ผู้อำนวยการโรงเรียนมีนโยบายให้เยี่ยมบ้านนักเรียน 100% ห้องผมมีเด็ก 37 คน บุกน้ำฝ่าดงเข้าไป เลยไปเห็นจริงๆ ว่าเขาอยู่ยังไง อยู่กับใคร เหมือนเราเข้าไปสำรวจสำมะโนประชากรของเด็ก

“โรงเรียนวัดมูลจินดารามที่ผมสอนอยู่ริมคลองอยู่แล้ว พอเห็นโครงการประกวดภาพถ่าย “วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” ของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี จากข่าวประชาสัมพันธ์ในเฟซบุ๊กเพจของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ เห็นหัวข้อวิถีชีวิตริมคลองก็ง่าย ผมชอบเล่นกล้อง มีกล้องติดรถอยู่แล้ว คิดว่าไปเจออะไรก็ลองส่องดู จังหวะนั้นไปเจอคนเล่นน้ำอยู่พอดี ก็ถ่ายรูปแล้วส่งภาพประกวด 2 รูป เขามีรางวัล Popular Vote กับรางวัลจากกรรมการตัดสิน ซึ่งภาพ “ชีวาในวารี” ของผมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

บรรยากาศคลองรังสิต ตั้งแต่คลอง 1 ค่อนข้างเจริญ จากห้างฟิวเจอร์พาร์คไปถึงราชมงคล (มทร.ธัญบุรี คลอง 6) พอผ่านราชมงคลไปจะเริ่มเข้าสู่ชนบทแล้ว มีการยกยอ หาปลา ยังเก็บผักบุ้งกิน ภาพกระโดดน้ำที่ผมถ่ายก็ประมาณคลอง 8, ผมเช่าบ้านอยู่คลอง 10 มาทำงานที่คลอง 5 ขับรถจากบ้านก็สบาย จะมาติดคลอง 6 แค่นั้น ผมไม่ได้ชอบความวุ่นวายมาก เวลาอยู่บ้านอยากอยู่ที่ส่วนตัว เงียบ ๆ ช่วงเลยคลอง 10 ไปก็จะออกนครนายก ตลาดต้นไม้คลอง 14-15 เป็นแหล่งที่คนชอบมาซื้อต้นไม้กัน ตลอดช่วงคลองแสดงถึงชีวิตที่ต่างจากในเมืองเลย

โดยพื้นที่มีความเป็นเมืองกับชนบทอยู่ใกล้กันมาก ในความเป็นเมืองแต่อีกความเหลื่อมล้ำหนึ่ง ผมมีลูกศิษย์ที่อยู่อาศัยริมคลองในเขตชลประทานอยู่หลายหลัง ทั้ง ๆ ที่ตรงข้ามมาฝั่งนี้เป็นหมู่บ้านจัดสรรใหญ่โต แต่อีกฝั่งนึงเป็นเด็กที่อยู่กันแบบเอาเพิงมาคลุมกันฝนยังไม่ค่อยจะได้ ซึ่งจะถูกไล่ที่เมื่อไหร่ไม่รู้ คือการมาของคนพวกนี้ก็มาแบบผิดกฎหมายแหละ เขาอาจอยู่มานานเป็นสิบ ๆ ปี แต่ในความเป็นครูเราเห็นเด็กเราก็สงสาร เข้าไปดูไม่รู้จะช่วยเหลือยังไง ? ก็ทำได้แค่ให้ทุนการศึกษาจากหน่วยงานเอกชนที่เข้ามา ผมก็ให้เด็กที่อยู่ริมคลองนี่แหละ เรียนดี ความประพฤติดี ยากจน เขาเป็นเด็กที่ดี แต่สภาพความเป็นอยู่ก็อยากให้พัฒนา เราไปเก็บภาพริมคลอง เป็นคนในพื้นที่แหละ แต่ก็เหมือนได้โฟกัสมากขึ้น สังเกตริมคลองมากขึ้น เอาใจเข้าไปใส่มากขึ้น แต่เรื่องเด็กนักเรียนนี่เห็นตลอด ผู้อำนวยการโรงเรียนมีนโยบายให้เยี่ยมบ้านนักเรียน 100% ห้องผมมีเด็ก 37 คน บุกน้ำฝ่าดงเข้าไป เลยไปเห็นจริง ๆ ว่าเขาอยู่ยังไง อยู่กับใคร แต่ส่วนใหญ่ 80% ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับตากับยาย พ่อแม่เลิกกัน หย่าร้าง ต่างคนต่างไปมีครอบครัวใหม่ ก็ทิ้งไว้ให้ตายายเลี้ยง บางคนก็มีพ่อหรือแม่อยู่ด้วย เหมือนเราเข้าไปสำรวจสำมะโนประชากรของเด็ก

เวลาไปเยี่ยมบ้าน ผู้ปกครองก็โอเค ต้อนรับไปตามบริบทของแต่ละบ้าน จริง ๆ ไม่อยากรบกวนผู้ปกครองเลย สมมติเย็นไปห้าหลังของฝากกลับมาเต็มรถ ไม่รับก็กระไรอยู่ บางบ้านก็อยู่สบายเปิดแอร์ต้อนรับเย็นฉ่ำ บางบ้านใหญ่โตดูอบอุ่นแต่อยู่กับยาย เราจะบอกผู้ปกครองว่ามาสอบถามชีวิตเพื่อหนึ่งในการให้ทุน สองการดูแล ไม่เข้าไปเราก็ไม่รู้ข้อมูล เด็กไม่ได้บอกกับเราทุกเรื่อง แต่ไปถึงข้อมูลมาเพียบเลย บางคนบอก ครูรู้มั้ย ? เด็กไม่เคยกินข้าวที่โรงเรียนเลย นี่เป็นข้อมูลใหม่เลย เราถามเพราะอะไร ? เขาบอกไม่อร่อย เราก็ต้องมาคุยกับฝ่ายโภชนาการของโรงเรียน แต่ก็เข้าใจโรงเรียนว่าเขาไม่สามารถทำให้ถูกใจเด็กทุกคนได้ แล้วถึงเวลาพักเที่ยง เราก็ไปดู บอกเขาลองมากินข้าวนะ ลองเปิดใจดูนะ เห็นเขามากขึ้นว่าเด็กคนนี้มากินข้าวหรือยัง ? ก่อนนี้เขาซื้อขนมกิน เขาไปฝังใจว่ากับข้าวไม่อร่อย ก็ไม่กินมาตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบเรื่องจนผู้ปกครองมาบอก อย่างเด็กบางคนก็ไม่มีเงินเก็บเลย คือที่โรงเรียนเรามีสาขาธกส. รับฝากเงินให้บุคลากรและนักเรียน ฝึกให้เด็กรู้จักเก็บเงินออมทุกวัน เราก็กระตุ้นให้รางวัลเขา ฝากห้าบาท สิบบาท หนึ่งบาทก็ได้ เราเน้นความถี่ ไม่ใช่จำนวนเงิน

ผมมาอยู่ที่นี่ 8 ปี ในส่วนของโรงเรียน สิ่งก่อสร้างก็พัฒนาขึ้น ดูแล้วนักเรียนน่าจะอยากเรียนมากขึ้น ในบริบทนอกโรงเรียนมีความพัฒนาขึ้น มีห้างสรรพสินค้ามากขึ้น โครงการใหม่ ๆ อย่างเช่นสวนสัตว์ ความเจริญทางวัตถุมากขึ้น แต่อัตลักษณ์ของคนที่นี่คือเป็นคนมีน้ำใจ ไปที่ไหนก็ทักตลอด ยิ้มแย้มแจ่มใส กับคนอื่นไม่รู้เป็นไงนะ เราอาจจะเป็นครูด้วย เราสอนลูกเขา แล้วอยู่ในหมู่บ้านก็รู้สึกว่าเขามีน้ำใจกับเรา ให้เครดิตเรา แบบเราเป็นคนมีความรู้ที่จะเป็นผู้นำในชุมชน ให้ไปเปิดงานตามวัด ทำบุญที่วัดเขาก็จะให้เราขึ้นไปกล่าว พอสังคมเล็กลง เราก็ช่วยมีส่วนร่วมในชุมชนที่อยู่ด้วยกันให้มันน่าอยู่ขึ้น

ผมชอบชุมชนที่นี่ ปทุมธานีก็มีแหล่งเรียนรู้มากมาย อย่างใกล้ ๆ ตรงอีกฝั่งคลองก็มีตึกลูกเต๋า (องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ) ฝั่งคลอง 5 คลองหลวง โรงเรียนวัดมูลฯ เราอยู่ฝั่งนี้ คลอง 5 ธัญบุรี คือแถวนี้ทุกอย่างเรียกคลองหมดแต่ต่างกันด้วยพื้นที่เทศบาล ต่อด้วยอำเภออะไร รุ่นน้องบางคนบอก ไม่คิดว่าปทุมธานีจะมีที่ตรงนี้อยู่ ปทุมคือนึกถึงห้างฟิวเจอร์พาร์ค เซียร์รังสิต พอไปเจอปทุมหนองเสือ มันเปิดประตูไปอีกโลกหนึ่งเลย ทางนั้นอาชีพก็เป็นปลูกหญ้าเทียม ทำสวนกล้วย ไร่ข้าวโพด ไร่สับปะรด คือยังเป็นปทุมธานีเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วที่นิ่งอยู่ทั้ง ๆ ที่เป็นเขตพื้นที่ปทุมธานีเหมือนกัน”

นพรัตน์ มหานิยม

อาจารย์ โรงเรียนวัดมูลจินดาราม

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 week ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 week ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 week ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 weeks ago

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago