ผมมองทั้งเมืองขลุงเป็นศูนย์เรียนรู้ได้หมด มีเรื่องเล่า เมืองน่าติดตาม และพื้นที่เราเล็ก 3.18 ตารางกิโลเมตร ขี่จักรยานแป๊บเดียวก็รอบเมือง

“เดิมอำเภอขลุงมีฐานะเป็น “เมืองขลุง” มีเจ้าเมืองปกครอง จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 128 ขลุงได้รวมกับเมืองทุ่งใหญ่ คือเมืองแสนตุ้ง รวมมาเป็นเมืองขลุง ต่อมารวมเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองขลุง เป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า “มณฑลจันทบุรี” มาเป็นได้ปีเดียวก็ยกเลิก ทำให้เรามีศาลหลักเมือง ปกติตามอำเภอจะไม่มีศาลหลักเมือง มีตามจังหวัดเท่านั้น

ภารกิจเทศบาลในการพัฒนาเมือง เราพยายามทำกิจกรรมสองศาสนา สามวัฒนธรรม เทศบาลเมืองขลุงมีศาสนาพุทธกับศาสนาคริสต์ วัฒนธรรมคือไทยพุทธ ไทยจีน คาทอลิกหรือคริสต์ ทุกวันที่ 15 เมษายนเราจัดกิจกรรมขบวนแห่สองศาสนา สามวัฒนธรรม แห่ทางพุทธก่อน เชิญรูปพระเกจิอาจารย์มาให้คนสรงน้ำ วัฒนธรรมจีนก็แห่ท่านฮุดโจ้ว ศาลหลักเมืองขลุง ทางคริสต์ก็แห่รูปพระเยซูเจ้า พระหฤทัย เพราะเดือนเมษายนก็เป็นช่วงเทศกาลปัสกา ฉลองการกลับคืนชีพของพระเยซู ซึ่งตรงเทศกาลกับของพุทธและจีน คือขลุงมีสามวัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมญวนไม่ค่อยพูดถึง แต่ช่วงงานแห่จะเห็นชัดเลย ชาวเวียดนามตอนกลางอพยพมาเมื่อสามร้อยกว่าปีก่อน ตอนนั้นคนคาทอลิกถูกเบียดเบียนไม่ให้นับถือศาสนาคริสต์ ต้องนับถือศาสนาจีน จึงย้ายถิ่นกัน 40-50 คนมาที่จังหวัดจันทบุรี มีการเจริญเผ่าพันธุ์ขึ้นมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก มีชาวคาทอลิกประมาณแปดพันคน พอพระเจ้าตากเกณฑ์ทหารไปตีกรุงศรีอยุธยาคืน ชาวคริสต์ส่วนหนึ่งก็หนีไม่ยอมเป็นทหาร ชาวคริสต์ส่วนหนึ่งไปกับพระเจ้าตาก พอตีกรุงศรีฯ คืนมาได้ ชาวคริสต์ส่วนหนึ่งก็อยู่ที่อยุธยา บางคนมาแถวสามเสน มาวัดกาลหว่าร์ เหลือกลับมาตั้งชุมชนที่จันทบุรี และย้ายมาที่ขลุง เมื่อ 152 ปีที่แล้ว ตอนนี้มีชาวคริสต์ที่อำเภอขลุงประมาณเกือบสามพันคนอยู่ในทะเบียนของวัด

ผอ.สมชาย ทับยาง ผู้อำนวยการกองการศึกษาคนก่อน ทำโครงการ “ฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมญวนของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ชุมชนเทศบาลเมืองขลุง” ภาษาเวียดนามที่ใช้กันจะอยู่ในการสวดศพ เป็นภาษาเวียดนามโบราณ ตัวผมเองเป็นคาทอลิก แฟนผมพูดเวียดนามได้ แต่พอไปเที่ยวเวียดนาม เขาก็ถามว่าทำไมพูดภาษาเวียดนามโบราณได้ ซึ่งกว่าจะปรับตัวได้ต้องสองสามวันถึงจะคุยกันรู้เรื่อง ทำให้รู้ว่าเราต่างจากเขามาก ทีนี้ผู้ที่จะถ่ายทอดคือคนสูงอายุแล้ว เขาไม่ใช่ครู การจะถ่ายทอดหรือเรียนตามหลักการมันลำบาก จึงไม่สามารถถ่ายทอดได้ ซึ่งคนคาทอลิกที่สามารถพูดภาษาเวียดนามได้มีไม่เกินร้อย ผมว่าการสวดศพภาษาเวียดนามไม่เกินยี่สิบปีคงจะหายไปเพราะคนแก่ๆ หมดไป คนนำสวดตรงนี้ก็จะหายไป ทางวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้าขลุงก็พยายามรักษาไว้ ทุกวันอาทิตย์จะมีการสวดเป็นภาษาเวียดนามก่อนพิธีมิสซา ถ้ามีคนตายก็ต้องสวดภาษาเวียดนาม ส่วนวัฒนธรรมญวนก็มีเลียนแบบแต่งชุดอ๋าวหย่าย (ชุดประจำชาติเวียดนาม) อาหารญวนก็มีอย่าง กูละแง ซึ่งผมไปเวียดนาม สั่งกูละแงมา คือน้ำหมี่ผัดปูเรานี่แหละ ของเราใส่เส้น ของเขาเป็นปูล้วน แต่น้ำเป็นน้ำจากผัดก๋วยเตี๋ยวปู คือมีความต่างกันนิดนึง แต่กินแล้ว มันใช่ รสชาติเดียวกัน ขนมญวนก็ขนมเบื้อง ขนมไส้มะพร้าว เขาเรียก บั้นเชด เป็นลูกกลมๆ ขนมแป้งมีไส้ต้มกับกะทิ ต้นหอม ไส้หวานจากมะพร้าว ใส่น้ำตาล

