“หนูชื่อเด็กหญิงสุมินตรา ศรีงาม อยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ ส่วนหนูชื่อเด็กหญิงยิ่งลักษณ์ ถิ่นกระไสย อยู่ชั้น ป.6 โรงเรียนเดียวกัน
เราสองคนอยู่ชมรมดนตรี และเป็นสมาชิกวงดอกพะยอม วงดนตรีประจำโรงเรียน มีครูเสนีย์และครูชลลดาเป็นผู้ฝึกสอนและดูแลวง วงเรามีสมาชิกประมาณ 12-13 คน เป็นวงสตริงผสมโปงลาง ก็จะเล่นที่โรงเรียน และตามงานต่างๆ ในเขตเทศบาล ก่อนหน้านี้เคยเล่นที่ตลาดสร้างสุขตรงหอศิลป์ และงานวันคนพิการสากลของจังหวัด ส่วนวันนี้มีงานฟื้นใจเมืองที่ริมน้ำปาว เราก็มาเล่นเปิดหมวกที่นี่
พวกเราชอบร้องเพลงอยู่แล้วค่ะ พอเห็นว่าครูเขาเปิดรับสมัครสมาชิกชมรมดนตรี ก็เลยสมัคร ครูเขาก็ฝึกให้ร้องตามทฤษฎี และร้องให้กลมกลืนไปกับวงดนตรี ก็ร้องทั้งเพลงสตริงและลูกทุ่ง ส่วนหมอลำนี่ยังยากไป
ปกติก็ฟังหมดเลยค่ะทั้งสตริงและลูกทุ่ง หนูชอบ กระต่าย พรรณิภา (สุมินตราตอบ) ส่วนหนูชอบ ไดร์ม่อน วง Laz1 เป็นวง T-pop ของบ้านเรา ส่วน K-pop ก็ชอบค่ะ ฟังได้หมด (ยิ่งลักษณ์ตอบ)
วันนี้หนูมาร้องสองเพลงคือ ‘เป็นเกียรติหลาย’ ของมนต์แคน แก่นคูน กับเพลง ‘รอเป็นคนถัดไป’ ของตั๊กแตน ชลดา (สุมนิตราตอบ) ส่วนหนูร้อง ‘ฮักกาฬสินธุ์’ และ ‘สาวอีสานรอรัก’ ของอรอุมา สิงห์ศิริ (ยิ่งลักษณ์ตอบ)
ก็สนุกดีค่ะ ได้ร้องเพลง ได้ซ้อมกับเพื่อนๆ และได้ค่าขนมด้วย ทั้งคนมาเดินตลาด และพ่อค้าแม่ค้าละแวกนี้ เขาชอบ เขาก็สมทบทุนให้
โรงเรียนเทศบาล 6 จะมีสอนถึงแค่ ป.6 เท่านั้น แต่หนูคิดว่าจะเรียนมัธยมที่กาฬสินธุ์เลย ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเรียนต่อสาขาไหน ถ้าได้เป็นนักร้องก็ดี แต่คิดไว้ว่าถ้าเรียนจบมาหนูก็อยากอยู่บ้าน ช่วยดูแลพ่อแม่ค่ะ (สุมินตราตอบ) ส่วนหนูก็คิดว่าจะอยู่กาฬสินธุ์เหมือนกัน มีเพื่อนอยู่เยอะ เมืองก็สงบดี อีกเรื่องคือไม่ค่อยอยากไปไหนไกลค่ะ เพราะน้ำมันแพง (ยิ่งลักษณ์ตอบ)”
สุมินตรา ศรีงาม และยิ่งลักษณ์ ถิ่นกระไสย
นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…
“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…
“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…