“ความที่เราเป็นนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์และศิลปะจีนในประเทศไทยมาอยู่แล้ว พอได้ลงพื้นที่ราชบุรี ทำโครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์เมื่อปี 2563 บริเวณชุมชนตลาดเก่า (ตลาดโคยกี๊) เมืองราชบุรี ซึ่งมีรากเหง้าของวัฒนธรรมชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทย จึงทำให้การศึกษาวิจัยของเราโครงการนี้เชื่อมร้อยกันได้ง่าย
เราพบว่าผู้คนในชุมชนตลาดเก่าต่างตระหนักดีถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ และมีความแอคทีฟอยากเห็นย่านที่พวกเขาอาศัยได้รับการพัฒนา เพียงแต่เขาไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไร พอเราได้แลกเปลี่ยนกันก็พบว่า ชาวชุมชนต้องการสร้างสื่อที่เป็นรูปธรรมจากฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยคิดถึงการสร้างแลนด์มาร์ค หรือจุดถ่ายรูปเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปและเรียนรู้ในพื้นที่
ด้วยเหตุนี้ นอกจากการจัดทำฐานข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมทั้งในรูปแบบของเอกสารและฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองเก่า เราจึงร่วมกับทีมนักวิจัยจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พัฒนาข้อมูลที่เราศึกษามาได้นี้ ให้เกิดเป็นงานออกแบบที่สะท้อนอัตลักษณ์ของเมืองเก่าราชบุรี ทั้งในรูปแบบของของที่ระลึก งานศิลปะในพื้นที่สาธารณะ สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงงานออกแบบที่สามารถต่อยอดออกมาเป็นสินค้าของจังหวัด
พร้อมกันนั้น ด้วยความที่ในช่วงปีที่ลงพื้นที่ทำงานวิจัย เราประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ จึงมีการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวผ่านโปรแกรม Virtual Reality เน้นจุดท่องเที่ยวสำคัญๆ ของเมือง เปิดให้คนจากทั่วโลก สามารถชมไฮไลท์ของราชบุรีจากที่บ้านได้ รวมถึงการที่เราบันทึกคลิปกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์ ที่ชวนเยาวชนมาเป็นมัคคุเทศก์ชมเมือง เราก็เผยแพร่คลิปดังกล่าวทางออนไลน์ ให้ผู้ชมจากทางบ้านได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวของเมืองในเชิงลึก
และในปี 2564-2565 ซึ่งเราทำวิจัยในกรอบของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เรายังใช้เทคโนโลยี HoloLens มาพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ซึ่งตั้งอยู่ภายในย่านเมืองเก่า โดยนำข้อมูลด้านโบราณคดีที่เราศึกษามาต่อยอดกับโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ สร้างภาพสามมิติให้กับวัตถุเหล่านั้น เช่น เศียรพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่ถูกขุดพบที่วัดมหาธาตุ ซึ่งเหลือมาแค่เศียร หากมองผ่านแว่นโฮโลเลนส์ เราก็จะเห็นภาพสามมิติของพระพุทธรูปองค์จริง หรือภาพเต็มของวิหารที่บ้านคูบัว เป็นต้น
ทั้งนี้ เรายังได้ร่วมกับไมโครซอฟต์ในการพัฒนาระบบโฮโลเลนส์กับโบราณวัตถุ เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ต้นแบบที่นำเทคโนโลยีสามมิติมาช่วยฟื้นชีวิตโบราณวัตถุที่จัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงบรรจุในหลักสูตรการศึกษาต่อไป”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
และนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ราชบุรี
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…