โครงการรื้อฟื้นภาษาญวนที่ผมคุยกับผอ.สมชายที่ย้ายไป เป็นความคิดที่เราอยากทำเป็นเมืองท่องเที่ยว จะมีจักรยาน 30-40 คัน เหมือนนักท่องเที่ยวมาหนึ่งรถบัส ได้จักรยานฟรีปั่นไป มีนักเรียนเป็นมัคคุเทศก์ เด็กได้รับจ็อบ บางทีวันเด็กเราแจกจักรยานเป็นร้อยคันอยู่แล้ว เราขอใหม่มา 40 คันเข้าโครงการนี้ได้ ก็ได้ออกกำลังกาย ได้บรรยากาศ ผ่านไปแต่ละจุดก็สามารถแนะนำได้ ตรงนี้เป็นวัดวันยาวบนนะ สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2100 เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดจันทบุรี ตรงนี้เป็นวัดคริสต์ ตรงนี้เป็นศาลหลักเมือง โรงเจ สถานีตำรวจ ที่ดิน อำเภอ คือแนะนำให้เขาเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ปั่นมาถึงตลาดสด ตลาดสดของเราเป็นตลาดสดน่าซื้อ เทศบาลของเราเป็นเทศบาลที่สะอาดที่สุด ได้รับรางวัลยกย่องจนเขาไม่ให้ส่งประกวดแล้ว เพราะถ้าส่งประกวดคนอื่นเขาไม่ได้ ในเมืองขลุงก็อยู่กันแบบสงบ ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งอะไร คนขลุงเป็นคนเรียบง่าย เข้ากับคนได้ไม่ยากเท่าไหร่ การแข่งขันก็ไม่สูง การเมืองก็แข่งขันกันไม่สูงเท่าไหร่ เปิดใจรับเรื่องต่างๆ เพื่อเรียนรู้ เรายินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามา

สโลแกนเมืองขลุงคือ “ขลุงเมืองสะอาด ปราศจากมลพิษ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา ประสานความร่วมมือ ยึดถือความโปร่งใส ใส่ใจประชาชน” งานของเราคือพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา อย่างผู้สูงอายุเราดูแลเขาอย่างดีเลย จากคนที่ไม่เป็นอะไรเลย มาเล่นอังกะลุงได้ จักสาน ทำโน่นนี่ได้ ผู้สูงอายุที่ขลุงมีประมาณพันคนจากประชากรในเขตเทศบาลเมืองขลุงหมื่นหนึ่งพันกว่าคน ประมาณ 10% เราดูแลกัน มีชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ แล้วเราก็พยายามผลักดันด้านการศึกษา จากเทศบาลทั่วไปเขามีป. 6 ม. 3 แต่เราผลักดันให้มีจนถึงม. 6 เพื่อให้คนมาเรียนที่นี่โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย รุ่นแรกที่ผมจำได้เลย มีคนนึงจากเทศบาลขลุงไปสอบเข้าจุฬาฯ ได้ ส่วนใหญ่จะไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อยู่ใกล้พ่อแม่ ทุ่นค่าใช้จ่าย แล้วในโรงเรียนเทศบาลขลุง 2 แห่ง เราฝึกเด็กให้รู้จักรักษาความสะอาด การเก็บขยะ การคัดแยกขยะ ต้องสอนเขาแต่เล็ก ฝึกคัดแยกขยะตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก บอกเขาว่าอันนี้เป็นขยะรีไซเคิลนะ อันนี้เป็นขยะใช้ใหม่ได้ เขาก็ติดตัวไปใช้ที่บ้าน

ในฐานะรองนายกฯ เราก็รับฟังประชาชน สิ่งที่ประชาชนต้องการเราต้องทำ โดยทำประชาคมมา 7 อย่าง 10 อย่าง เราก็มาคุยกับเขา เรียงลำดับความสำคัญ เอาเสียงประชาชนเป็นหลักว่าทำสิ่งไหนก่อน ถ้าเรามีงบพอ เราตอบสนองประชาชนก่อน เพราะเรามาเพื่อรับใช้ประชาชน ไม่ได้มาเป็นนายประชาชน แต่สิ่งที่อยากเห็นในฝันคือเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผมมองทั้งเมืองขลุงเป็นศูนย์เรียนรู้ได้หมด มีเรื่องเล่า เมืองน่าติดตาม และพื้นที่เราเล็ก 3.18 ตารางกิโลเมตร ขี่จักรยานแป๊บเดียวก็รอบเมือง”

วันชัย ทรงพลอย
รองนายกเทศมนตรีเมืองขลุง เทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago