“ผมไม่ชอบที่มีโฆษณาหลังรายการมวย ให้ฉีดยาฆ่าหญ้ายี่ห้อนี้ๆ คือออกทีวีเลย ซึ่งมันอันตรายนะ”

“ผมซึมซับดนตรีมาตั้งแต่เด็ก พอจบม.3 ก็เล่นดนตรีเป็นอาชีพเลย แต่ทำอย่างอื่นด้วย เคยเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรชั้น 3 ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม ทำโครงการไม้ย้อมสีของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่มันไม่ใช่เรา ก็ยึดอาชีพนักดนตรีมา 30 กว่าปี ในยุคนั้นยึดเป็นอาชีพได้มั้ย ผมว่าได้นะ เราเอาแค่พอดีๆ รายได้จากเงินพิเศษ จากทิป ก็โอเค ปัจจุบันผมเป็นนักดนตรีประจำร้าน Blue Moon Bar & Restaurant เล่นทุกวันศุกร์ เสาร์ และเล่นตามงานอีเวนต์ อย่างที่ถนนคนเดินเขาใหญ่ (Khaoyai Walking Street) ทุกวันเสาร์ ผมไปร้องเป็นรูปแบบเต็มวง 5 ชิ้น ส่วนวันศุกร์กับวันอาทิตย์ผมเล่นเดี่ยว แล้วก็สลับให้น้องๆ เล่นด้วย ส่วนตัวผมชอบเพลงสากล ทุกยุคเลย แต่เวลาไปเล่นอีเวนต์ เลือกเพลงที่คุ้นหูก่อน มีเพลงสมัยใหม่บ้าง ดูกระแสเมืองด้วย ดูคนดูตรงนั้นด้วย ถ้าวันนี้มีคนมีอายุหน่อยเราก็มีลิสต์ในหัว เราแหย่เพลงยุคเขาไปก่อน ถ้าเขาโอเค เราก็ปล่อยไหล ถ้ามีวัยรุ่นมา เราก็แชร์เพลงให้ครบทุกวัย ตอนที่มาเล่นในงานถนนคนเดินฯ ครั้งแรกปีที่แล้ว ผมไปเล่นคนเดียว คน 2-300 คนที่มาเดิน พอมานั่งฟังแล้วไม่ยอมกลับ ได้ฟีดแบ็กดี ผมก็เล่นมาตลอดจนปีนี้ ผมเน้นความสุข ณ ตรงนั้น เล่นไปดูคนดูไปด้วย คนฟังมีความสุขมั้ย นักดนตรีที่เล่นระดับโรงแรมมาเล่นแต่คนนั่งเงียบก็มี คือถ้าคุณเล่นเก่ง แต่คุณไม่คุยกับลูกค้าเลย ไม่เอนเตอร์เทน มันก็ไม่มีเสียงปรบมือ จริงๆ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม ถ้าทำอารมณ์ให้ดี ทุกอย่างจะดีหมดเลยนะ หัวเราะบ่อยๆ ยิ้มเก่งๆ ถ้าเราขุ่นมัว อะไรก็ไม่ดี ส่งผลถึงผลงานที่ออกมา

เมื่อก่อนผมเล่นดนตรีทุกวัน แต่เลือกที่เดียว เล่นตอนหัวค่ำ แล้วเข้าบ้าน เพราะว่าด้านสุขภาพด้วย คือเคยลองเล่นวันนึงหลายที่ แล้วเสียงไม่มี เราก็รู้ตัวเอง ผมไม่ดื่มด้วย ทุกวันนี้ผมก็ไม่ดื่มนะ คือผมมีปัญหา เวลาดื่มแล้วหายใจไม่สะดวก ร้องเพลงออกมาไม่ดี ซึ่งก็เป็นจุดที่ทำให้ผมรักษาคุณภาพการร้องเพลง ยึดเป็นอาชีพมาตลอด และผมซ่อมเครื่องดนตรีด้วย ส่วนใหญ่ซ่อมกีตาร์ แล้วก็เคยแต่งเพลงถวายพ่อหลวงตอนในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต นำเพลงไปให้เด็กๆ ร่วมกันร้องถวายพ่อหลวงที่สวนสาธารณะเขาแคน แต่ถ้าถามว่าอยากออกอัลบั้มมั้ย ผมเป็นคนแปลกตรงไม่อยากไปผูกมัดกับค่ายเพลง ไม่ชอบระบบ ซึ่งเรามองความพอดี อยู่แบบพอดีๆ ก็อยู่ได้ ตรงนั้นความใฝ่ฝัน หลายๆ คนผมเห็นความแก่งแย่ง ตะเกียกตะกายไปให้ถึงจุดสูงสุด ซึ่งเพื่อนผมก็เป็นศิลปินหลายคน ผมรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวเรา ผมมองแล้วชีวิตมันไม่ราบเรียบ เรื่องเยอะ กลายเป็นเหมือนเล่นดนตรีไม่มีความสุข

นิยามความสุขในส่วนตัวของผม เหมือนคำพ่อหลวง คืออยู่แบบพอเพียง ผมใช้ชีวิตแบบสบายๆ เรียบๆ ไม่หวือหวา มีความสุขกับการได้เล่นดนตรีให้คนฟัง อย่างช่วงโควิดที่อาชีพอิสระไม่มีงาน มีศูนย์ช่วยจากรัฐบาลแต่ก็แค่ระยะหนึ่ง บางคนก็หาทางออก ขับแกร็บ บางคนไปค้าขาย เขาก็อยู่ได้นะ อยู่ที่ตัวบุคคลด้วย บางคนพอไม่มีงานก็นอนอย่างเดียว มันก็ไม่ถูกต้อง คุณต้องทำอย่างอื่นให้เป็น อย่างผมซ่อมกีตาร์ ก็อยู่ได้นะ มีงานเข้ามาทุกอาทิตย์ ค้าขายด้วย คือต้องพลิกแพลงตัวเองให้เป็น บางคนปลูกผัก วิ่งขายตามหมู่บ้าน ก็ขายได้ ที่บ้านผมก็ปลูกผักกินเอง เน้นปลอดภัย ผมเรียนจบด้านเกษตร คุณพ่อทำงานเป็นพนักงานขับรถที่วิทยาลัยเกษตร ที่สีคิ้ว ผมก็เห็นอะไรมาเยอะตั้งแต่ 8-9 ขวบ ที่มีการปลูกพืชแปลกๆ ดอกเยอบีรา สตรอเบอรี่ จริงๆ การทำเกษตรดั้งเดิมก็คือเกษตรอินทรีย์ เพียงแต่ว่าถ้าจะเอาผลผลิตก็ต้องใส่ปุ๋ย ชาวบ้านถูกบริษัทพืชส่งเสริมไปทดลองว่าจะได้ผลผลิตเร็ว เขาไม่รู้ว่าหว่านไปในนาก็เจอต้นหญ้าชนิดนึง ผมชอบสังเกตไง มันเหมือนกันทุกแปลง ผมเลยเอะใจว่าไอ้ปุ๋ยที่คุณหว่านมันมีเม็ดหญ้าชนิดนี้อยู่ด้วยมั้ย ชาวบ้านไม่รู้ ซื้อปุ๋ยมาหว่าน เพราะอยากได้ผลผลิต ซึ่งเลยได้หญ้าด้วย ก็ต้องซื้อยาฆ่าหญ้า เป็นวงจรไป แล้วผมไม่ชอบที่มีโฆษณาหลังรายการมวย ให้ฉีดยาคุมยี่ห้อนี้ๆ คือออกทีวีเลย ซึ่งมันอันตรายนะ

แต่ด้วยความที่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตร การปลูกเองไม่ได้ยากเย็น ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาฆ่าแมลง ผมก็ทำปุ๋ยเอง มีน้ำหมัก เอาผลไม้ เปลือกไข่ ขี้เถ้าก็ใช้ได้ เอาไปแช่น้ำคืนนึง ผสมดิน เอาไปราด ช่วยปรับสภาพดินได้เหมือนกัน คือต้องช่างสังเกต แต่ว่าเราปลูกกินเอง ก็ปล่อยแบบธรรมชาติ ให้น้ำให้ปุ๋ย เชื่อเหอะ มันโตดีกว่าที่เราดูแลเพื่อหวังผลผลิต”

กิตติภูมิ เฉลียวไว
นักดนตรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago