พนักงานเสิร์ฟทุกคนเป็นนักเรียนนักศึกษาพาร์ทไทม์ มีตั้งแต่มอสี่ ปวช. ปวส. ไปจนถึงจบปริญญา

“พื้นเพเราเป็นคนอุทัยธานี ส่วนสามีเป็นคนลำปางที่โตมาในกาดกองต้า ความที่เราทั้งคู่ชอบกินของอร่อยๆ เหมือนกัน เลยตัดสินใจเช่าอาคารในย่านกาดกองต้าเปิดร้านเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน โดยตอนแรกทำในรูปแบบธุรกิจโต๊ะจีน พอขายได้อยู่ แต่ดันมาเจอช่วงฟองสบู่แตกช่วงปี 2540 ร้านเลยโดนกระทบหนัก จึงเปลี่ยนรูปแบบมาขายอาหารที่ราคาย่อมเยาลง เราใช้ตำรับอาหารและทรัพยากรเดิมเลย แต่ปรับเมนูและระดับราคาให้ขายง่ายขึ้น โดยใช้ชื่อร้านว่า ‘อร่อยบาทเดียว’ ขายข้าวต้มถ้วยละบาท รองรับลูกค้าทุกระดับ

ธุรกิจตอนแรกยังทรงๆ เพราะตอนนั้นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ก็กัดฟันสู้อยู่หลายปี กระทั่งมาปี 2548 ที่น้ำท่วมกาดกองต้า ความที่ย่านนั้นมีโกดังเก็บสินค้าเยอะ เจ้าของโกดังก็เอาของที่โดนน้ำท่วมมาแบกะดินขายในราคาขาดทุน คนลำปางก็มาช้อปปิ้งกันเต็มไปหมด จู่ๆ จากวิกฤตคนที่นั่นก็พลิกให้กลายเป็นโอกาส สักพักก็มีการจัดตั้งถนนคนเดินกาดกองต้า เป็นตลาดกลางคืนที่คึกคักมาก ร้านเราก็ได้ลูกค้าจากตรงนี้ไปด้วย เพราะตั้งอยู่ตรงข้ามตลาด แล้วหลังจากนั้นไม่นาน มีนักเขียนของหนังสือโลนลี่แพลเน็ทมากินที่ร้าน แล้วเขาเอาไปเขียนแนะนำในหนังสือ นักท่องเที่ยวต่างชาติก็เลยเป็นอีกกลุ่มลูกค้าหลัก

จุดเด่นของร้านคือราคาสบายกระเป๋า บริการรวดเร็ว คือไม่ว่าลูกค้าจะแน่นแค่ไหน เราก็วางระบบให้อาหารออกทันเวลาได้หมด กระทั่งถ้าคุณมากับทัวร์ หรือคณะนักกีฬาที่มักมาแข่งกีฬาในจังหวัดลำปางซึ่งมากันหลายสิบคน แค่จองโต๊ะล่วงหน้าว่ากี่ที่นั่งและสั่งอาหารมาก่อน มาถึงก็แทบไม่ต้องนั่งรอเลย ส่วนรสชาติอันนี้แล้วแต่มุมมองลูกค้า ซึ่งเราก็มีการควบคุมมาตรฐานอยู่เสมอ หรือถ้าลูกค้าเป็นฝรั่ง พ่อครัวเขาก็จะลดความเผ็ดลงมา ที่สำคัญเราขายราคาเดียวกันหมด คือฝรั่งมากินเขาก็ตกใจว่าทำไมถูกและเร็วแบบนี้ ก็ได้การบอกต่อค่อนข้างมาก

เรามีโต๊ะ 50 โต๊ะ รองรับลูกค้าได้มากที่สุด 150 คน ใช้พ่อครัว 10 คน ส่วนน้องๆ พนักงานเสิร์ฟมีประมาณ 20 คน พนักงานเสิร์ฟทุกคนเป็นนักเรียนนักศึกษาพาร์ทไทม์ มีตั้งแต่มอสี่ ปวช. ปวส. ไปจนถึงจบปริญญา บางคนอยู่กับเรามาตั้งแต่เรียนมัธยม แล้วพอเรียนจบออกไปทำงานตอนกลางวัน ตกเย็นก็มาหารายได้เสริมเสิร์ฟอาหารที่ร้าน จึงอาจจะเห็นว่าน้องๆ เราที่นี่หลายคนสวมเสื้อช็อป เพราะเขาเรียนหนังสือเสร็จก็มาทำงานกับเราต่อ เราเลยตั้งเวลาปิดร้านไว้ที่ห้าทุ่ม เพราะเคยปิดตอนเที่ยงคืน กว่าจะเก็บร้านเสร็จก็ตีหนึ่งกว่า พนักงานก็ตื่นสายไปเรียนกันไม่ทัน (หัวเราะ)

เราไม่คิดจะเปิดสาขาเพิ่ม มีคนมาถามเฟรนไชส์เหมือนกัน แต่ยังไม่กล้าขาย เพราะถึงแม้เราจะวางระบบไว้พร้อมหมด แต่ความที่ยังเป็นห่วงเรื่องมาตรฐาน เรากับสามีจึงยังต้องลงมาดูแลร้านเองทุกวัน ไม่ยอมปล่อยให้เขารันกันเอง เพราะกลัวพลาด คือถึงคนจะมาซื้อเฟรนไชส์ไปจะไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจเราแล้ว แต่ความที่เป็นชื่อร้านเรา เราเลยยังไม่กล้าปล่อย ขอให้มั่นใจก่อนดีกว่า

เอาจริงๆ นี่เป็นงานที่เหนื่อยนะ เพราะหลังจากโควิด-19 ระลอกแรกหมดไป ร้านเราก็กลับมาพลุกพล่านเหมือนเดิมไม่ได้พัก แต่เพราะทำมาต่อเนื่องยี่สิบกว่าปี จึงอาจจะชินแล้ว และรู้สึกแฮปปี้กับมัน ยิ่งได้เห็นลูกค้ามากินแล้วถูกใจในรสชาติและการบริการและกลับมาอีก หรือบางคนพอจ่ายเงินเสร็จก็ชื่นชมและกล่าวขอบคุณเราอีก คือคิดดูเขาเป็นลูกค้า เอาเงินมาให้เรา เขายังขอบคุณเราอีก เราก็เลยยิ่งมีความสุขและพยายามจะรักษามาตรฐานนี้ไว้ให้ดีต่อไป ขณะเดียวกันเราก็ปลูกฝังทัศนคติแบบนี้กับพนักงานทุกคน แน่นอน เราทำงานเพื่อให้มีรายได้ แต่การทำอาหารและบริการที่ดีเพื่อทำให้ลูกค้าประทับใจก็เป็นกำไรที่สำคัญ และทำให้เรามีใจรักในสิ่งที่ทำนี้ทุกวัน”

ธัญภา สุวรรณคาม

เจ้าของร้านข้าวต้ม ‘อร่อยบาทเดียว’ จังหวัดลำปาง

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago