ประสบการณ์จากโครงการสอนพวกเราด้วยว่า ถ้าไม่หยุดเรียนรู้ ชีวิตก็จะไม่มีทางพบกับทางตัน

“ปีแรกบีจะลงพื้นที่กับอาจารย์เอ (รศ.ดร. ผณินทรา ธีรานนท์) เป็นหลักก่อน ไปสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองพะเยาว่าเรากำลังทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และเราทุกคนจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ ส่วนน้องๆ คนอื่นๆ จะเป็นผู้ช่วยนักวิจัยแยกกันไป จะทำพวกสืบค้นงานวิจัย งานสถิติ ประสานงาน หรือทำเอกสาร

เราไม่รู้จักกันมาก่อน มาเจอกันที่นี่ ทุกคนมีพื้นเพต่างกัน บีเรียนรัฐศาสตร์ ต้องตาเรียนบริหารธุรกิจ ส่วนแตงกวาและเนสเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เอาจริงๆ แม้ทุกคนจะมีความรู้และทักษะเรื่องการสนับสนุนงานวิจัย แต่นอกจากบี ก็ไม่มีใครได้ลงพื้นที่ทำงานวิจัยเชิงสังคมมาก่อน

ซึ่งแน่นอน ในช่วงแรกๆ กระทั่งพวกเราเองที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัยก็ยังไม่ค่อยเข้าใจดีนักว่าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร การทำงานของพวกเราจึงเป็นการทำความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกัน ก่อนออกไปประสานงาน และสื่อสารกับคนอื่นๆ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันว่าการที่เราได้มาเรียนรู้ร่วมกันนี่แหละที่จะช่วยยกระดับทักษะและองค์ความรู้เฉพาะของผู้คนและชุมชนของเราเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างอาชีพหรือพัฒนาธุรกิจในภาพรวมของเมืองพะเยา

ความโชคดีของพวกเราก็คือนอกจากมีโอกาสได้ทำงานกับชุมชน ความที่เราทำโครงการที่ชวนนวัตกรต่างๆ มาให้ความรู้แก่ผู้คน ก็ทำให้เราได้ความรู้และทักษะจากนวัตกรไปด้วย ก็ตั้งแต่งานหัตถกรรม สบู่ น้ำพริก ขนม ไปจนถึงทำบ้านดินเลยค่ะ (หัวเราะ) และในขณะเดียวกัน เพราะเราต้องประสานงานในโครงการวิจัย จึงได้ทักษะการเป็นพิธีกร การทำสื่อ ไปจนถึงการตัดต่อวิดีโอด้วย เหนื่อยเหมือนกัน แต่ก็สนุกที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผ่านการทำงาน

ที่สำคัญคือการได้เปิดโลก เพราะจากที่เราทำแต่งานในออฟฟิศ พอลงพื้นที่พูดคุยกับชุมชนที่หลากหลาย รวมถึงหน่วยงานต่างๆ จึงได้รู้ว่าแต่ละคนมีมุมมองอย่างไร หรือคิดจากฐานความคิดแบบไหน ทำให้เราได้มุมมองใหม่ๆ และทักษะการทำความเข้าใจผู้คนเพิ่มเข้ามา

รู้สึกดีใจค่ะที่โครงการลุล่วงมาด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้เห็นพี่ๆ ลุงๆ และป้าๆ ในชุมชนที่ร่วมกับโครงการและสามารถต่อยอดไปสู่อาชีพใหม่ๆ หรือทำให้ธุรกิจที่พวกเขาทำอยู่แล้วมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่ๆ จากกลุ่มคนหูหนวกพะเยา ที่พวกเขาเหมือนเริ่มต้นจากศูนย์ พอโควิดมาก็หารายได้ไม่ได้ สื่อสารกับใครก็ลำบาก แต่พอได้มาเรียนรู้กับโครงการเรื่องการทำน้ำพริก ก็สามารถต่อยอดไปเป็นอาชีพใหม่ได้จริง และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาสูตรไปขายกับเครือข่ายคนหูหนวกในจังหวัดอื่นๆ ตามงานต่างๆ

เห็นแบบนี้ก็รู้สึกว่าสิ่งที่เราช่วยนักวิจัยทำโครงการมีความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่างน่าชื่นใจ และประสบการณ์จากโครงการก็ยังสอนพวกเราด้วยว่า

ถ้าไม่หยุดเรียนรู้ ชีวิตก็จะไม่มีทางพบกับทางตัน เช่นที่เราพบโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในโครงการนี้”   

นางสาวนันท์นภัส สำเภาเงิน (ต้องตา)
นางสาวอภิชญา ใจด้วง (เนส)
นางสาวมารศรี เงินเย็น (บี)
นางสาวรัตนาภรณ์ รัตนากรไพบูลย์ (แตงกวา)


ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago