ประเด็นก็คือค่าเช่าตึกในตัวเมืองกาฬสินธุ์หลายตึก มีราคาสูงพอๆ กับค่าเช่าในเมืองใหญ่อย่างขอนแก่น พอราคามันสูงแบบนี้ คนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มธุรกิจก็ไม่กล้าเช่า

ผมเป็นคนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ครอบครัวผมปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2529 แต่สมัยก่อนผมไม่เคยคิดที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟเลย

ผมเรียนหนังสือในระบบตามปกติที่กรุงเทพฯ จบมาก็ได้ทำงานโรงงานของแบรนด์สุราเจ้าหนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายโรงงานต่างจังหวัด โรงงานมีทั้งหมด 12 แห่งทั่วประเทศ ผมก็จะเดินทางไปตรวจสอบโรงงานละ 2 เดือน หมุนเวียนไปแบบนี้ทั่วประเทศ ผมทำงานนี้มา 5 ปีแล้ว จนรู้สึกไม่อยากเดินทางบ่อย พอดีได้แฟนเป็นคนกาฬสินธุ์ ก็เลยขอย้ายมาประจำโรงงานที่ขอนแก่นใกล้ๆ ทำอีกสักพัก ก็คิดอยากมีธุรกิจของตัวเอง เลยลาออกมา

ผมเริ่มธุรกิจน้ำดื่มที่กาฬสินธุ์ก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ช่วงนั้นคือราวๆ ปี 2545 ก็คิดกับแฟนว่าเราจะเปลี่ยนมาทำธุรกิจอะไรต่อไปดี แล้วมันก็มีความคิดหนึ่งแทรกเข้ามาว่าอยากกลับบ้านที่เชียงราย ไอ้ความคิดนั้นแหละที่จุดประกายผมว่า ในเมื่อบ้านเราปลูกกาแฟ ทำไมถึงไม่เอากาแฟที่บ้านมาขายที่กาฬสินธุ์

ความต้องการนี้สอดคล้องกับปัญหาที่ครอบครัวผมกำลังเจอพอดี เพราะเขาปลูกกาแฟส่งร้าน แต่บางครั้ง ร้านเขาไม่ได้รับซื้อทั้งหมดที่เราปลูก เช่นบางสัปดาห์เขาอาจจะรับผลผลิตเราแค่ 3 วัน ส่วนอีก 4 วันเขาไม่ซื้อ กาแฟเราจึงเหลือ ถ้าผมเปิดร้านกาแฟ ก็จะได้ช่วยจัดการต้นทุนให้ที่บ้านได้


อีกอย่างหนึ่งคือ ช่วงนั้นกาแฟดอยช้างเริ่มเป็นที่นิยมแล้ว ตามเมืองใหญ่ๆ ก็เริ่มมีร้านที่ขายกาแฟสดผุดขึ้น แต่ที่กาฬสินธุ์ยังไม่มี ผมก็เลยตัดสินใจกลับบ้านไปเรียนรู้เรื่องกาแฟใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง และกลับมาเริ่มธุรกิจร้านกาแฟสดในคีออสเล็กๆ หน้าบ้านของแฟนบนถนนกาฬสินธุ์ ใกล้ๆ วัดกลาง ในปี 2553  เป็นร้านกาแฟสดร้านแรกของกาฬสินธุ์

ใช้เวลานานอยู่เหมือนกัน กว่าจะให้คนที่นี่รู้จักว่ากาแฟสดคืออะไร น่าจะ 2-3 ปีได้นะที่ธุรกิจอยู่ตัวและมีกำไร มาปี 2556 ก็ขยับขยายด้วยการเปิดโรงคั่วของเราเอง และจากคีออสเล็กๆ ก็ขยับมาเป็นคาเฟ่จริงจังในบ้านของแฟนเมื่อปี 2560

เริ่มแรกผมขายกาแฟแก้วละ 25 บาท ขายดีเลยครับ แต่พอตอนหลังมาร้านกาแฟเริ่มเยอะขึ้น ส่วนแบ่งตลาดก็มากขึ้น และพอมาพิจารณาต้นทุน ราคานี้ก็แทบไม่เหลือกำไร จึงขยับราคาขึ้นมา และนำสตอรี่ของไร่กาแฟบนดอยช้างที่บ้านมาเป็นจุดขาย รวมถึงแบ่งประเภทการเสิร์ฟตามการแปรรูปเมล็ด เพื่อสร้างความแตกต่าง สอดรับกับที่คนดื่มกาแฟเริ่มให้ความสนใจกับแหล่งที่มาของเมล็ดหรือกระบวนการต่างๆ พอสมควร ร้านเราก็เลยมีจุดขายที่ชัดเจน

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดกับนักท่องเที่ยวครับ ราวๆ 80% ส่วนอีก 20% เป็นคนท้องถิ่น ซึ่งเข้าใจได้ เพราะเมืองเราเป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็พอมีลูกค้าประจำในตัวเมืองบ้าง ส่วนลูกค้าต่างจังหวัด เรามักจะได้จากการที่เขามาทำธุระที่เมืองกาฬสินธุ์ หรือบางคนอาจขับรถไปสกลนคร มุกดาหาร หรือนครพนม ซึ่งสามจังหวัดนี้การไปมาหาสู่กันต้องผ่านจังหวัดเรา พวกเขาก็จะแวะเข้าเมืองมาดื่มกาแฟที่ร้าน

ทุกวันนี้ในตัวเมืองกาฬสินธุ์น่าจะมีร้านกาแฟรวมคีออสเล็กๆ ด้วย ราวๆ 50-60 ร้านครับ ถามว่าแข็งขันกันสูงไหม ก็พอสมควร แต่เราอาศัยเปิดมาก่อน และมีลูกค้าประจำติดแล้ว จึงพอไปได้

ถามว่าชอบอะไรในเมืองนี้? ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นบ้านเกิดของแฟน เลยมีต้นทุนที่ดี อีกเรื่องคือเมืองมันเงียบสงบ ปลอดภัย และผู้คนมีมนุษยสัมพันธ์ดี

แต่มองอีกมุม ข้อดีที่ผมว่ามามันก็เป็นข้อเสียด้วยนะ เพราะพอเมืองมันไม่หวือหวา มันเลยไม่ค่อยมีการลงทุนใหม่ๆ แล้วถ้าคุณสังเกตในย่านใจกลางเมืองตรงนี้ จะเห็นอาคารพาณิชย์ปิดไว้และแขวนป้ายให้เช่าหลายหลัง แต่ก่อนอาคารเหล่านี้ก็เป็นร้านค้านั่นแหละ แต่พอเจ้าของกิจการอายุมาก เขาก็ไม่ขายของแล้ว และไม่ได้ส่งเสริมให้ลูกหลานสานต่อกิจการ คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่พอไปเรียนที่อื่น เขาก็ทำงานที่อื่นด้วยเลย

ประเด็นก็คือค่าเช่าตึกหลายตึกในย่านนี้ มีราคาสูงพอๆ กับค่าเช่าในเมืองใหญ่อย่างขอนแก่นเลยนะครับ พอราคาเช่ามันสูงแบบนี้ คนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มธุรกิจก็ไม่กล้าเช่า เพราะไม่รู้จะคุ้มต้นทุนหรือเปล่า หลายตึกจึงหาผู้เช่าไม่ได้สักที เพราะถ้าผมเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีตึกอยู่ที่นี่ ผมก็คงเลือกไปเช่าที่ขอนแก่น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขายดีมากกว่า

คิดว่าถ้าหน่วยงานไหนอยากฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจให้เมือง การสร้างความร่วมมือและทำความเข้าใจกับเจ้าของอาคารในย่านก็เป็นสิ่งสำคัญครับ”

สิงห์คำ วาสีอนุรักษ์
เจ้าของร้านโรงคั่วกาแฟสิงห์ฟาร์ม (SingFarm Coffee Roaster)
https://www.facebook.com/profile.php?id=100046379663842

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

7 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago