“หลายปีก่อน สมัยที่ยังไม่มีสื่อออนไลน์เหมือนทุกวันนี้ เรามีโอกาสไปร้านหนังสือที่เชียงใหม่ และเห็นหนังสือชื่อว่า ‘ไม่รักไม่บอก’ ซึ่งเป็นหนังสือคล้ายๆ หนังสือทำมือ ภายในมีแผนที่เมืองเชียงใหม่ย่านต่างๆ พร้อมลายแทงร้านอาหารขึ้นชื่อ และเกร็ดข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนที่นี่ เราซื้อกลับมา อ่านจบ และคิดว่าหาดใหญ่บ้านเกิดเราก็มีร้านดีๆ และข้อมูลที่น่าสนใจไม่แพ้เชียงใหม่ นึกอิจฉาว่าทำไมไม่มีคนรวบรวมมาพร้อมสรรพอย่างนี้
ใจความสำคัญคือการคัดสรรข้อมูลและสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพราะแค่กับหนังสือเล่มเดียว ยังทำให้เราพบว่าเมืองเมืองหนึ่งน่าอยู่ น่าสนใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้เราได้ จนภายหลังโซเชียลมีเดียกลายมาเป็นสื่อกระแสหลัก และมีเพจเฟซบุ๊คที่เล่าเรื่องหาดใหญ่ในมุมของตัวเอง และเป็นปากเสียงให้คนในพื้นที่ ตรงนี้แหละที่ทำให้เราเริ่มเห็นความหวังที่หาดใหญ่จะเป็นเมืองที่ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในอนาคต
ในปี พ.ศ. 2563 เราในฐานะอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้มีโอกาสร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยโครงการได้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน ทำคอร์สเพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้ผู้คน และผลิตสื่อ โดยทำงานร่วมกับชุมชนทั้ง 103 ชุมชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
หน้าที่ของเราคือการออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ และเพราะช่วงนั้นเกิดโควิด ผู้คนหลายคนต้องตกงาน เราจึงทำหลักสูตรเสริมทักษะให้คนหาดใหญ่สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤต พร้อมกันนั้นก็มีการสร้างเครือข่ายโดยผ่านกลุ่ม Line Official Account สำหรับการสื่อสาร รวมถึงทำสื่อประชาสัมพันธ์โดยเปิดเว็บไซต์ hatyailearning.city และเพจเฟซบุ๊ค เพื่อเป็นการอัพเดตข่าวสารและชักชวนให้คนหาดใหญ่ได้เรียนฟรี หลักสูตรในนั้นมีตั้งแต่การทำธุรกิจออนไลน์ การทำอาหาร การปลูกผักสำหรับคนในเมือง และอื่นๆ
โดยหลักสูตรที่เรารับผิดชอบคือการทำธุรกิจออนไลน์เบื้องต้น คลาสแรกเราเรียนทางโปรแกรมซูมก่อน จากนั้นพอสถานการณ์เริ่มซาก็มาเรียนแบบออนไซท์ที่อุทยานการเรียนรู้นครหาดใหญ่ (TK Park) ซึ่งนอกจากผู้สมัครเข้ามาเรียนกับเราจะได้ทักษะในการสร้างเพจ รู้วิธีการทำแบรนด์เบื้องต้น การทำคอนเทนต์ ไปจนถึงการไลฟ์ขายสินค้า ในทางกลับกัน เราก็ได้เรียนรู้จากผู้มาเข้าเรียน ตั้งแต่ความรู้เฉพาะทางและประสบการณ์ของแต่ละคน ไม่ว่าจะเรื่องการทำธุรกิจท่องเที่ยว การเกษตร ไปจนถึงการทำขนม รวมถึงการได้แบ่งปันความอัดอั้นตันใจจากสถานการณ์ในช่วงนั้น และผู้เรียนหลายคนก็กลายมาเป็นเพื่อนเราจนทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้ โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ จึงไม่ใช่แค่การที่ผู้เรียนมาเรียนกับผู้จัดโปรแกรมอย่างเดียว แต่ทั้งผู้สอน และผู้จัดโปรแกรม ก็ได้เรียนรู้จากผู้เรียนด้วย
ในปีที่ 2 ของโครงการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้ร่วมกับโครงการคลองเตยลิงก์ของ อาจารย์สิทธิศักดิ์ ตันมงคล สโคปพื้นที่ลงมาที่ชุมชนทั้ง 10 ที่อยู่ในพื้นที่คลองเตย เราได้ทำหลายกิจกรรม ทั้งการร่วมกับชุมชนต่างๆ ค้นหาอัตลักษณ์เพื่อใช้เป็นมูลค่าเพิ่มของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การสนับสนุนด้านคุรุภัณฑ์แก่ศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ทั้ง TK Park ศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล ไปจนถึงห้องสมุดประชาชน
และที่เราประทับใจเป็นพิเศษคือการได้จัด Hat Yai Talk หรือการเสวนาออนไลน์ผ่านโปรแกรมซูม โดยอาจารย์สิทธิศักดิ์จะชวนผู้คนในแวดวงพัฒนาเมืองหาดใหญ่ด้านต่างๆ มาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ทุกๆ สัปดาห์ เป็นรายการสัมมนาออนไลน์เรื่องเมืองหาดใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ซึ่งไม่เพียงทำให้เราได้รู้จักเครือข่ายคนทำงานเพื่อเมืองที่หลากหลายมาก ทั้งกลุ่ม Hat Yai Eat Pray Love, กลุ่มสภาเด็ก, กลุ่มสถาปนิกผังเมือง Songkhla Urban Lab, กลุ่มมานีมานะ และอีกนับนิ้วไม่หมด แต่ยังได้ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง ทำให้เราเห็นว่าหาดใหญ่เต็มไปด้วยคนเก่งๆ ที่อยากเห็นบ้านเมืองเราดีขึ้น
รู้สึกดีใจนะที่เรามีส่วนสื่อสารเรื่องราวดีๆ เหล่านี้ออกมา ก็เหมือนกับที่เราเห็นหนังสือไม่รักไม่บอกที่เมืองเชียงใหม่อย่างที่เล่าตอนต้นนั่นแหละ นี่อาจเป็นความเคลื่อนไหวเล็กๆ แต่ถ้าเราพบวิธีสื่อสารออกไปให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เราชื่อว่าสิ่งเล็กๆ สิ่งนี้อาจจุดประกายให้เกิดการพัฒนาเมืองครั้งใหญ่ได้”
จิณัชญ์ดา วิทยาพันธ์ประชา
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
และนักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้หาดใหญ่
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…