“บางครั้งผมรู้สึกเหมือนตลาดแก่งคอยมีรูปแบบเหมือนกรุงเทพฯ ตรงที่หาที่จอดรถยากมาก และถ้าคุณมาทำธุระในเมือง คุณต้องใช้วิธีวนรถ ให้เพื่อนลงไปทำธุระ และคุณขับไปหาที่จอดที่อื่นรอก่อน”

“ผมเป็นผู้รับเหมามาก่อน ทำได้พักใหญ่ๆ ก็กลับมาสานต่อธุรกิจของแม่ที่แก่งคอย เป็นรุ่นสอง ร้านทองร้านนี้เริ่มโดยคุณแม่ แม่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในแก่งคอย ตอนเด็กๆ แกเคยเล่าให้ฟังว่ายังวิ่งหนีลูกระเบิดอยู่เลย หลังสงครามโลกสิ้นสุด ผู้คนที่รอดชีวิตในสมัยนั้นก็มาเริ่มธุรกิจจากศูนย์กันใหม่ๆ แม่ก็เริ่มทำงานหลากหลายจนได้มาเปิดร้านทอง ลูกค้าหลักๆ คือคนแก่งคอยและอำเภอใกล้เคียง ทั้งผู้ประกอบการในตลาด ข้าราชการ รวมถึงคนทำงานโรงงานรอบๆ ผมก็จะไปเลือกทองคำรูปพรรณจากร้านขายส่งที่เยาวราช พิจารณาจากความนิยมของคนที่นี่ และนำมาวางขายที่ร้าน

ข้อได้เปรียบของการขายทองคือต่อให้เศรษฐกิจแย่ยังไง ถึงกำลังซื้อลดลง แต่มันก็ยังคงเป็นที่ต้องการ ถ้าช่วงไหนเศรษฐกิจแย่ คนก็จะซื้อน้อยลงและเลือกมาขายกับร้านมากขึ้นเพื่อเอาเงินสดไปหมุนเวียน หรือบางคนถูกล็อตเตอรี่ เขาก็จะเลือกซื้อทองเพื่อสะสมหรือมองว่าเป็นการลงทุน ราคาทองจะขึ้น-ลงตามราคาตลาดโลก และมันไม่ได้ซื้อขายกันแค่ในท้องถิ่น อย่างช่วงไหนทองมีราคาถูกลง ต่างประเทศเขาก็มารับซื้อที่ร้านขายส่ง ซื้อ-ขายทองก็เหมือนน้ำที่เทกันไปเทกันมา

ช่วงที่ขายดีที่สุดน่าจะเป็นช่วงสมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหวัณ หรือก่อนฟองสบู่แตกครับ ตอนนั้นราคาทองไม่แพง บาทละหกถึงเจ็ดพันบาทได้ แล้วเศรษฐกิจโดยรวมดี โรงงานในสระบุรีดีมากๆ ร้านเราได้ลูกค้ากลุ่มโรงงานเยอะ หรือก่อนที่ผมจะมาทำร้านนี้ แม่เล่าว่าสมัยที่ผู้คนนิยมเดินทางด้วยรถไฟ และเขายังขนส่งพืชไร่ทางเรือมาลงท่าน้ำแก่งคอยอยู่ ทองที่ร้านก็ขายดี เพราะผู้ประกอบการหลายครอบครัว เขาเอาพืชไร่มาส่งหรือมาขายที่นี่ ได้เงินสดกลับไป เขาก็จะเอาบางส่วนไปซื้อทองเพื่อสะสมหรือเก็งกำไร และร้านเราอยู่บนถนนหน้าสถานีรถไฟที่เชื่อมไปยังท่าน้ำด้วย เลยได้ขายไปด้วย

ส่วนช่วงนี้เงียบลงเยอะครับ เข้าใจว่าเศรษฐกิจไม่ดี และพอเมืองมันขยาย ก็มีร้านทองใหม่ๆ มาเปิดรอบนอก ดักคนทำงานโรงงานไว้ แต่เราดีหน่อยที่มีลูกค้าประจำ ก็พอได้อยู่

ถามว่าปัญหาของเมืองคืออะไร ถ้ามองแค่ในเขตเทศบาลแก่งคอยที่ผมอยู่ หลักๆ ก็เรื่องเศรษฐกิจซบเซา ทั้งจากเศรษฐกิจภาพรวมและผู้คนย้ายออกไปอยู่ที่อื่นเสียเยอะ หรือเลือกที่จะไปจับจ่ายใช้สอยในตลาดหรือศูนย์การค้าใหม่ๆ รอบนอก

ถ้าใกล้ตัวลงมาหน่อยก็เรื่องที่จอดรถ เพราะแก่งคอยมันเป็นเมืองที่โตมาในยุคที่คนยังไม่มีรถส่วนตัวกันเยอะเหมือนทุกวันนี้ ย่านตลาดและย่านการค้าจึงมีที่จอดรถไม่เพียงพอ แถมเราก็ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนด้วย อันนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาวแก่งคอยนอกเขตเทศบาลหลายคน ตัดสินใจไม่เข้ามาซื้อของในตลาดถ้าไม่จำเป็น เพราะเขามีทางเลือกอยู่รอบนอกหมดแล้ว และพอเข้ามาหาที่จอดรถไม่ได้อีก เขาก็เซ็งกัน

ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของตึกในย่านเขาก็เลือกที่จะจอดรถส่วนตัวไว้ริมถนนหน้าบ้านตัวเอง ลูกค้ามาก็หาที่จอดรถไม่ได้อีก บางครั้งผมรู้สึกเหมือนที่นี่เป็นกรุงเทพฯ ในแง่ที่ว่า ถ้าคุณจะขับรถมาซื้อของหรือทำธุระในเมือง พอหาที่จอดรถไม่ได้ คุณก็จะส่งคนที่มาด้วยลงไปทำธุระ และคนขับก็วิ่งวนไปหาที่จอดที่อื่นไกลๆ เพื่อรอให้อีกคนทำธุระเสร็จ ค่อยวนกลับมาเข้ามารับในตลาด

อันนี้ส่วนหนึ่งก็ต้องโทษผู้ประกอบการเราเองด้วย หลายบ้านเขาก็จอดรถตายไว้ในตลาดเลย ลูกค้ามา เขาก็หาที่จอดไม่ได้ เรื่องนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน เทศบาลก็เคยชวนชาวบ้านมาคุยกันเรื่องการจัดสรรที่จอดรถ แต่ก็ยังไม่เห็นผลอะไร

แต่ก็เข้าใจได้ บางคนมีบ้านหลังเดียวในตลาด เขาก็ไม่รู้จะไปจอดไว้ตรงไหน ผมดีหน่อยที่มีบ้านอีกหลังที่มีที่จอดรถ ปกติก็จะใช้มอเตอร์ไซค์ขี่มากับภรรยามาเปิดร้าน ไปไหนมาไหนก็ใช้มอเตอร์ไซค์ ถ้าจำเป็นต้องใช้รถ ก็ขี่มอเตอร์ไซค์ไปเปลี่ยนที่บ้านหลังนั้น แต่นั่นล่ะ หลายคนไม่ได้มีทางเลือกแบบนี้ ผมจึงคิดว่าถ้าเทศบาลคิดถึงการทำที่จอดรถกลางและมีรถรับ-ส่ง ก็อาจช่วยบรรเทาปัญหานี้ไปได้เยอะ”

จงรักษ์ แสงพัธสีมา
เจ้าของร้านทอง ‘ห้างทองปราณี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago