“ผมเป็นคนอุดรฯ แต่มาจบนิติศาสตร์ ที่มข.ครับ จริง ๆ ไม่ได้เรียนมาทางสายศิลปะ ด้วยความที่ทางบ้านไม่ได้มีฐานะ ช่วงเรียนก็เลยหางานทำ ทำมันทุกอย่างรับหมด ตั้งแต่แจกใบปลิว ไปถึงขายน้ำปั่น หรือจะเล่นดนตรีอันนี้ก็รับ อย่างหลังนี่คือผมถนัด ชอบ และก็ทำวงกับเพื่อนแบบจริงจัง ก่อนจะจบได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำบทความ แล้วนิตยสารชื่อ ‘ทางอีสาน’ เป็นนิตยสาร Local รวมบทความประวัติศาสตร์ และท้องถิ่นสาน เขาเห็นแววว่าผมพอจะทำได้ก็ชวนมาทำ ผมรับหน้าที่เขียนข่าวสิ่งแวดล้อม ทำได้พักหนึ่งก็ออกมาเปิดร้านหนังสือ และเล่มดนตรีกลางคืน แบ่งพลังแบบครึ่ง ๆ ทำงานทั้ง 2 งาน และเผื่อเวลาไปจัด Event ตามโอกาส บางครั้งก็จัดที่นี่ (Columbo Craft Village) บางครั้งก็จัดที่อื่น แล้วแต่กลุ่มที่ทำงานด้วย งาน Event จะเน้นไปที่เอางานสร้างสรรค์ ดนตรี คอนเสิร์ตเล็กๆ ร้านหนังสือ คาเฟ่ ไปจัดในพื้นที่ที่น่าสนใจ บางครั้งก็เป็นพื้นที่รกร้าง งบประมาณก็เน้นขอสปอนเซอร์เครื่องดื่มยี่ห้อต่างๆ เอาให้ได้จัดงาน กำไรบ้างแบบไม่เจ็บตัว
เหตุที่สนใจเรื่องพื้นที่ความคิดสร้างสรรค์ และเรื่องสังคม น่าจะเริ่มจากสมัยเรียน ผมสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน พอได้มาทำข่าวเขียนงานก็ได้จับเรื่องสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ภาคอีสานความเดือดร้อนของชาวบ้านจากโครงการพัฒนาของรัฐมีประเด็นให้ตามอยู่เยอะ พอได้ลงพื้นที่ ยิ่งคุยก็ยิ่งอินกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากของชาวบ้าน และเห็นว่าเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สำคัญมาก ๆ ก็เลยทำกับทางนิตยสารเรื่อยมา พอจบก็ทำเป็นแบบประจำ ทำได้ประมาณสองปี แล้วก็ย้ายไปทำงานที่กรุงเทพปีหนึ่ง ก่อนจะกลับมาขอนแก่น เล่นดนตรีคู่ไปการทำร้านสมจริง และทำวงดนตรี Somjing Studio
หากให้มองเมืองขอนแก่น พื้นที่เปิดที่เป็นคอมมูนิตี้แบบ Columbo นี่มีที่นี่ที่เดียว ที่อื่นๆ ส่วนมากจะเป็นแนวคาเฟ่ หรือไม่ก็เป็นบาร์ไปเลย ถ้าเป็นการรวมกลุ่มคนที่ทำงานศิลปะ กันงานสร้างสรรค์จริง ๆ ก็จะมีกลุ่มที่ยิบย่อย ๆ ออกไปหลายแบบ จะว่าพื้นที่แบบที่ Columbo ที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เป็นพื้นที่เปิดเกือบๆ จะสาธารณะแบบนี้ ก็ยังขาดอยู่พอสมควร และผมก็เชื่อว่าคนยังต้องการ ด้วยความที่มันไม่มีการจัดสรร