่สนใจเรื่องนี้”
คะนอง ฤทธิ์มหันต์
นายสถานีรถไฟลำปาง
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…