“บ้านหลังนี้เป็นของคุณป้า คุณป้าคุณลุงเสีย ก็ปิดไว้เฉยๆ เพราะลูกชายเขาที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันย้ายไปอยู่นอกกุฎีจีน พอคิดทำพิพิธภัณฑ์เลยทาบทาม เขาก็ตกลง โอนสิทธิ์การเช่าที่ดินแล้วก็มาปรับโครงสร้างข้างล่างซึ่งสูงแค่เมตรยี่สิบ เราทำอะไรไม่ได้เลย ก็ยกบ้านดีดขึ้นไปเป็นสามเมตรกว่า เสริมคาน ฐานราก ปรับพื้นที่ข้างบน แล้วก็ได้พื้นที่เพิ่มด้านหลังกับที่อีกนิดนึงของสำนักมิสซัง ก็ขออนุญาตเช่าจากวัดซางตาครู้ส แล้วก่อนทำ เราก็เชิญคนรอบบ้านที่จะมีผลกระทบจากการทำตรงนี้มาคุย ก็ไม่มีใครคัดค้าน เขาก็มีข้อแนะนำ คนที่อยู่ในนี้ก็อยู่กันมานาน เป็นพี่เป็นน้อง นับถือกันเป็นญาติ รู้จักกันหมด ถึงแม้จะคุยกันยากแต่ก็ไม่มีอะไรมากหรอก ถึงเวลาก็ช่วยกัน บางบ้านก็สร้างรายได้เพิ่มขึ้น อย่างเขาไม่ได้ทำงานข้างนอก อาจจะอึดอัด หลังๆ ช่วงโควิด เศรษฐกิจตกต่ำ อยู่บ้านยังดีกว่า เราก็ขายไป ซื้อไป ช่วยเหลือกันไปในย่าน คือสมัยก่อนก็เป็นแบบนี้
บ้านเราไม่ใช่บ้านที่ทำขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยวนะ มันเป็นชีวิตของเราจริงๆ เป็น Life Museum ที่ใครๆ มาดูอาจจะบอกว่าไม่มีอะไร แต่นี่คืออะไรๆ ของเรา ทุกอันมีสตอรี่ เพราะเราอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิด ต้นตระกูลก็อยู่ที่นี่ แล้วคนที่ย้ายออกเพราะครอบครัวขยายแต่พื้นที่เท่าเดิม พอมีโอกาส เทศกาลศาสนา ฉลองคริสต์มาส เขาก็จะกลับมา ภายในพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีนก็บอกเล่าความเป็นมา มีห้องกำเนิดกุฎีจีน ห้องวัฒนธรรม ก็จำลองบ้านสมัยก่อนที่อยู่จริงๆ เลย มีหิ้งพระไว้ในห้อง เราไม่มีห้องพระแยกต่างหากเหมือนคนไทย หิ้งที่ใหญ่ที่สุดก็อยู่ในห้องผู้อาวุโสที่สุด เด็กเล็กลูกหลานก็จะมีกางเขน รูปแม่พระ นักบุญศักดิ์สิทธิ์ นักบุญยอแซฟ รูปพระในห้องนอนเพราะส่วนใหญ่เราต้องสวดก่อนนอนและตอนตื่น รูปครอบครัวส่วนใหญ่ติดในห้องรับแขก ของต่างๆ ที่จัดแสดงก็เป็นของสะสมที่เก็บไว้จากหลายๆ บ้าน บ้านเรา ครอบครัวญาติ ปู่ทวด
เราไม่รู้เรื่องการทำพิพิธภัณฑ์เลย ทำจากที่เราไปเดินดูตามพิพิธภัณฑ์เล็กๆ อันไหนที่ชอบก็เก็บไว้ในใจ อันไหนต้องปรับปรุงก็เก็บมา พอดีได้อาจารย์สองท่านที่ทำเรื่องธนบุรีมาเป็นที่ปรึกษาให้เราตั้งแต่แรกด้วย ก็ปรับมาสามครั้งกว่าจะได้ที่ออกมาคิดว่าพอใจในระดับหนึ่ง ก็ยังไม่ได้เปิดเป็นทางการเลย หกปีแล้ว แต่คิดว่าเดี๋ยวพอได้ในระดับหนึ่งก็คงจะเปิดเป็นสิริมงคล ตอนแรกคนไม่รู้จัก ก็โชคดีมีเฟซบุ๊ก ไลน์ แล้วนโยบายรัฐบาลให้เที่ยวชุมชน มหาวิทยาลัยก็ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักชุมชนตัวเอง เขาก็มาถ่ายรูป ก็มีออกข่าวทั้งในและต่างประเทศ สารคดีจากญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศสมาถ่ายทำ มีนักเขียนโปรตุเกสมาเขียนถึง คนโปรตุเกสแทบทุกคนที่มาแฮปปี้มาก เขารู้สึกเหมือนอยู่บ้าน ซึ่งเราไม่เคยรู้ว่ามันเหมือน ห้องนอนเราก็จัดห้องนอนแบบบ้านเรา แต่เขามาถึงเขาบอกเหมือนบ้านคุณยาย บ้านที่มีสวนเล็กๆ อยู่กลางบ้าน ทุกคนมาก็ซาบซึ้ง เขาไม่เคยรู้เลยว่ามีอะไรของเขาเล็กๆ อยู่ที่นี่
เราอยากให้คนมาชม ก็ไม่เก็บค่าเข้าชม แล้วเราอยู่ได้ยังไง ก็อยู่ได้โดยช่วยกันพี่น้อง มีเด็กๆ ลูกหลาน เราทำชั้นล่างขายกาแฟ เครื่องดื่ม ของว่างพวกวาฟเฟิล ก็ดีใจที่คนมากินแล้วเขาโอเค เรามีขนมซิกเนเจอร์ เรียกว่า ขนมปังสัพแยก เป็นอาหารโปรตุเกส ลักษณะเหมือนขนมปังโปรตุเกสก้อนกลมๆ เอามาใส่ไส้คล้ายไส้กะหรี่ปั๊บ ถ้าคุณอยากกินอันนี้ต้องมาที่นี่ ไม่มีที่อื่น แล้วอาหารที่เราทำกินกันในบ้าน หลายอย่างที่เราไม่รู้ว่าเราทำอาหารโปรตุเกส อย่างหมูสับหรือเนื้อสับ มาทอดเป็นก้อน โรยหน้าด้วยหอมใหญ่ผัด มะเขือเทศผัด เป็นน้ำขลุกขลิกราด คุณยายที่บ้านเรียก Mince Steak อาจารย์ประโลมที่ทำเรื่องโปรตุเกสอยู่ มาเห็นบอกว่าเป็นอาหารโปรตุเกส ซึ่งบ้านเราก็ทำกินสืบทอดกันมา ย้อนรากไปได้ว่ามาจากโปรตุเกส แล้วเราก็มาใช้วัตถุดิบของเราปนของจีนด้วย วัฒนธรรมเราก็เลยเป็นเอกลักษณ์ที่รวมหลายอย่าง ตัวเราเองมีเชื้อสายโปรตุเกส แต่เป็นคนจีนด้วย ก็โชคดีที่คนโปรตุเกสมาเราก็เป็นโปรตุเกส จีนมาเราก็เป็นจีนแต้จิ๋ว สายที่ห้าแท้ๆ เลย
ชุมชนกุฎีจีนมีสามกลุ่มมาตั้งแต่อยุธยา พุทธ คริสต์ อิสลาม อยู่ร่วมกันมาหลายเชื้อชาติ มอญก็มี รุ่นหลังมีญวนด้วย เราอยู่มาตั้งแต่เด็ก ชุมชนไม่ค่อยเปลี่ยน แค่มีคนเยอะขึ้น สมัยก่อนคนข้างนอกไม่ค่อยได้มาอยู่เพราะเราไม่สามารถแต่งงานกับคนไม่ใช่คาทอลิกได้ สมัยนี้วาติกันก็ปรับปรุงกฎสมัยใหม่ สามารถแต่งงานกับคนที่ไม่ใช่คาทอลิกได้แต่เขาต้องเข้าใจวิถีชีวิตเรา อย่างสามีและน้องเขยก็ไม่ใช่ แต่เข้ามาอยู่ก็ช่วยทำงานให้คาทอลิก เขาเข้าใจวิถีชีวิตเรา วันอาทิตย์เขาก็พาลูกไปวัด คนแก่ๆ ที่อยู่ที่นี่จะไม่ยอมย้ายเพราะเขาไปวัดได้โดยที่ไม่ต้องกวนใคร ใกล้นิดเดียว คุณแม่นี่ไปวัดจนกระทั่งเดินไม่ไหว ก็เข็นรถไป คนอายุน้อยกว่าเขาก็มารับจูงกันไปวัด วิถีชีวิตก็ยังเป็นอย่างนี้อยู่
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานเข้ามาเมื่อสิบปีที่แล้ว คนที่นี่เริ่มตื่นตัว มีคนอื่นมาเที่ยว เราก็รู้สึกว่าสนุกนะ ตอนนั้นยังไม่คิดเลยว่าตัวเองจะทำพิพิธภัณฑ์ แต่กิจกรรมที่โครงการฯ เข้ามาจัด ก็อย่างตอนคริสต์มาส บ้านใครมีขนม อาหารอะไรของเรา เอามาแจกให้คนอื่นชิม เราก็เปิดหน้าบ้าน เอาต้มมะฝาด ซึ่งไม่เคยมีใครเคยได้กิน รสชาติเฉพาะบ้านเรา แต่ละบ้านอาจจะรสจัด อาจจะรสอ่อน แล้วคำว่า มะฝาด เราก็สงสัยนะ ทำไมมะฝาด มันไม่เคยฝาดมาตลอด แล้วก็ไม่มีตัวต้นอะไรทำไมฝาด ตอนนี้ย้อนได้ ผู้รู้เรื่องอาหารศึกษาว่า มะฝาด มาจากคำว่า อะบาฟาโด้ เสียงออกมาคนไทยฟังนี่มะฝาดแน่นอน ซึ่งการทำคือเรียงผักที่สุกยากไว้ก่อน แล้วก็สุกง่ายขึ้นมา แล้วก็ค่อยๆ รุมด้วยไฟซักสามชั่วโมง คล้ายจับฉ่าย น้ำเครื่องเทศจากไก่จากหมูก็จะซึมออกมา แล้วของโปรตุเกสบอกเขาไม่ได้รุมด้วยเตาไฟอย่างนี้ เขาขุดหลุมแล้วเอาหม้อใส่ลงไป ทำให้เราได้เรียนรู้ขึ้นเยอะ ซึ่งเป็นผลจากโครงการฯ ที่จุดประกายให้คนเข้ามาในย่าน”
นาวินี พงศ์ไทย
พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…