หรือการลงทุนจากรัฐหรือรายใหญ่ คนตัวเล็ก ๆ อย่างเราก็อาศัยฮอม (ระดมทุน) กันในหมู่เพื่อนฝูงฟีลเดียวกัน ไม่มีใครคิดจะทำเองเพราะรู้ว่าจะเจ็บหนัก เรารวมกันดีกว่าแล้วเช่าพื้นที่เปล่าๆ แง่หนึ่ง คือ หากเราลงทุนและทำเอง ไอเดียก็จะมาจากแค่ตัวเราคนเดียว แต่ถ้าทำกันหลายคนรวมไอเดียบางอย่าง Blend เข้าด้วยกัน มันจะเกิดสิ่งใหม่เกินความคาดหมาย แล้วก็คิดว่าทุกคนมันมีเรื่องเล่ามากกว่าหนึ่งเรื่อง และก็มีความต้องการที่อยากจะทำมากกว่าหนึ่งอย่าง ทุกคนเป็นเหมือน ๆ กันแบบนี้ คือ มีงานหลักอยู่แล้ว งานที่พุ่งไปเพื่อความอยู่รอด แต่ในขณะเดียวกัน ต่างคนก็ต่างต้องการหาพื้นที่สำรอง หรือพื้นที่ทางเลือกหนึ่ง เพื่อ Support จิต ใจ ความรู้สึก ความฝัน ความเชื่อ จึงเกิดพื้นที่เพื่องานศิลปะ เกิดการฉายหนัง เกิดร้านหนังสือ เกิดร้านกาแฟแปลก ๆ รากฐานของ Columbo จึงเป็นการใส่แรงครีเอทีฟ กับอาศัยเอาความถนัด ความต้องการของแต่ละคน บวกกับเอางานมารวมๆ กัน ที่นี่จึงเกิดขึ้นและเป็นไปแบบนี้มาตลอด
นอกจากพื้นที่ และการรวมกลุ่มที่ยังขาด ผมมองว่าฟันเฟืองสำคัญที่หายไปคือ การสนับสนุน กับการเล็งเห็นความสำคัญ การสนับสนุนจากแหล่งทุนนั้นวันนี้ยังพอมีความเป็นไปได้อยู่บ้าง แต่การเล็งเห็นความสำคัญผมมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าแหล่งทุนด้วยซ้ำไป เพราะผมมองว่าตัวงานครีเอทีฟนั้นสร้างมูลค่าต่อยอดได้อีกเยอะ มันสามารถไปเชื่อมโยงกับทุกสาขาวิชาชีพ จะเป็นเรื่องการค้าขาย เรื่องอาหาร เรื่องการท่องเที่ยว เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนเมือง ผมว่ามันนำมาใช้ได้หมด และจริง ๆ คนทุกคนมีไอเดีย แค่ลองชวนมานั่งคุยแลกเปลี่ยนกัน คิดว่าอะไร ๆ มันก็จะดีขึ้น เพราะว่าเรามีหมุดหมายเดียวกันก็คือ เราอยู่ในเมืองขอนแก่น เราก็อยากจะให้เมือง เป็นเมืองที่สามารถออกแบบร่วมกันได้ ตั้งแต่คนตัวเล็ก จนถึง ผู้ประกอบการรายใหญ่ และผู้บริหารเมือง
ผมว่าจะเป็นฤกษ์งามดีของเมืองเลยนะครับ เพราะว่าตอนนี้คนเล็กคนน้อยเนี่ย ยังไม่รู้เลยว่าทิศทางของขอนแก่นจะไปทางไหน เอาแค่เมืองเราก่อนอย่าเพิ่งไปพูดถึงระดับประเทศ ถ้าเชื่อมกันได้แชร์กันได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี และทำให้มันเป็นวาระสำคัญสักที”
พิชิต ชัยสิทธิ์
เจ้าของร้านหนังสือสมจริง (Somjing Book), Columbo Craft Village
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…