“ผมไม่ได้มองว่าร้านเราจะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนพื้นที่ศิลปะของเมือง เพราะจริงๆ มันก็เป็นธุรกิจธุรกิจหนึ่ง แต่เพราะความชอบส่วนตัว ผมจึงยินดีให้ธุรกิจเราเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหว”

“ผมจบด้านภาพยนตร์และทำงานด้านนี้ต่อที่กรุงเทพฯ พักหนึ่ง กระทั่งราวๆ 8 ปีก่อน พ่อป่วย เลยกลับขอนแก่นมาดูแลท่าน และก็ไม่รู้สึกอยากกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ อีกแล้ว จึงมาทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่นี่ และอยู่ไปสักพักจนปี 2561 ก็เปิด Hidden Town ในย่านถนนศรีจันทร์ ตอนแรกตั้งใจให้เป็นค็อกเทลบาร์ แล้วก็ปรับมาเป็นบาร์แจ๊ส (jazz bar)

ตอนแรกก็ทำสองงานควบคู่ไปครับ (งานโปรดักชั่นกับบาร์แจ๊ส) แต่หลังๆ รู้สึกเหนื่อย ก็เลยหยุดงานโปรดักชั่นไป ก่อนจะมาเปิดร้านอาหารฝรั่งอีกร้านชื่อ The Orange อยู่ซอยหลังเมือง 3 กลายเป็นว่าทุกวันนี้ผมเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว   

แต่ความที่ผมทำงานสายครีเอทีฟมาก่อน ก็เลยเห็นว่าการมีพื้นที่สำหรับแสดงงานของคนรุ่นใหม่เป็นเรื่องสำคัญ​ ก็เลยใช้พื้นที่ร้านนี้แหละเปิดให้นักศึกษามาใช้สำหรับจัดโชว์ผลงานของเขา เช่น งานศิลปะของนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ หรือนักศึกษาภาคดนตรีสากลที่เขามาใช้เราเป็นพื้นที่แสดงดนตรีสดในงานธีสิสของพวกเขา ไปจนถึงเป็นสนามสอบในบางครั้งด้วย  

ในขอนแก่นเรามีร้านที่เปิดพื้นที่บางส่วนเป็น creative หรือ art space แบบนี้ประมาณ 2-3 ร้านครับ ส่วนใหญ่จะเป็นคาเฟ่ที่มีการจัดแสดงงานศิลปะ เอาเข้าจริง คนรุ่นใหม่ในเมืองเขาก็หาพื้นที่ประมาณนี้อยู่ครับ เช่นเดียวกับพื้นที่สายเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ เพียงแต่มันก็ยังมีความเป็นกลุ่มเล็กๆ อยู่ คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวเหล่านี้เท่าไหร่

อย่างพักหลังๆ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) เขามาเปิดที่ขอนแก่น ก็พยายามกระตุ้นสิ่งเหล่านี้ แต่คนที่มาร่วมก็ยังอยู่ในวงจำกัดอยู่ แล้วยิ่งมาเจอโควิด-19 ช่วงสามปีหลังนี้ กระแสมันก็ซบเซาลงไปพอสมควร แต่ก็เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาช่วงปีนี้แล้ว เพียงแต่นั่นล่ะครับ ถ้าเทียบกับขนาดของเมือง พื้นที่ในเชิงความคิดสร้างสรรค์หรือศิลปะของเราก็ถือว่ายังเล็กมากอยู่ดี

ผมไม่ได้มองว่าร้านเราจะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนพื้นที่ศิลปะของเมืองหรอกครับ เพราะจริงๆ มันก็เป็นธุรกิจธุรกิจหนึ่ง แต่ด้วยความชอบส่วนตัวและเห็นถึงโอกาสในการเป็นพื้นที่แสดงผลงานของคนรุ่นใหม่ ผมจึงยินดีให้ธุรกิจเราเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหว

อย่างความที่ร้านผมเป็นบาร์แจ๊สที่มีดนตรีสด ก็ตั้งใจให้ร้านมีดนตรีสดโชว์ทุกคืน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การดึงดูดลูกค้า แต่ยังเป็นพื้นที่ให้นักดนตรีแจ๊สในเมืองของเรามีพื้นที่ได้แสดงและหารายได้เสริมด้วย เกิดเป็นคอมมูนิตี้ของทั้งคนเล่นและคนฟัง รวมถึงจุดประกายให้คนอยากเล่นดนตรี แบบนี้เป็นต้น

ตอนแรกตั้งใจว่าลูกค้าร้านจะเป็นผู้ใหญ่สักวัยสามสิบขึ้นไปที่ชอบดื่มค็อกเทลและฟังเพลง แต่พอทำไปสักพักใหญ่ กลับพบว่าเรามีลูกค้าหลายรุ่นมาก มีตั้งแต่วัยรุ่น นักศึกษา ไปจนถึงวัยเกษียณที่ตั้งใจมาฟังเพลง และที่ดีใจก็คือมีผู้ปกครองมาถามด้วยร้านนี้ให้เด็กเข้าได้ไหม เพราะอยากให้ลูกมาฟังเพลง เราก็ว่าเออดีจัง มันมีความเป็นร้านสำหรับครอบครัวอยู่ในนั้นด้วย

ผมเป็นคนขอนแก่น เกิด โต และทำธุรกิจที่นี่ ก็อยากให้ร้านนี้เป็นร้านคู่เมืองของเราต่อไปครับ”  

ไอศูรย์ บุญยกาญจนพล
เจ้าของร้าน Hidden Town ขอนแก่น

หมายเหตุ: ร้าน Hidden Town ตั้งอยู่บนถนนศรีจันทร์ เปิด 19.00 น. เป็นต้นไป หยุดทุกวันอังคาร ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/profile.php?id=100063775261520

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago