“หจก. ลิ่มเชียงเส็ง เริ่มต้นมาจากรุ่นอากงผมช่วงก่อน พ.ศ. 2500 โดยเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ในนครสวรรค์ที่ได้รับใบอนุญาตทำโรงงานตอนปี 2507 อากงเริ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร พวกบัวรดน้ำ จอบ เสียม และอื่นๆ พ่อผมเป็นรุ่นที่สอง เริ่มมาทำแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ก่อนจะมาถึงรุ่นผมที่สานต่อพ่อทำโรงงานผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรครบวงจร
ผมโชคดีที่เกิดและเติบโตมาในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี และความที่อากงและพ่อปูพื้นกิจการ รวมถึงสร้างเครือข่ายลูกค้ามาไว้อย่างดี จึงเป็นเรื่องง่ายที่ผมจะนำต้นทุนนี้มาเสริมด้วยการวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ
โดยแรกเริ่มก็ผลิตสินค้าจำพวกอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์หว่านไถ เครื่องเตรียมดิน และเครื่องตัดหญ้าเหมือนทั่วไป แต่เผอิญผมมาสังเกตเห็นว่ากระบวนการของการเกี่ยวข้าวของเรามีข้อจำกัดหลายประการ ผมจึงออกแบบเครื่องตีตอกข้าว เพื่อทำให้เวลาปลูกข้าวไป ตีตอกแล้ว มันจะแตกใหม่โดยเกษตรกรไม่ต้องไถดินเพื่อปลูกใหม่ ซึ่งจะทำให้พวกเขามีกำไรเพิ่มขึ้น 20-25% โดยเครื่องนี้ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นแห่งชาติเมื่อสองปีที่แล้ว
หรือผลิตภัณฑ์อีกตัวที่ผมวิจัยร่วมกับน้องชายที่เขาเปิดโรงานเหมือนกัน เป็นรถพ่นยาบังคับวิทยุขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริด เป็นโซลาร์เซลล์กับน้ำมัน ก็ช่วยทุ่นแรงเกษตรกรได้เยอะ ปลอดภัย แถมยังลดต้นทุนอีกต่างหาก
ปัจจุบันโรงงานลิ่มเชียงเส็งผลิตเครื่องจักรทางการเกษตรจำหน่ายภายใต้แบรนด์ LCS ของเราเอง และก็ทำ OEM ให้บริษัท ยันม่าร์ ประเทศไทยด้วย แบรนด์ของเราส่งออกในอาเซียน มีลาวเป็นลูกค้าหลัก ส่วนเมียนมาร์รองลงมา ขณะที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา จะใช้สินค้าที่เราผลิตให้ยันม่าร์
ทั้งนี้ในอีกบทบาทหนึ่ง ผมเป็นประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดนครสวรรค์ มีบทบาทในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในจังหวัด เพื่อแสวงหาโอกาสและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านเสริมความรู้ การสร้างเครือข่าย และการหาแหล่งเงินทุน
ตอนนี้ที่หนักสุดคือธุรกิจขนาดไมโครครับ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าขนาดเล็ก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยปัญหาที่เขาประสบก็ทั้งทางด้านปัญหาการเงินและการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนา ซึ่งแม้ทางภาครัฐจะมีโครงการช่วยเหลืออย่าง SME Bank แต่ผู้ประกอบการหลายรายก็อาจไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รวมถึงมีปัญหาเรื่องเครดิตบูโร เป็นต้น
ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ หรือธุรกิจไซส์ L ในนครสวรรค์ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ส่วนมากจะเป็นธุรกิจค้าส่ง โรงงาน ฟาร์ม ไปจนถึงอุตสาหกรรมเกษตร เพราะเขามีตลาดที่ชัดเจนและเหนียวแน่น สมาพันธ์ก็พยายามประสานวิธีให้ไซส์ L มาช่วยอุ้มไซส์ S ไปจนถึงไมโคร
อย่างไรก็ดี ด้วยเงื่อนไขบางอย่างของเมืองตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก็ทำให้การลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก อย่างเห็นได้ชัดคือผังเมืองรวมที่ทำให้ราคาที่ดินมันสูง ค่าเช่าก็สูงตาม ผู้ประกอบการจึงไม่กล้าลงทุน หรือธุรกิจบางตัวที่ต้องการสร้างอาคารสูงก็ไม่สามารถผุดขึ้นในพื้นที่เศรษฐกิจได้
ซึ่งก็ต้องชื่นชมกฎบัตรนครสวรรค์ที่ใช้เวลาตลอด 2 ปีมานี้ในการแก้ผังเมืองบางส่วน ผมหวังว่าถ้าแก้ได้ครอบคลุมกว่านี้ จะมีการลงทุนมากขึ้น สอดรับไปกับการที่เมืองจะขยับขึ้นไปเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทั้งทางรถและทางราง
นอกจากนี้ ผมเสนอว่าเราควรใช้ทำเลที่เป็น hub ของการคมนาคมและขนส่งของเราให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะการมาถึงของเทคโนโลยี EV และพลังงานทางเลือก เช่นการเป็นจุดชาร์จพลังงาน การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์สมัยใหม่และบำบัดด้านสุขภาพ หรือการผลักดัน BCG ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่นที่กลุ่มน้ำตาล KTIS จับมือกับ ปตท. มาทำวิจัยเรื่องไบโอดีเซลจากของเหลือต่างๆ ของโรงงาน
ผมเชื่อว่าในอนาคต ลูกหลานชาวนครสวรรค์ส่วนใหญ่จะเลือกไม่โยกย้ายไปไหน เพราะเมืองมีความพร้อมให้พวกเขาวางใจฝากอนาคตไว้ได้ สิ่งสำคัญจากวันนี้คือผู้ใหญ่รุ่นเราต้องมีส่วนในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการเติบโต หรือผู้ประกอบการบางรายก็ควรไว้ใจให้ลูกหลานหรือคนรุ่นใหม่ๆ มาสานต่อกิจการมากขึ้น ผมยังเห็นรุ่นพ่อรุ่นแม่หลายเจ้าที่ไม่กล้ารามือ รุ่นลูกเขาก็พร้อมจะนำเทคโนโลยีและมุมมองใหม่ๆ มาสานต่อ มาช่วยเพิ่มมูลค่าแล้ว เพียงแต่พอผู้ใหญ่ยังเชื่อในความคิดเดิมๆ ไม่ยอมปล่อย บางทีเขาก็คิดว่าการเข้าไปทำงานบริษัทในกรุงเทพฯ อาจเป็นทางออกที่ดีกว่า”
วีรวุฒิ บำรุงไทย
ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิ่มเชียงเส็ง นครสวรรค์
ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดนครสวรรค์
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…