“พื้นเพป้าเป็นคนปากช่อง ได้สามีเป็นคนแก่งคอย เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 สามีป้าขายล็อตเตอรี่ ส่วนป้าเคยขายขนมครกที่ตลาดเช้าแก่งคอย ขายจนส่งลูก 3 คน เรียนจนจบปริญญา พอลูกแต่ละคนทำงานแล้ว ป้าก็เลยเลิกขาย
อยู่บ้านเฉยๆ แล้วมันเหงาค่ะ พอเทศบาลเมืองแก่งคอย หรือหน่วยงานท้องถิ่นที่ไหนเขามีโครงการหรือกิจกรรมอะไรให้คนแก่อย่างป้าได้เข้าร่วม ป้าก็ร่วมกับเขาหมด คนแก่ถ้าคิดว่าแก่ เราก็แก่จริงๆ แต่ถ้าเราคิดว่ายังไม่แก่ หาอะไรทำ เราก็จะยังไม่แก่ ป้าเลยพยายามทำตัวให้สาวไว้ตลอด (หัวเราะ)
อย่างงานขายกระเป๋าสานนี้ ก็เกิดจากศูนย์ส่งเสริมอาชีพของจังหวัดเขาชวนให้เรามาเรียนทำกระเป๋าสานจากเศษพลาสติก ป้าไปเรียนแล้วชอบ ก็เลยติดลม ทำเล่นๆ จนได้กระเป๋ามามากพอจะเปิดร้านขาย เลยไปขายที่ตลาดแถวปากช่องก่อน แล้วพอแก่งคอยเขามีการจัดถนนคนเดินตลาดท่าน้ำแก่งคอย ป้าก็ไปจองบูธเอาของไปวางขายด้วย อย่างวันนี้มีงานแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลก ทีมงานเขาก็จัดล็อคให้ป้าขายด้วย โดยนอกจากกระเป๋าสานที่ป้าทำเอง ป้ายังเอาสบู่สมุนไพรจากลพบุรีมาขายด้วย
กระเป๋าขายใบละ 150-250 บาทค่ะ ขึ้นอยู่กับขนาดและความยาก ป้าสานเองด้วยมือทุกใบ วันไหนขยันหน่อย ใบนึงทำวันเดียวก็เสร็จ พลาสติกนี่สั่งมาจากโรงงานแถวทับกวาง ได้มา ก็ลงมือสานเอง
ไม่ได้คิดถึงกำไรอะไรหรอก ทำเอาสนุกมากกว่า มีคนยุให้ทำขายทางออนไลน์ ป้าบอกทำไม่เป็น ป้าอายุ 75 ปีแล้ว บางอย่างก็ให้เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ดีกว่า ส่วนป้าเองไม่ได้ลำบากอะไร ลูกหลานทุกคนก็ลงตัวหมด คนโตทำงานอยู่กรุงเทพฯ อีกคนอยู่หนองแคนี่เอง และคนเล็กอยู่ศูนย์โตโยต้าสระบุรี เขาก็มาอยู่เป็นเพื่อนป้าที่แก่งคอย
ป้าว่าดีนะที่มีหน่วยงานมาสนับสนุนกิจกรรมให้ผู้สูงวัยน่ะ บางคนชอบคิดไปเองว่าคนแก่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรแล้ว อันนี้ไม่จริง เพื่อนป้าอีกหลายคนเขาก็อยากทำนั่นทำนี่เป็น อย่างป้าเองยังคิดจะทำแหนมขายต่อจากนี้ด้วย รอสูตรให้มันนิ่งๆ ก่อน”
ป้าน้อย-เจริญ น้อยธะรงค์
ผู้ประกอบการขายกระเป๋าสานในแก่งคอย
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…