“ผมโตมาก็เห็นหนังใหญ่แล้ว เลยไม่คิดว่ามันพิเศษยังไง จนมาได้แสดงเองในที่ต่างๆ จึงพบว่าสิ่งที่เราทำอยู่ มันเป็นศิลปะที่หลงเหลืออยู่เป็นที่ท้ายๆ ของประเทศแล้ว”

“ผมเริ่มฝึกเชิดหนังใหญ่ตอนอายุ 10 ขวบครับ ตอนนั้น พระครูบรุเขต วุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดอน มาถามเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดบ้านดอนว่าใครอยากเรียนเชิดหนังใหญ่บ้าง ผมเห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยเข้าร่วม

จากตอนแรกก็แค่เล่นสนุกๆ แถมยังได้ค่าขนมอีกเวลาไปออกแสดงตามที่ต่างๆ พอเล่นไปเล่นมาก็พบว่าเป็นความผูกพันที่ได้แสดงร่วมกับเพื่อน และได้ฝึกซ้อมรุ่นน้องต่อๆ มาให้มาแสดงร่วมกับเรา อีกทั้งพอได้ไปตระเวนเปิดการแสดงที่ต่างๆ รวมถึงในต่างประเทศ เล่นจบได้ยินเสียงปรบมือก็รู้สึกภาคภูมิใจ ทุกวันนี้ผมอายุ 29 อยู่ในกลุ่มหนังใหญ่วัดบ้านดอนมาได้เกือบ 20 ปีแล้ว

เรามีด้วยกันรวมๆ 30 คน ถ้าไม่ใช่เด็กนักเรียนอยู่ ทุกคนก็ต่างมีงานประจำของตัวเอง อย่างผมทำงานโรงงาน จะนัดซ้อมร่วมกันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ของทุกสัปดาห์ ถ้าต้องไปแสดงที่อื่น ส่วนใหญ่ก็จะขอเจ้าภาพว่าสะดวกแสดงวันเสาร์และอาทิตย์ เพราะเป็นวันหยุดของทุกคน ถ้าเป็นวันธรรมดา ก็จะแสดงตอนเย็น

อย่างที่บอกว่าผมอยู่คณะนี้ช่วยครูอำไพ (อำไพ บุญรอด หัวหน้าคณะ) ฝึกเด็กๆ มาหลายรุ่นจนเป็นชีวิตประจำวันไปแล้ว พอผมมีลูกชาย บางวันก็ต้องพาลูกมารอตอนฝึกซ้อมด้วย พอกลับบ้าน ลูกชายก็ทำท่าเชิดหนังตาม ผมเห็นเขาสนใจ ก็เลยจับเขาฝึก เริ่มฝึกตอน 8 ขวบ ทุกวันนี้เขาเรียนอยู่ ป.5 อายุ 11 ขวบ กลายมาเป็นนักแสดงในคณะเราไปด้วยแล้ว

ซึ่งก็เช่นเดียวกับเจ้าคนเล็กตอนนี้ 5 ขวบ คนนี้ตามพี่ชายเขา ผมก็ให้พี่เขาฝึกให้ และครูอำไพแกก็เอ็นดู เลยให้รับบทเชิดตัวละครลิง กลายเป็นว่าในคณะนี้มีผม และลูกชายอีกสองคนมาเป็นคนเชิด ทุกเย็นวันจันทร์ พุธ และศุกร์ หลังเลิกงานผมก็จะไปรับลูกมาที่โรงละคร แล้วก็ซ้อมด้วยกัน สนุกดีครับ ได้ทำในสิ่งที่ชอบพร้อมกับลูกๆ แล้วลูกๆ ก็ดูสนุกที่ได้ทำด้วย

เอาจริงๆ แต่ก่อนก็ไม่คิดว่าการเชิดหนังใหญ่นี้พิเศษยังไงนะ เพราะโตมาเราก็เห็นว่ามีคณะนี้แสดงอยู่ที่วัดบ้านดอนแล้ว แต่พอเราได้แสดงเองและไปโชว์ตามที่ต่างๆ นี่แหละถึงได้รู้ว่าสิ่งที่เราเล่นมันเป็นศิลปะที่หลงเหลืออยู่ที่ท้ายๆ ของประเทศเราแล้ว จึงรู้สึกภูมิใจที่มีส่วนสืบสานและส่งต่อให้คนรุ่นหลัง ซึ่งก็รวมถึงลูกๆ ของผมด้วย ก็หวังว่าถ้าเขาโตขึ้น ก็จะส่งต่อสิ่งนี้ให้คนรุ่นต่อไป

วีระพงษ์ นิมา
กิตติศักดิ์ นิมา
และกิตติคุณ นิมา
ครอบครัวนักเชิดหนัง กลุ่มหนังใหญ่วัดบ้านดอน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago