“หนูเป็นคนอำเภอรามัน ย้ายมาอยู่ในตัวเมืองยะลา เพราะเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ หนูเรียนคณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ เพราะชอบทำสื่อ และอยากทำภาพยนตร์ค่ะ
ระหว่างเรียน หนูก็มีโอกาสทำหนังสั้นและสารคดีส่งประกวดตามเวทีต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะทำตามโจทย์ของการประกวด เช่น ประเด็นสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างหลังที่หนูสนใจเป็นพิเศษ แต่ขณะเดียวกัน เมื่อค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองยะลาเพื่อจะนำมาพัฒนาเป็นบทสารคดี หนูกลับพบว่ามีข้อมูลเชิงเอกสารที่ถูกเผยแพร่ค่อนข้างน้อย ทั้งๆ ที่มีเรื่องน่าสนใจตั้งเยอะ
ที่ผ่านมา หนูแทบไม่เคยเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิชาสังคมศึกษาที่สอนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนส่วนใหญ่ก็จะสอนแต่ประวัติศาสตร์ส่วนกลาง อาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จะมีครูบางท่านที่สอดแทรกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างเรื่องราวของอาณาจักรปัตตานีเข้ามาในบทเรียนบ้าง แต่ก็เป็นในระดับผิวเผิน อาจเพราะเวลาในชั้นเรียนจำกัด หรือหลักสูตรไม่เอื้ออำนวย
เพราะเรียนมาแต่ประวัติศาสตร์ที่อยู่ไกลตัว เรื่องใกล้ตัวเรากลับไม่ค่อยรู้เลย นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หนูพยายามค้นคว้าข้อมูลของท้องถิ่น เพราะฝันไว้ว่าอยากทำหนังที่บอกเล่าเรื่องราวของเมือง เรื่องของผู้คนยะลา และในสามจังหวัดชายแดนใต้
การได้ร่วมเป็นอาสาสมัครงานยะลาสตอรี่ของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ช่วยเปิดโลก และทำให้หนูได้ทราบเรื่องราวที่ไม่เคยรู้เกี่ยวกับเมืองยะลามาก่อนหลายเรื่องมาก งานนี้เกิดขึ้นจากที่กลุ่มนักวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฟอร์มทีมเยาวชนในยะลามาร่วมกันคัดสรรเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมือง ก่อนจะจัดทำเป็นนิทรรศการเปิดให้เข้าชม
ลำพังแค่สถานที่จัดงานอย่างโรงแรมเมโทร ซึ่งหนูขี่รถผ่านบ่อยๆ แต่ไม่เคยสนใจมาก่อน ก็มีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ของเมือง โดยเฉพาะการเป็นที่พักสำคัญของเกษตรกรยางพาราที่เข้ามาพักที่นี่เพื่อรอขายยางตอนเช้า เป็นต้น ขณะเดียวกันนิทรรศการที่นำเสนอภายในอาคารโรงแรมแห่งนี้ อย่างที่มาของไก่เบตง แบบอักษรจากป้ายร้านค้าในเมือง หรือสื่อศิลปะที่สะท้อนความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนใต้ ก็ทำได้อย่างสร้างสรรค์ในแบบที่ไม่เคยได้เห็นอะไรแบบนี้มาก่อน อันนี้ไม่ได้อวยเพราะหนูเป็นทีมงานนะ แต่ดูจากผลตอบรับของผู้ที่เข้ามาชมในงาน ก็เป็นแบบเดียวกับหนูเช่นกัน (ยิ้ม)
หนูคิดว่างานงานนี้เหมือนย่อส่วนยะลาในรอบหลายปีหลังมานี้ไว้ในอาคารหนึ่งหลังและถนนหน้าอาคารอีกหนึ่งเส้น มันสะท้อนภาพยะลาที่หนูคุ้นเคยและรู้สึกผูกพันดี นี่คือเมืองเล็กๆ ที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย วิถีชีวิตผู้คนค่อนข้างแตกต่างกันมาก แต่ทุกคนกลับเป็นมิตร และพร้อมเปิดใจอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว และสิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เกิดประวัติศาสตร์เฉพาะตัว ที่หนูคิดว่ามีคุณค่ามากพอให้เราต้องบอกเล่าต่อไป”
การีม๊ะ กูนิง
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…