ผมเติบโตและคุ้นเคยกับที่นี่ ไม่รู้หรอกว่ามันพิเศษตรงไหน แต่พอพานักท่องเที่ยวมาแล้วเห็นเขาตื่นเต้นกับทิวทัศน์ที่เห็น ก็เลยมาคิดว่า จริงๆ แล้วหมู่บ้านเราก็สวยและมีของดีไม่น้อยเหมือนกัน

“ผมเกิดและโตที่บ้านปากพูนใต้ จำความได้ก็ลงเรือหาปลาแล้ว เลี้ยงชีพด้วยการทำประมงมาทั้งชีวิต ออกเรือทุกวัน จะหยุดเฉพาะวันที่ป่วยหรือมีธุระ บางวันหาปลาได้มากก็จะฝากลูกสาวไปขายในตลาดได้เงินเยอะ แต่วันไหนโชคไม่ดี หาได้ไม่มาก แต่อย่างน้อยก็ยังมีปลาที่หามาได้ไว้กิน

จนมาช่วงปีหลังมานี้ ที่ทางชุมชนมีกิจกรรมล่องเรืออุโมงค์ป่าโกงกาง ผมก็ได้อาชีพเสริมใหม่เป็นคนขับเรือให้นักท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ โดยจะเริ่มจากท่าเรือใกล้ๆ ตลาดท่าแพ ล่องไปในคลองท่าแพผ่านหมู่บ้านปากพูนใต้ ผมจะชี้ให้นักท่องเที่ยวดูสองข้างทางว่ามีอะไร โดยเฉพาะมัสยิดดารุ้ลนาอีม (บ้านปากพูนใต้) ซึ่งเป็นมัสยิดที่ผมไปทำละหมาดประจำ

จากนั้นเรือก็จะเข้าอุโมงค์ป่าโกงกาง จนออกปากอ่าวปากพูน ตรงนั้นก็จะมีเรือของคนในหมู่บ้านนี่แหละหาปลาอยู่ คุณสามารถซื้อปลาสดๆ จากชาวบ้านตรงนั้นได้เลยนะ ถ้าวันไหนผมไม่ได้เป็นคนขับเรือพานักท่องเที่ยวมาที่นี่ คุณก็จะเห็นผมหาปลาอยู่ตรงนี้ (ยิ้ม)

สนุกดีครับที่ได้พานักท่องเที่ยวมานั่งเรือชมหมู่บ้านของผม ผมเติบโตและคุ้นเคยกับที่นี่ ไม่รู้หรอกว่ามันพิเศษตรงไหน แต่พอพานักท่องเที่ยวมาแล้ว และเห็นเขาตื่นเต้นกับทิวทัศน์ที่เห็น ก็เลยมาคิดว่า จริงๆ แล้วหมู่บ้านเราก็สวยและมีของดีไม่น้อยเหมือนกัน

ถ้าเปลี่ยนมาใช้เรือเครื่องยนต์ไฟฟ้าจะดีกว่าไหม? ก็ดีสิครับ เพราะหลายคนก็บอกเหมือนกันว่าเครื่องยนต์เรือมันดัง แล้วพอผมพูดอธิบายอะไร เสียงเครื่องก็กลบเสียงผมหมด ยิ่งถ้านักท่องเที่ยวไม่ใช่คนใต้ด้วยแล้ว เขาก็ฟังผมพูดไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ (หัวเราะ) ถ้าเป็นเรือไฟฟ้า เครื่องจะเงียบกว่า เข้าป่าโกงกาง สัตว์ก็ไม่หนี ยิ่งทุกวันนี้มีรถไฟฟ้าออกมาวิ่งบนถนนแล้ว ถ้ามีเรือไฟฟ้าแล่นในลำคลอง ก็คงดีไม่น้อย ก็อยากให้มีหน่วยงานมาสนับสนุนเหมือนกันครับ”


ก่อเดช ปัณทวีหก
ชาวประมงและคนขับเรือนำชมอุโมงค์ป่าโกงกาง ตำบลปากพูน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago