“พื้นเพผมเป็นคนท่าตะโก ซึ่งคนที่นั่นเขาทำโรงสี ตอนคุณขับรถผ่านท่าตะโกมาที่นี่ (อ.ไพศาลี) จะเห็นปล่องลมสูงตระหง่านเต็มไปหมด ซึ่งนั่นมีมานานมากแล้ว ลูกหลานเจ้าของโรงสีจากท่าตะโกเขาก็กระจายตัว มาอยู่ที่ไพศาลีก็เยอะ ผมก็หนึ่งในนั้น
ที่ท่าตะโกและไพศาลีมีโรงสีเยอะ เพราะมันอุดมสมบูรณ์ ที่นาปลูกข้าวขึ้น อย่างไพศาลีนี่มีข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่เดี๋ยวนี้คนปลูกข้าวโพดและถั่วงาลดลงเยอะ อ่อ เมื่อก่อนปลูกฝ้ายกันด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว เกษตรกรไพศาลีจะปลูกข้าวหอมมะลินาดินปนทราย เขาก็ส่งข้าวเปลือกมาสีที่ผม รวมถึงอำเภอใกล้เคียงอย่างท่าตะโก หนองบัว รวมถึงจังหวัดพิจิตร พ่อค้าบางส่วนเขาก็ซื้อข้าวจากชาวนาและเอามาขายผมด้วยเหมือนกัน ซึ่งทำเลตรงนี้มันดี ไปทางอินทร์บุรี (จังหวัดสิงห์บุรี) ขึ้นเหนือไปทางพิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง การขนส่งข้าวเลยสะดวก
วิถีเกษตรกรเปลี่ยนไปเยอะ เมื่อก่อนชาวนาปลูกข้าวบางส่วนและสีกินเอง สังเกตไหมว่าบ้านบางหลังเขามียุ้งไว้เก็บข้าว เพราะสมัยก่อนเขาเกี่ยวข้าวแห้งในนาแล้วใส่ยุ้งเก็บ แต่ทุกวันนี้ เขาใช้รถเกี่ยวสดแล้วเอามาขายโรงสีเลย กลายเป็นว่าชาวนาบางส่วนส่งข้าวให้โรงสี และก็ซื้อข้าวจากโรงสีมากินอีกที เพราะเขาจะได้กินข้าวสดๆ ไม่ต้องไปเก็บแบบสมัยก่อน
พอสีข้าวเสร็จ ก็เอาไปอบ ทุกวันนี้เรามีกำลังผลิตอยู่ที่ 400 เกวียนต่อ 24 ชั่วโมง เมื่อก่อนไม่ได้เยอะเท่านี้ เพราะทำกับภรรยาสองคน แต่พอลูกมาช่วยก็เลยขยายได้ อบเสร็จก็เอาไปใส่บรรจุภัณฑ์ขาย ผมใช้เครื่องสีจากเยอรมนี เพราะมีประสิทธิภาพมาก ในถุงใส่ข้าวยังมีสโลแกน ‘เครื่องจักรเยอรมันชั้นนำของโลก’ เพราะเครื่องมันขัดสีข้าวแล้วได้ผลผลิต หรือ yield ที่ดี มีข้าวท่อนออกมาน้อย ถ้าเครื่องจักรทั่วๆ ไป สีหนึ่งตันคุณอาจได้ข้าวต้นราว 420-450 กิโลกรัม แต่ของผมได้ราวๆ 500 กิโลฯ ได้ราคามากกว่า ข้าวส่วนใหญ่ผมขายในประเทศนี่แหละ มีแบรนด์ของตัวเองชื่อ ‘ข้าวตราบัวชมพู’ เป็นเกรดเดียวกับที่ส่งออก ขายตามร้านค้าและห้างสรรพสินค้าเชนใหญ่ที่มีทั่วประเทศ
ส่วนข้าวท่อนหรือข้าวหัก ผมก็เอาไปขายให้โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยวและขนมจีน ขนมจีนหล่มสักที่ดังๆ ของเพชรบูรณ์เขาก็ใช้ข้าวท่อนจากโรงสีผม เพราะข้าวท่อนของเราคุณภาพโอเค แป้งมันทำออกมาได้เส้น
ผมภูมิใจที่โรงสีผมยังผลิตข้าวหอมมะลิแท้และขายให้คนไทยได้กินอยู่ คุณเคยได้ยินไหมที่มีข่าวว่าคนไทยไม่ค่อยได้กินข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งบางส่วนก็จริงเพราะคนขายนิสัยไม่ดี เอาข้าวจากไหนไม่รู้มาตีตราบอกว่าเป็นข้าวหอมมะลิ แต่ของเรา คุณเอาไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้เลย
นอกจากนี้ อีกเรื่องที่ภูมิใจคือการได้ดูแลคนงาน ใครทำงานกับผม ผมสอนหมดทุกเรื่อง หลายคนเขาก็แยกไปตั้งธุรกิจของตัวเอง ผมก็สนับสนุนเต็มที่ คนงานเป็นร้อยๆ ผมก็ดูแล ทำงานกับผมรายได้ดีนะ หลายตำแหน่งเงินเดือนสูงกว่าพนักงานบริษัทใหญ่ในกรุงเทพฯ อีก ก็อยากให้คนที่นี่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องธุรกิจแล้ว มีลูกชายมาช่วยสานต่อ และก็มีระบบการทำงานรองรับหมดแล้ว ที่ยังทำอยู่ทุกวันนี้เพราะยังสนุกดี เครียดกับงานน้อยลง ลูกค้าจะรายใหญ่รายเล็กผมก็ขายด้วยมาตรฐานเดียวกันหมด ผมย้ำกับทุกคนเสมอว่าธุรกิจเราสำเร็จได้เพราะความซื่อสัตย์ ถ้าเจอข้าวไม่ได้คุณภาพเราก็รับคืน หรือเขาเอาไป บางทีมีหนูมากัดถุงข้าวสารแตก เรารู้ว่าเราขาดทุนก็ยังรับคืน ธุรกิจเราอยู่ได้แล้ว ขาดทุนนิดหน่อยไม่เป็นไร แต่อย่าให้คู่ค้าเราขาดทุน นั่นล่ะทำให้ธุรกิจเรายั่งยืน”
เสวก ล้อพูนผล
เจ้าของบริษัท ล้อพูลผลไรซ์มิลล์ จำกัด
https://lppricemill.com/
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…