นายกฯ แต่ละที่ก็นโยบายไม่เหมือนกัน ความต้องการของประชาชนก็ไม่เหมือนกัน

“เทศบาลเมืองบึงยี่โถมีศูนย์กีฬาเทศบาลที่คลอง 4 อยู่แล้ว เป็นโรงยิม ที่ออกกำลังกาย ศูนย์แบดมินตัน สเกตบอร์ด สนามฟุตซอล สวนเฉลิมพระเกียรติ คนก็มาตีแบต เดินเล่น เล่นสเกตบอร์ดทุกวันอยู่แล้ว แต่พอช่วงโควิดนี่ปิดเลย นายกฯ(รังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศบาลเมืองบึงยี่โถ) ก็จัดให้เป็นพื้นที่คัดกรองฉีดวัคซีน แล้วก็ข้ามไปฉีดวัคซีนอีกฝั่งถนนที่ศูนย์การแพทย์บึงยี่โถ ตอนแรกฉีดวันละพันคน ก็เพิ่มขึ้น ๆ เป็นสี่พัน ที่จอดรถไม่ค่อยมี เราก็เลยมาขีดเส้นตรงสนามฟุตซอลให้จอดรถ

ทีนี้ทางราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) มาออกแบบพัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้ แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มตามพื้นที่ของศูนย์กีฬาที่มีสองส่วน คั่นด้วยอาคารอเนกประสงค์ สนามกีฬาสวนเฉลิมพระเกียรติหนึ่งกลุ่ม อีกกลุ่มก็ออกแบบโซนสวนเป็นสวนสมุนไพร อาจารย์นักศึกษาก็ถามตัวแทนประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ว่าเขาต้องการอะไร ? บางคนบอกต้องการลานขายของโอทอปวันเสาร์อาทิตย์ ลานกีฬาออกกำลังกาย เต้นแอโรบิก ที่ปลูกสมุนไพร ก็ให้นักศึกษาออกแบบมาเป็นแปลน ทางนายกฯ ก็พอใจนะ ส่วนกองช่างเราดูแบบ ดูโครงสร้างให้ถูกระเบียบ จุดประสงค์ก็ช่วยกันดู ต้องปรับแบบไปเรื่อย ๆ ตามโจทย์ที่ให้ไปคือการใช้งาน ทำไปแล้วใครจะเข้ามาใช้ ? ใช้เพื่ออะไร ? ที่จอดรถพอมั้ย ? ตอนนี้มีสวนอยู่ มีแท่นเหรียญรัชกาลที่ 9 อยู่กลางน้ำพุ ถ้ามองท็อปวิวจะเห็นลานน้ำพุโค้งเป็นเลข ๙ นะ ด้านหลังเป็นคลอง 4 แต่คนไม่ค่อยเข้ามาใช้ คนอยู่แต่ฝั่งสนามกีฬา จะดึงคนเข้ามาถึงสวนสมุนไพรยังไง ? ก็จะออกแบบให้มีทางเชื่อม ไม่งั้นทำเสร็จแล้วกลัวไม่มีคนใช้ ไม่มีคนได้รับประโยชน์ เดี๋ยวร้าง แต่เราต้องมีคนดูแลตลอด อย่างศูนย์การแพทย์มีคนใช้อยู่แล้ว มีสระว่ายน้ำทำกายภาพ ฟิตเนส คนมารักษาโรคสโตรก ในนี้ก็มีห้องพัก เพื่อที่ไม่ต้องเสียเวลาขับรถกลับบ้าน เขาลงมาทำกายภาพ ลงสระว่ายน้ำ หมอก็อยู่ใกล้ ๆ ฉุกเฉินก็ช่วยกันได้ทันที คนนอกพื้นที่ก็เข้ามาเยอะ เพราะกายภาพที่นี่ค่อนข้างดี

ส่วนของกองช่างดูงานก่อสร้างในพื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถตั้งแต่คลอง 3-4-5 ปรับภูมิทัศน์ริมคลอง ปลูกต้นไม้ ตอนนี้พื้นที่หน้าสำนักงานเทศบาลกำลังก่อสร้างแลนด์มาร์ก จ้างทางราชมงคลออกแบบมาเป็นรูปกลีบบัว เหมือนบัว สายน้ำ ปทุมก็เมืองบัวอยู่แล้ว มีน้ำพุกลางคลอง เปิดไฟสี ๆ อีกฝั่งมีทางจักรยานเลียบคลองอยู่แล้ว ที่อื่นไม่มี มีเฉพาะบึงยี่โถ นายกฯ ให้ทำ แต่ทางจักรยานมันสุดแค่เขตเราคลอง 3 ถึงคลอง 5 ที่วัดมูลจินดารามตรงทางขึ้นมอเตอร์เวย์ นายกฯ แต่ละที่ก็นโยบายไม่เหมือนกัน ความต้องการของประชาชนก็ไม่เหมือนกัน

ผมอยู่ในพื้นที่มา 25 ปี เมื่อก่อนไม่มีถนนนะ เลียบคลอง เป็นบ้านคนที่อยู่ริมคลองทั้งหมดเลย ตอนนี้ยังมีหลงเหลือบ้านอยู่ริมคลองนิดหน่อย ก๋วยเตี๋ยวเรือเมื่อก่อนขายฝั่งโน้น ทีนี้รถจอดกินเยอะ รถก็วิ่งเยอะ เขาเลยตบมาฝั่งคลองด้านในหมด ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เห็นชัดคือประชากรมากขึ้น ปัญหาก็เยอะขึ้น ขยะ น้ำเสีย แล้วก็ปัญหาชุมชนเมืองคือการจราจร หมู่บ้านเยอะมาก ถ้ารถประดังออกมาทั้งหมด ถนนเส้นรังสิต-นครนายกก็แน่น เช้า ๆ ต้องทำใจ ต่างคนต่างมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ตอนแรกเขาลงโครงการถนนยก (ทางยกระดับสายปทุมธานี-รังสิต-อ.องครักษ์ จุดเริ่มต้นบริเวณโค้ง เมืองเอก ถึงคลองหนึ่ง สิ้นสุดที่แยกอ.องครักษ์ จ.นครนายก) แต่ก็ชะงักไป เขาออกแบบมาค่อนข้างดี ทำพื้นที่เกาะกลางเป็นฐานทางยกระดับ วิ่งไปได้ถึงคลอง 7 ทำทางลาดขึ้น มีที่กลับรถแล้วขึ้นไปทุกคลอง คือรถที่มาติดจริง ๆ ไม่ใช่รถวิ่งแต่ติดที่จ่อรอกลับรถ ทีนี้พอไปสร้างทางลาดมันค่อนข้างยาวเพราะถนนแคบ ก็ไปบังทางเข้า ร้านค้าก็จะเจ๊งเลย ไม่มีคนเพราะเขาขี้เกียจเบี่ยงรถเข้าไป ก็มีประท้วง โครงการเลยตกไป ถ้ามีทางยกระดับ เขาไม่เก็บตังค์ด้วย คนก็จะขึ้น ไม่ต้องไปติดกลับรถ น่าจะช่วยแก้ปัญหาจราจรได้”

รังสรรค์ ทางเณร

ผู้อำนวยการกองช่าง เทศบาลเมืองบึงยี่โถ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

3 weeks ago