“ยายผมเริ่มขายก่อน แล้วแม่ก็มาขายต่อ ขายอยู่ที่เดิมในตลาดใต้ตอนเช้ามา 50 กว่าปีแล้วครับ ขายตั้งแต่ 7 โมงเช้า ประมาณ 9 โมงก็หมด วันธรรมดาจะทำแกงมา 4 อย่าง ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ลูกค้าเยอะก็จะทำมา 6-7 อย่าง เป็นกับข้าวตำรับโบราณ พวกแกงขี้เหล็ก แกงบอน แกงบวบ ต้มมะระ เราใช้เตาถ่านทำ ไม่ใส่ผงชูรส
หลักๆ จะเป็นแม่กับน้องสะใภ้ทำกับข้าว วัตถุดิบก็ซื้อเขาเอา อย่างผักก็ซื้อตรงจากคนที่เขาปลูกเองและเอามาขายในตลาดนี้ ส่วนพวกพริกแกงจะมีแม่กับน้าทำเองอยู่ เป็นสูตรของยาย เลยมีรสชาติเฉพาะ แต่รสชาติเราจะออกกลางๆ ไม่จัดจ้านมาก เพราะลูกค้าประจำส่วนใหญ่เป็นคนจีนในตลาดนี่แหละ
เขาก็ซื้อกันมาตั้งแต่รุ่นยายผม ลูกค้ามีลูกมีหลาน ลูกหลานเขาก็ตามมาซื้อต่อ อาจจะติดใจรสชาติ และกับข้าวหลายอย่างที่เราทำก็หาซื้อจากที่อื่นยาก เหมือนผูกปิ่นโตกันจากรุ่นสู่รุ่นครับ
ก็ถ้ามาซื้อ ลูกค้าจะต้องหยิบบัตรคิวก่อน แล้วรอเรียก พอถึงคิวก็สั่ง ผมก็ทำหน้าที่ตักแกงใส่ถุงให้เขา ที่ต้องมีบัตรคิวเพราะคนมารอซื้อเยอะครับ พื้นที่เราจำกัด ถ้าให้ต่อแถวก็ไปบังหน้าร้านอื่น ก็เลยใช้บัตรคิวเอา ลูกค้าที่มารอก็จะยืนรอบๆ แผงเรา
ร้านเราจะหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ จันทร์ อังคาร และศุกร์ แม่กับน้องสะใภ้ผมจะมาขายเป็นหลัก ผมมาช่วยบ้าง เพราะผมมีงานประจำทำ รวมถึงทำร้านเหล้าตอนกลางคืนด้วย (ร้านสนุกนึก)
จริงๆ งานที่ทำอยู่ก็เยอะและวุ่นเหมือนกันครับ แต่ก็อยากมาช่วยแม่ ผมโตมาได้ก็เพราะร้านแกงของแม่ จะบอกว่าโตมาในตลาดใต้นี้ก็ได้ เพราะเด็กๆ ก็ตามแม่มาขาย ทุกวันนี้ก็ไม่อยากให้แม่เหนื่อยมาก ก็เลยมาช่วยเขาตลอด”
จีระพงษ์ ลิ้มรส
ร้านข้าวแกงหม้อใหญ่
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…