ผมเป็นคนนครศรีธรรมราช ภาพลักษณ์ปทุมธานีที่ได้ยินตอนอยู่ต่างจังหวัดก็คือกรุงเทพฯ แสงสีเสียงต้องเยอะแน่เลย ต้องวุ่นวาย แต่พอมาอยู่ก็ไม่ได้เหมือนที่คิดไว้

“ผมเข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่าย “วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” ของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี เพราะเห็นจากเฟซบุ๊กเพจเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ผมว่าน่าสนใจ แล้วตอนนั้นผมมีการบ้านของอาจารย์ที่ให้ไปถ่ายรูปทำโฟโต้บุ๊ก ก็เลยทำพ่วงกัน ผมออกไปหามุมถ่ายรูป ไปคลอง 3 คลอง 6 แต่วันนั้นไปถ่ายแล้วก็ยังไม่ได้ภาพถูกใจ พอกลับมาหน้ามอ (มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ คลอง 3) ตอนประมาณหกโมงเย็น แสงอาทิตย์กำลังตก สวยดี ผมคิดว่าอยากให้ดวงอาทิตย์สัมพันธ์กับน้ำ ผมชอบเอาอารมณ์ตอนนั้นใส่เข้าไปในรูปภาพ ก่อนกดชัตเตอร์ผมรู้สึกว่ามันสวยมาก ดูอบอุ่นมาก ก็เอาความรู้สึกใส่ไปตอนกดชัตเตอร์ มันได้ภาพตรงกับความรู้สึกตัวเอง ภาพนี้รู้สึกอบอุ่นและว้าเหว่ไปพร้อมกัน ถ้าสังเกตในรูปมีนกด้วย ผมรอให้นกบินอยู่นานมาก นกก็บินมาแหละแต่กดหลายครั้งก็ไม่ติด เบลอบ้าง ผมถ่ายรูปโทนเดียวกันแต่คนละมุม ส่งประกวด 5 รูปเต็มที่ที่เขาให้ส่งเลย เอารูปทำโฟโต้บุ๊กส่งอาจารย์ด้วย ภาพที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชื่อ ตะกอนแดง เป็นรูปที่ถ่ายจากคลองหน้าบ้านนี่แหละ

การร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่ายทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีความสัมพันธ์มากขึ้นกับทุกสิ่ง เพราะการที่เราจะถ่ายรูปได้เราต้องเอาตัวเองไปเชื่อมกับสิ่งนั้นก่อน ต้องหามุมถ่าย ดูแสง ก็ได้สังเกตบ้าน อาคาร ลำคลอง น้ำ เมือง ต้นไม้ ได้พาตัวเองไปรู้จักมันมากขึ้น คลองหน้าบ้านเราเห็นทุกวัน พอโครงการนี้เราก็ได้สังเกตมากขึ้น เข้าถึงเมืองปทุมมากขึ้น ผมก็อยู่หอในของมหาวิทยาลัย ปกติพวกเราใช้ชีวิตเหมือนต่างคนต่างอยู่ อาจจะมีจับกลุ่มกัน ผมว่ากิจกรรมพวกนี้ต่อยอดได้ ทำให้คนมารวมกลุ่มกัน มาแข่งขันกัน แลกเปลี่ยนกัน ได้พูดคุย ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม

ผมเป็นคนนคร (นครศรีธรรมราช) ภาพลักษณ์ปทุมธานีที่ได้ยินตอนอยู่ต่างจังหวัดก็คือกรุงเทพฯ แสงสีเสียงต้องเยอะแน่เลย ต้องวุ่นวาย แต่พอมาอยู่ ก็ไม่ได้เหมือนที่คิดไว้มาก ไม่ถึงกับวุ่นวาย ก็ปรับตัวได้ มีที่ที่เราชอบ บรรยากาศที่เราชอบ ตอนค่ำ ๆ ผมชอบห้างฟิวเจอร์ มันมีเสน่ห์เมือง มีแสงสีเสียง มีรถ มีไฟที่ตอนกลางคืนจะสวย ลานหน้าฟิวเจอร์มีคนมาเล่นสเกตบอร์ด ดูมีสีสัน แต่มันก็มีความยากนิดนึงในการเดินทาง ตอนไปไม่ค่อยยาก จากหน้ามอเดินข้ามสะพานลอยไปโบกรถฝั่งโน้น แต่ตอนกลับบางทีขึ้นรถไม่ถูก สุดท้ายต้องนั่งแท็กซี่กลับ แต่ตอนนี้ก็นั่งรถเป็นแล้วครับ”

เจตน์รพี อาจเเกล้ว

นักศึกษา ปี 2 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago