“ผมสอนหนังสือในเมืองหาดใหญ่มา 20 กว่าปีแล้ว ผ่านการทำงานวิจัยหลากหลายเรื่อง แต่เกือบทั้งหมดจะอยู่ในพื้นที่ของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสงขลา โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นโครงการแรกที่ผมได้ทำในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่
ผมเข้ามาทำโครงการนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 และรู้สึกประหลาดใจไม่น้อย เมื่อพบว่าที่ผ่านมาแทบไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชนและการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นในพื้นที่เทศบาลเท่าไหร่ ทั้งนี้ แม้จะมีอุปสรรคสำคัญคือการระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยเนื้อหาของงานวิจัยที่เราทำ ซึ่งมีเป้าหมายจะเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการ โครงการจึงตอบโจทย์กับความต้องการของผู้คนในเวลานั้นพอดี
ผมรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 2 เรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้โดยทำในพื้นที่ 103 ชุมชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ เริ่มจากการลงพื้นที่ไปสำรวจความต้องการของชาวชุมชนว่าเขาอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติม ก่อนจะกลับมาออกแบบ learning platform ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมพบอีกเรื่องว่าที่ผ่านมา หาดใหญ่ก็ไม่เคยมีแพลทฟอร์มการเรียนรู้นอกห้องเรียนมาก่อน เพราะถ้าคุณเรียนในระบบ คุณก็จะเรียนแต่ในสถาบันการศึกษา ส่วนถ้าคุณไม่ได้เข้าระบบ คุณก็จะไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนได้เลย
ส่วนความต้องการของคนในชุมชนในเขตเทศบาลก็หลากหลายครับ หลักๆ ก็มีอยากเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อรองรับการท่องเที่ยว บางส่วนอยากเรียนรู้เรื่องเกษตรคนเมือง เช่นพวกสวนแนวตั้งเพื่อจะได้ทำสวนเล็กๆ ที่บ้านของตัวเองได้ หลักสูตรการทำอาหารและขนมเพื่อเป็นอาชีพเสริม ไปจนถึงเรื่องการขายสินค้าออนไลน์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เป็นต้น
หลังจากทราบความต้องการ ทางทีมวิจัยก็หาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาทำหลักสูตร เช่นมีตัวแทนจากกลุ่ม YEC สงขลา มาสอนเรื่องการทำสวนแนวตั้ง มีคนทำไก่ทอดจริงๆ มาสอนเรื่องทำไก่ทอด อาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มาสอนเรื่องการตลาดออนไลน์ เป็นต้น หากด้วยความที่ช่วงนั้นโควิดระบาด การสอนจึงต้องทำผ่านการอัดวิดีโอ และเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนเพื่อเรียนผ่านการสตรีมมิ่งทางออนไลน์ โดยในทุกคลาสเราก็จะให้เบอร์ติดต่อวิทยากรไว้ เผื่อผู้เรียนมีคำถามก็สามารถโทรไปสอบถามเพิ่มเติมได้โดยตรงเลย
ผลตอบรับค่อนข้างดีครับ ในแต่ละคลาสจะมีผู้ลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 100 คน หลายคลาสมีผู้เรียนขอให้เปิดคอร์สแบบออนไซท์ จนโควิดซาลง เราจึงจัดคลาสพิเศษเรื่องดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ศูนย์ ICT ของเทศบาล ซึ่งทางเทศบาลก็ยินดีให้ความร่วมมือกับเราเต็มที่ โดยเฉพาะการเปิดศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ให้เราได้ใช้ประโยชน์
ในปีที่ 2 ของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้ร่วมกับทางพี่เจี๊ยบ-สิทธิศักดิ์ ตันมงคล ซึ่งพี่เจี๊ยบเป็นสถาปนิกผังเมืองที่ตั้งกลุ่มพัฒนาเมืองอยู่ และพยายามขับเคลื่อนโครงการ ‘คลองเตยลิงก์’ อยู่แล้ว พี่เจี๊ยบมองว่าพื้นที่ชุมชนเลียบคลองเตยเหมาะจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาหาดใหญ่ให้เป็นเมืองที่เหมาะแก่การเดินเท้า และเขาได้เริ่มขับเคลื่อนด้วยการสร้างเครือข่ายมาก่อนหน้าอยู่แล้ว ซึ่งทางเทศบาลก็เห็นด้วย และรับแบบภูมิทัศน์ของพื้นที่คลองเตยที่ทางทีมพี่เจี๊ยบได้ออกแบบขึ้นมาไปพิจารณาเพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรม ส่วนทางผมก็ช่วยงานหลายด้าน ทั้งการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวชุมชน ทำกิจกรรมเดินเมือง หรือ walking tour จัดเสวนาออนไลน์หาดใหญ่ทอล์ค และทำเอกสารวิชาการ เป็นต้น
การทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปีที่สอง เปลี่ยนมุมมองในการทำงานผมมาก เพราะแม้ในปีแรก ผมจะลงพื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลบ้างแล้ว แต่พอมาทำคลองเตยลิงก์ และได้ร่วมกิจกรรมเดินเมือง ฟังพี่บัญชร (บัญชร วิเชียรศรี – ผู้จัดรายการสถานีวิทยุ ม.อ. หาดใหญ่) และวิทยากรท่านอื่นๆ เล่าเรื่องเมือง ได้รู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้หรือมองข้ามมาตลอด เช่น ต้นนนทรีที่อยู่ในชุมชน ถนนดวงจันทร์ หรือได้เห็นอาคารผดุงครรภ์แห่งแรกของเมือง ที่สำคัญคือการได้เห็นความตื่นตัวของหลายชุมชนในการแบ่งปันข้อมูล และการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเมืองหาดใหญ่ในอนาคต
ผมไม่คิดว่าต่อไปหาดใหญ่จะเป็นแค่เมืองการค้า เพราะจากที่ผมเข้าไปสัมผัสในหลายชุมชน ผมเชื่อมั่นว่าคนหาดใหญ่มีศักยภาพที่จะพลิกเมืองได้ โดยร้อยละ 80 ของกิจกรรมที่เราทำ มันกระตุ้นให้ทั้งเรา ทั้งชาวชุมชน และคนนอกพื้นที่ได้ลองเดินเท้า มาหาของกิน มาเรียนรู้เมือง มาสำรวจว่าแต่ละพื้นที่มีปัญหาอะไร และประสานกับรัฐว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ยังไง ถ้าเทศบาลพัฒนาพื้นที่ในเมืองให้เป็นเมืองที่เดินได้ มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และปรับปรุงสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ ต่อไปหาดใหญ่จะเป็นต้นแบบเมืองน่าอยู่ให้กับเมืองอื่นๆ ได้ไม่ยาก”
ผศ.ดร. เธียรชัย พันธ์คง
หัวหน้าสาขาวิชาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมและการออกแบบ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และนักวิจัยในโครงการหาดใหญ่เมืองแห่งการเรียนรู้
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…