พะเยาของเราเป็นเมืองเกษตร เราอาจไม่เจริญทางวัตถุเท่าเชียงรายหรือเชียงใหม่ แต่เราเป็นคลังอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศ

“ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผมมีโอกาสลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา และพบโรงเรียนที่ถูกปิดและทิ้งร้างหลายแห่ง บางแห่งยังมีอาคารที่มีสภาพดีอยู่เลย จึงนึกเสียดายที่จังหวัดเรามีสถานที่ที่มีศักยภาพหลายแห่ง แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน

และระหว่างสำรวจความต้องการของประชาชน ผมพบว่าเมืองของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง. การจัดสรรอำนาจและงบประมาณที่มักกระจุกตัวอยู่ในตัวเมือง พื้นที่ห่างไกลบางแห่งไม่ได้รับการพัฒนา บางหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ต้องพูดถึงเด็กๆ ที่ไม่เคยได้ใช้คอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ

และสอง. ในเชิงสังคม ทั้งในแง่ที่เมืองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาที่เกิดจากช่องว่างระหว่างวัย ตรงนี้เองที่ผมคิดว่าเราน่าจะพัฒนาโรงเรียนที่ถูกทิ้งร้างตามพื้นที่ต่างๆ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงและส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างผู้คนสามรุ่นด้วยกัน

นั่นก็พอดีกับที่ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพะเยาเข้ามาเป็นแนวร่วม จากเดิมที่ทางโครงการทำในเขตตัวเมืองพะเยาอย่างเดียว ผมเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะขยายพื้นที่การเรียนรู้ไปทั่วทั้งจังหวัด จึงประสานไปที่กรมธนารักษ์ที่ดูแลโรงเรียนตามอำเภอต่างๆ ที่ถูกทิ้งร้าง เพื่อขอพัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นศูนย์สามวัย พื้นที่การเรียนรู้สำหรับคนสามวัยในระดับท้องถิ่น ซึ่งเริ่มดำเนินการนำร่องไปแล้ว 9 ศูนย์ใน 9 อำเภอของจังหวัดพะเยา

แนวความคิดของศูนย์สามวัยคือการใช้การศึกษาเชื่อมโยงคนสามรุ่นเข้าด้วยกัน และช่วยแก้ปัญหาที่คนแต่ละรุ่นพบ โดย อบจ. ในฐานะเจ้าของพื้นที่ก็ประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ในรูปแบบของการทำ MOU อย่างเป็นทางการ

อย่างวัยแรกคือเด็กและเยาวชน เราส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของ ม.พะเยา และร่วมกับทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) พะเยา ให้เขามาช่วยแก้ปัญหากลุ่มเด็กที่สุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติด

วัยที่สองคือวัยคนทำงาน เราพบว่าแม้พะเยาเราจะมีสินค้า OTOP หรือผลิตภัณฑ์จากชุมชนค่อนข้างมาก แต่ปัญหาสำคัญคือผู้ประกอบการขายของไม่ได้ เพราะเขาไม่รู้วิธีการทำการตลาด ศูนย์แห่งนี้ก็จะเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแบรนด์จากโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยทาง อบจ. ก็ช่วยจัดหาอุปกรณ์ให้

ขณะเดียวกัน เมื่อเราปลูกฝังเด็กๆ ในวัยแรก(เด็กและเยาวชน)ได้แล้วก็ทำให้เด็กๆ สามารถทำงานกับผู้ใหญ่ในด้านการขายสินค้าออนไลน์ ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยไปพร้อมกันด้วย

และวัยที่สามคือผู้สูงอายุ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์หรือผู้ป่วยติดเตียงเป็นภาระที่ปิดกั้นโอกาสของลูกหลาน อบจ. ก็ได้ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ ในการใช้ศูนย์สามวัยเป็นเดย์แคร์สำหรับผู้สูงอายุ ดึงนักศึกษาแพทย์และพยาบาลฝึกงานจากคณะมาฝึกทักษะการดูแลคนชราให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ รวมถึงลูกหลานที่ต้องดูแลคนเฒ่าคนแก่หรือผู้ป่วยติดเตียง ก็สามารถเรียนรู้ได้จากนักศึกษาแพทย์และพยาบาลโดยตรง

ปัจจุบันเราขับเคลื่อนศูนย์สามวัยอย่างเต็มรูปแบบไปแล้ว 2 พื้นที่ คือในอำเภอเมืองและอำเภอแม่ใจ โดยให้ทางมหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ มาประจำที่ศูนย์เพื่ออบรมชาวบ้านในพื้นที่ผ่านรูปแบบของหลักสูตรการฝึกงานของนักศึกษา นอกจากนี้ ทาง อบจ. ยังจัดตั้งกองการศึกษาขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและจัดการเรื่องการศึกษาของทั้งจังหวัด รวมถึงขับเคลื่อนโครงการศูนย์สามวัยนี้ด้วย

ผมตั้งใจให้ศูนย์แห่งนี้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาเมือง เป็นเครื่องมือกระจายความรู้และความเจริญไปทั่วทั้งภูมิภาค และทำให้ความรู้เป็นต้นทุนในการดำรงชีวิตของชาวบ้านอย่างยั่งยืน

ที่สำคัญ พะเยาของเราเป็นเมืองเกษตร เราอาจไม่เจริญทางวัตถุเท่าเชียงรายหรือเชียงใหม่ แต่จุดแข็งของเราคือเราเป็นคลังอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศ รวมถึงส่งออกไปยังต่างประเทศ การที่เกษตรกรและผู้ประกอบการได้ติดอาวุธด้านความรู้ การตลาด และเทคโนโลยี มีส่วนให้พวกเขาสามารถยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีมาตรฐาน มีความเข้าใจเรื่องการทำเกษตรปลอดภัยซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ไปจนถึงการใช้การตลาดนำการผลิต ไม่ต้องถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป

ในฐานะ อบจ. นอกจากดูแลและส่งเสริมสวัสดิภาพของประชาชนตามบทบาทหน้าที่แล้ว เรายังจะมุ่งมั่นขยายโอกาส และเชื่อมประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อยกระดับองค์ความรู้และคุณภาพชีวิตของชาวพะเยาทุกๆ คนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมต่อไป”

อัครา พรหมเผ่า
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 week ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 week ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 week ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 weeks ago

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago